การยิงสนับสนุนฝั่งด้วยปืนเรือ

การยิงสนับสนุนฝั่งด้วยปืนเรือ (อังกฤษ: naval gunfire support; อักษรย่อ: NGFS) ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม การระดมยิงฝั่ง (อังกฤษ: shore bombardment) เป็นการใช้งานของปืนใหญ่เรือเพื่อให้การยิงสนับสนุนการโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก และกองทหารอื่น ๆ ที่ปฏิบัติการภายในระยะของพวกเขา การยิงสนับสนุนฝั่งด้วยปืนเรือเป็นหนึ่งในหลายสาขาวิชาที่ล้อมรอบด้วยคำว่าการยิงด้วยปืนเเรือ การยิงสนับสนุนฝั่งด้วยปืนเรือสมัยใหม่เป็นหนึ่งในสามองค์ประกอบหลักของการสนับสนุนปฏิบัติการจู่โจมการสงครามสะเทินน้ำสะเทินบก พร้อมด้วยอากาศยาน และขีปนาวุธโจมตีภาคพื้นดินที่ปล่อยจากเรือ ส่วนในอดีต มีการใช้ปืนทางเรือปะทะกับการป้องกันชายฝั่งตั้งแต่การสงครามทางเรือในสมัยกลาง

เรือรบสหรัฐไอโอวายิงโจมตีเต็มกำลังด้วยปืนใหญ่เรือ 16 นิ้ว/50 จำนวนเก้ากระบอก และ 5 นิ้ว/38 จำนวนหกกระบอก ระหว่างการฝึกเป้าใกล้เกาะบิเอเกส ปวยร์โตรีโก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1984

ยุทธวิธี แก้

การยิงสนับสนุนฝั่งด้วยปืนเรือแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ การยิงตรง ที่เรือมีแนวสายตากับเป้าหมาย (ไม่ว่าจะเป็นทางสายตาหรือผ่านการใช้เรดาร์) และการยิงแฝง ซึ่งเพื่อความแม่นยำ ต้องใช้ผู้สังเกตการณ์ปืนใหญ่เพื่อปรับการยิง

เมื่ออยู่ในแนวปืน เรือมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกโจมตีจากอากาศยาน โดยเฉพาะจากทางบกและการบินต่ำเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับด้วยเรดาร์ หรือจากเรือดำน้ำเนื่องจากเส้นทางที่แน่นอนและคาดการณ์ได้ (ซึ่งไม่หลบหนี)

ประวัติ แก้

ประวัติตอนต้น แก้

การใช้ประโยชน์จากการบอมบาร์ดชายฝั่งเป็นช่วงต้นของการล้อมกาแลในปี ค.ศ. 1890 เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ ได้กรีฑาพลเรือบรรทุกปืนบอมบาร์ดและปืนใหญ่อื่น ๆ[1]

เรือแบบแรกที่ออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์ในการบอมบาร์ดชายฝั่งคือเรือปืนครก ซึ่งนำมาใช้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 เรือเหล่านี้เป็นเรือลำเล็กที่มีอาวุธหลักคือปืนครกขนาดใหญ่หนึ่งหรือสองกระบอกที่ยิงกระสุนระเบิดได้ในมุมสูง โดยทั่วไปแล้วพวกมันเป็นเรือใบที่ไม่ดีพอ ซึ่งมีการใช้งานจำกัดนอกบทบาทพิเศษของพวกมัน อย่างไรก็ตาม เรือลำเล็กที่มีปืนครกขนาดใหญ่พบการใช้กระทั่งเมื่อสงครามกลางเมืองอเมริกา เมื่อนาวีสหภาพใช้พวกมันในการโจมตีป้อมปราการชายฝั่งหลายครั้ง

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เรือชั้นพิเศษอื่นที่รู้จักกันในชื่อเรือบรรทุกปืนได้ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อการบอมบาร์ดชายฝั่ง การใช้งานครั้งแรกของพวกมัน คือการใช้โดยฝรั่งเศสและสเปนในช่วงการล้อมยิบรอลตาร์ครั้งยิ่งใหญ่ (ค.ศ. 1779–1782) ส่วนในช่วงสงครามนโปเลียน กองทัพเรือสหราชอาณาจักรได้นำเรือชั้นมัสคีโท และชั้นเฟิร์มหลายลำออกมาใช้ เรือพวกนี้บรรทุกทั้งปืนยาวทางเรือหรือไม่ก็ปืนคาร์โรเนด นอกจากนั้น เรือบรรทุกปืนยังใช้โดยทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษในช่วงสงครามไครเมีย รวมถึงทั้งสองฝ่ายระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกา

อ้างอิง แก้

  1. Royal Artillery Institution, บ.ก. (1894). Journal of the Royal Artillery. Woolwich: Royal Artillery Institution. 21: 31. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้