การระบาดของ E. coli O104:H4 พ.ศ. 2554

การระบาดของ Escherichia coli O104:H4 เริ่มขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ในประเทศเยอรมนี โดย Escherichia coli หรือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ E. coli นั้น เป็นแบคทีเรียชนิดหลักชนิดหนึ่งซึ่งก่อสารพิษแก่อาหาร[2]

สัญลักษณ์สี ไม่มีการจำกัดอาหาร การจำกัดการขาย/ค้าอาหาร และมีการทดสอบ
ไม่มีผู้ป่วย
  
  
มีผู้ต้องสงสัยว่าป่วย
  
  
มีผู้ป่วยไม่ใช่พลเมือง
  
  
ทราบว่ามีผู้ป่วยในพลเมือง
  
  
มีผู้เสียชีวิต
  
  
การสัมผัสการระบาดของโรคเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554 ในผู้ที่อาศัยอยู่ถาวรหรือชั่วคราวในเยอรมนี ซึ่งบริโภคอาหารที่ผลิตในเยอรมนีหรือการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยกลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตก-ยูรีเมีย[1]
การระบาดของ E. coli O104:H4 พ.ศ. 2554
Schizocytes seen in a person with hemolytic-uremic syndrome
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก

การระบาดเริ่มขึ้นเมื่อพบว่ามีชาวเยอรมันจำนวนหนึ่งติดเชื้อแบคทีเรียนี้และนำไปสู่กลุ่มอาการยูเรเมียเหตุเลือดสลาย (hemolytic-uremic syndrome) อันเป็นภาวะฉุกเฉินทางแพทย์ที่จำต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ของเยอรมันคาดการณ์ว่าสาเหตุของเชื้อแบคที่เรียนี้มาจาก แตงกวาที่ปนเปื้อน[3] ซึ่งมาจากประเทศสเปน[4] และต่อมาพบว่่าสาเหตุไม่ได้มาจากแตงกวาที่ปนเปื้อนแต่อย่างใด[4] แต่การคาดการณ์ดังกล่าวส่งผลให้สเปนเกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมากที่เยอรมันกล่าวอ้างที่แหล่งที่มาของเชื้อโดยปราศจากการตรวจสอบที่ละเอียด[5]

ภายหลังการระบาดของเชื้อ จนกระทั่งถึงวันที่ 2 มิถุนายน พบว่ามีผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 2000 คน[6] และพบผู้เสียชีวิต 8 ราย[7] และพบผู้ป่วยซึ่งอยู่ในกลุ่มอาการยูเรเมียเหตุเลือดสลาย ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อีก 500 ราย โดยประเทศที่พบผู้ติดเชื้อได้แก่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ประเทศโปแลนด์, ประเทศเนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร[8] และ สหรัฐอเมริกา[9] ซึ่งผู้ป่วยทุกรายล้วนมรประวัติการเดินทางมาจากประเทศเยอรมันทั้งสิ้น

อ้างอิง แก้

  1. "Case definition for HUS-cases associated with the outbreak in Germany" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-26. สืบค้นเมื่อ 2011-06-03.
  2. "gulfnews : What is E. coli?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2011-06-03.
  3. "Toll climbs in European E. coli outbreak". The Globe and Mail. 30 May 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-31. สืบค้นเมื่อ 31 May 2011. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadlink= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  4. 4.0 4.1 "Germany now say Spanish cucumbers not source of E. coli". Euskal Irrati Telebista. 31 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-02. สืบค้นเมื่อ 31 May 2011.
  5. "E. coli cucumber scare: Spain angry at German claims". BBC. 31 May 2011. สืบค้นเมื่อ 31 May 2011.
  6. Guardian newspaper: E coli strain previously unseen and 'resistant to antibiotics', 2 June 2011
  7. "E coli outbreak: three UK cases have rare strain". The Guardian. 2 June 2011.
  8. "E. coli cucumber scare: Russia announces import ban". BBC News Online. 30 May 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-30. สืบค้นเมื่อ 30 May 2011.
  9. "E. Two in U.S. infected in German E. coli outbreak". MSNBC Online. 31 May 2011. สืบค้นเมื่อ 2 June 2011.