การปฏิวัติตูนิเซีย

การปฏิวัติตูนิเซีย หรือ การปฏิวัติซีดีบูซีด หรือ การปฏิวัติดอกมะลิ เป็นการรณรงค์การต่อต้านของพลเมือง (civil resistance) อย่างเข้มข้น รวมถึงชุดการเดินขบวนตามท้องถนนซึ่งเกิดขึ้นในประเทศตูนิเซีย เหตุการณ์ดังกล่าวเริ่มต้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 และนำไปสู่การโค่นล้มประธานาธิบดีซึ่งครองอำนาจมาอย่างยาวนาน ซีน อัลอาบิดีน บิน อะลี (Zine El Abidine Ben Ali) ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 การเดินขบวนตามท้องถนนและความไม่สงบอื่น ๆ ยังดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน

การปฏิวัติตูนิเซีย
الثورة التونسية
ส่วนหนึ่งของ อาหรับสปริง
ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลในการปฏิวัติตูนิเซีย เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554
วันที่18 ธันวาคม ค.ศ. 2010 – 14 มกราคม ค.ศ. 2011
(3 สัปดาห์ 6 วัน)
สถานที่ตูนีเซีย
สาเหตุ
วิธีการ
ผล
ความเสียหาย
เสียชีวิต338[7]
บาดเจ็บ2,147[7]
ซีน อัลอาบิดีน บิน อะลี

การเดินขบวนประท้วงเป็นเหตุมาจากภาวะการว่างงานที่สูง ภาวะเงินเฟ้ออาหาร การฉ้อราษฎร์บังหลวง[8] การขาดเสรีภาพในการแสดงออกตลอดจนเสรีภาพทางการเมืองอื่น ๆ[9] และคุณภาพชีวิตที่เลว การประท้วงครั้งนี้เป็นคลื่นความไม่สงบทางสังคมและการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดในรอบสามทศวรรษ[10][11] และได้ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากพฤติกรรมของตำรวจและกองกำลังความมั่นคงต่อผู้ประท้วง การประท้วงเกิดขึ้นจากการจุดไฟเผาตัวเองของมุฮัมมัด อัลบูอะซีซี (Mohamed Al-Bouazizi) เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม[12] และนำไปสู่การโค่นประธานาธิบดีบิน อะลีลงจากตำแหน่งในอีก 28 วันให้หลัง เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554 เมื่อเขาลาออกอย่างเป็นทางการหลังหลบหนีไปยังซาอุดีอาระเบีย หลังครองอำนาจยาวนานกว่า 23 ปี[13][14] มีรายงานว่า สหภาพแรงงานเป็นส่วนสำคัญในการประท้วง[15] การประท้วงดังกล่าวเป็นแรงบันดาลใจแก่พฤติกรรมคล้ายกันทั่วโลกอาหรับ การปฏิวัติอียิปต์เริ่มขึ้นหลังเหตุการณ์ในตูนิเซีย และยังนำไปสู่การโค่นประธานาธิบดีอียิปต์ซึ่งครองอำนาจยาวนาน ฮุสนี มุบาร็อก ยิ่งไปกว่านั้น ยังเกิดขึ้นในประเทศในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางอีกหลายประเทศ

หลังบิน อะลีออกนอกประเทศ มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐบาลผสมรักษาการยังได้ถูกจัดตั้งขึ้น ซึ่งรวมไปถึงสมาชิกพรรคของบิน อะลี ได้แก่ พรรคอาร์ซีดี ในกระทรวงสำคัญหลายกระทรวง ขณะที่มีฝ่ายค้านอยู่ในกระทรวงอื่น ๆ โดยจะมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีซึ่งไม่ได้มาจากพรรคอาร์ซีดีห้าคนได้ลาออกจากตำแหน่งเกือบจะในทันที[16][17] และมีการประท้วงตามท้องถนนทุกวันในตูนิสและเมืองอื่นทั่วตูนิเซียยังดำเนินต่อไป โดยเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่ต้องไม่มีสมาชิกที่มาจากพรรคอาร์ซีดี และให้ยุบพรรคอาร์ซีดี[17][18][19] วันที่ 27 มกราคม นายกรัฐมนตรีมุฮัมมัด อัลฆ็อนนูชี (Muhammad Al-Ghannushi) ได้สับเปลี่ยนตำแหน่งในรัฐบาล โดยปลดรัฐมนตรีที่มาจากพรรคอาร์ซีดีทั้งหมด ยกเว้นตัวเขาเพียงคนเดียว วันที่ 6 กุมภาพันธ์ รัฐมนตรีมหาดไทยคนใหม่ยุติกิจกรรมพรรคทั้งหมดของอาร์ซีดี โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง[20] พรรคถูกยุบ ตามข้อเรียกร้องของผู้ประท้วง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554[21]

หลังมีการประท้วงสาธารณะเพิ่มเติม อัลฆ็อนนูชีลาออกเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ และอัลบาญี กออิด อัสซิบซี (Beji Caid Essebsi) เป็นนายกรัฐมนตรีแทน สมาชิกรัฐบาลเฉพาะกาลอีกสองคนลาออกในวันรุ่งขึ้น วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 ประธานาธิบดีประกาศว่า การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญจะจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554 จึงคาดกันว่าการเลือกตั้งทั่วไปจะถูกเลื่อนออกไปหลังวันนั้น[22]

เบื้องหลัง

แก้

ประธานาธิบดีบิน อะลีปกครองตูนิเซียมาตั้งแต่ พ.ศ. 2530 รัฐบาลของเขา ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อและในหมู่องค์การพัฒนาเอกชน ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสเนื่องจาก "การจับกุมตัวพวกอิสลามมาลงโทษ [และ] วาระด้านเศรษฐกิจของเขาได้รับการชักชวนว่าเป็นรูปแบบที่หลักแหลมซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ในแอฟริกาเหนือ และเขาพิสูจน์แล้วว่าเป็นพันธมิตรที่เด็ดเดี่ยวและกระตือรือร้นของสหรัฐอเมริกาที่เข้าไปมีส่วนพัวพันในโครงการส่งผู้ร้ายข้ามแดนซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก" ผลที่ตามมาคือ ปฏิกิริยาภายในต่อการละเมิดอำนาจของบิน อะลีจึงไม่มีการรายงานในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส และในหลายกรณีตัวอย่างของการประท้วงทางสังคมและการเมือง เมื่อเกิดขึ้นในประเทศตูนิเซียแล้ว น้อยครั้งที่จะปรากฏเป็นพาดหัวข่าวสำคัญในสื่อ

การประท้วงในตูนิเซียเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก[23] และเป็นที่น่าสังเกตว่า โดยเฉพาะอย่างตูนิเซียมักจะถูกมองว่าเป็นประเทศที่มั่งคั่งและมีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค[24] อัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช ยังได้รายงานว่า นักเคลื่อนไหวชาวตูนิเซียเป็นกลุ่มที่เปิดเผยมากที่สุดในภูมิภาคของโลก โดยมีข้อความสนับสนุนหลายข้อความถูกโพสต์ลงในทวิตเตอร์เพื่อสนับสนุนอัลบูอะซีซี[25] บทความที่ไม่เห็นด้วยกับบรรณาธิการในเครือข่ายเดียวกันยังได้กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็น "การประท้วงพลีชีพด้วยความสิ้นหวังของเยาวชนตูนิเซีย" นอกจากนี้ ยังได้ชี้ว่ากองทุนเอกภาพแห่งชาติและกองทุนการจ้างงานแห่งชาติเดิมได้ให้การสนับสนุนสินค้าและบริการในประเทศ แต่ได้เริ่มต้นเปลี่ยนแปลง "ภาระการจัดการจากรัฐสู่สังคม" เพื่อให้มีการนำเงินมาชำระโดย "ชุมชนแออัด" หรือเขตชุมชนห่างไกลความเจริญ ซึ่งตั้งอยู่รอบเมืองและชานเมืองที่ร่ำรวย นอกจากนี้ยังได้มีการอ้างถึง "การทำให้พื้นที่เกษตรกรรมและแห้งแล้ง ตลอดจนพื้นที่ทางใต้ของประเทศไม่มีความสำคัญยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่ลดละ"[26] การประท้วงดังกล่าวยังได้ถูกเรียกว่าเป็น "การลุกฮือของประชาชน" เนื่องจาก "การรวมกันอย่างร้ายแรงของความยากจน ภาวะการว่างงาน และการเก็บกดทางการเมือง: คุณลักษณะสามประการที่ปรากฏในสังคมอาหรับส่วนใหญ่"[27] อีกสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะความไร้ความสามารถของรัฐบาลตูนิเซียที่จะเซ็นเซอร์ข้อมูลไม่ให้ชาวตูนิเซียเข้าถึง อย่างเช่นข้อมูลจากวิกิลีกส์ที่อธิบายถึงการคอร์รัปชั่นอย่างรุนแรงในรัฐบาลตูนิเซีย[28]

การประท้วงเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ในซีดีบูซีดส่วนใหญ่ไม่ได้รับความสนใจเท่าใดนัก ถึงแม้ว่าเว็บไซต์สื่อสังคม อย่างเช่น เฟซบุ๊กและยูทูบจะได้นำเสนอภาพของตำรวจสลายการชุมนุมของเยาวชนผู้ซึ่งทำลายกระจกของร้านค้าและรถยนต์ได้รับความเสียหาย ผู้ประท้วงคนหนึ่ง มุฮัมมัด อัลบูอะซีซี จุดไฟเผาตนเองเพื่อเป็นการประท้วงต่อการยึดแผงลอยขายผักและผลไม้ของเขา[29] ในเวลาต่อมา เขาได้ถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลในตูนิส ที่ซึ่งเขาได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 4 มกราคม[30]

การประท้วงในช่วงแรก

แก้

มีรายงานว่าตำรวจพยายามขัดขวางการเดินขบวนและใช้แก๊สน้ำตากับผู้ชุมนุมเยาวชนหลายร้อยคนในซีดีบูซีด เมื่อตอนกลางเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ผู้ชุมนุมได้รวมตัวกันนอกที่ทำการรัฐบาลส่วนภูมิภาคเพื่อประท้วงต่อการปฏิบัติต่อมุฮัมมัด อัลบูอะซีซี ซึ่งจุดไฟเผาตัวเองเพื่อเป็นการประท้วงต่อการที่ตำรวจยึดแผงลอยขายผักและผลไม้ขณะที่พยายามขายสินค้าอยู่ริมถนน การรายงานข่าวในสื่อตูนิเซียมีจำกัด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกเสริมกำลังตามท้องถนนของเมือง[31]

วันที่ 22 ธันวาคม ผู้ประท้วงอีกคนหนึ่ง ชื่อว่า ละฮ์ซีน นะญี ตอบสนองต่อ "ความหิวโหยและภาวะไม่มีงานทำ" ด้วยการอัตวินิบาตกรรมด้วยไฟฟ้า หลังจากปีนขึ้นไปบนเสาไฟฟ้า ร็อมซี อัลอับบูดี ก็ได้ทำอัตวินิบาตกรรมด้วยเช่นกันเนื่องจากปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้นจากหนี้ธุรกิจโดยโครงการเอกภาพวิสาหกิจรายย่อยของประเทศ วันที่ 24 ธันวาคม มุฮัมมัด อัลอะมารี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงเข้าที่หน้าอกจนเสียชีวิต ในเมืองทางตอนกลางของประเทศ นอกจากนี้ ผู้ชุมนุมประท้วงรายอื่นก็ได้รับบาดเจ็บด้วยเช่นกัน รวมทั้งมีผู้เสียชีวิตอีกหนึ่งคนในวันที่ 30 ธันวาคม[32] ตำรวจอ้างว่าพวกเขายิงผู้ประท้วงในการ "ป้องกันตนเอง" ตำรวจได้มีการประกาศ "กึ่งเคอร์ฟิว" ในเมืองในเวลาต่อมา[33]

ต่อมา ความรุนแรงได้ปะทุขึ้นมาอีกเมื่อทางการและราษฎรจังหวัดซีดีบูซีด เผชิญหน้ากันอีกครั้งหนึ่ง การประท้วงได้ลุกลามไปถึงเมืองหลวงตูนิส[34] เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม โดยมีพลเมืองราว 1,000 คน ออกมาแสดงความสามัคคี[35] ร่วมกับราษฎรในซีดีบูซีด และเรียกร้องตำแหน่งงาน การเดินขบวนดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้นโดยนักเคลื่อนไหวสหภาพการค้าอิสระ ถูกหยุกยั้งโดยเจ้าหน้าที่ความมั่นคง การประท้วงยังได้ลุกลามไปถึงเมืองซูซะฮ์ สแฟกซ์ และอัลมิกนาซี[36] ในวันต่อมา สหพันธ์สหภาพแรงงานตูนิเซียได้จัดการเดินขบวนอีกครั้งหนึ่งในเมืองก็อฟเศาะฮ์ซึ่งถูกขัดขวางโดยเจ้าหน้าที่ความมั่นคงอีกเช่นเดียวกัน เป็นเวลาเดียวกับที่ทนายความราว 300 คน จัดการเดินขบวนของตนใกล้กับทำเนียบรัฐบาลในตูนิส[37] การประท้วงได้ดำเนินต่อไปอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 29 ธันวาคม

วันที่ 30 ธันวาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถยับยั้งการประท้วงได้อย่างสงบในเมืองอัลมุนัสตีร ขณะที่ใช้กำลังขัดขวางการเดินขบวนเพิ่มเติมในอัสซะบีเคาะฮ์และเชบบะ การประท้วงยังคงดำเนินต่อไปในวันที่ 31 ธันวาคม และมีการเดินขบวนประท้วงและการชุมนุมสาธารณะเพิ่มเติมอีกโดยทนายความในตูนิสและเมืองอื่นหลังจากมีการปลุกระดมของสภาทนายความแห่งชาติตูนิเซีย นอกจากนี้ ยังได้มีรายงานที่ไม่ได้รับการยืนยันว่ามีชายอีกคนหนึ่งพยายามทำอัตวินิบาตกรรมในอัลฮามมะฮ์[38]

วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554 การประท้วงในธาลาปะทุรุนแรงขึ้นจากภาวะการว่างงานและค่าครองชีพที่สูง ได้มีการเดินขบวนซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 250 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษา เพื่อเป็นการสนับสนุนการประท้วงในซีดีบูซีด ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุม โดยแก๊สกระป๋องหนึ่งได้ไปตกในบริเวณสุเหร่าท้องถิ่น มีรายงานว่าผู้ชุมนุมประท้วงตอบโต้จุดไฟเผายางรถยนต์และโจมตีสำนักงานของพรรคอาร์ซีดี ซึ่งเป็นพรรคของประธานาธิบดีบิน อะลี[39]

การประท้วงบางส่วนเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการตรวจพิจารณาออนไลน์ของรัฐบาล ที่ซึ่งภาพสื่อจำนวนมากได้รับการออกอากาศ ทางการตูนิเซียได้รับการกล่าวหาว่าดำเนินปฏิบัติการหลอกลวงเพื่อควบคุมรหัสผ่านของผู้ใช้และตรวจสอบการวิพากษ์วิจารณ์ออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์ของรัฐและเอกชนต่างก็ถูกเจาะระบบเข้าไปเช่นเดียวกัน[40]

การได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นสูงและการประท้วงระยะต่อมา

แก้

วันที่ 6 มกราคม ทนายความร้อยละ 95 จากทนายความทั้งประเทศ 8,000 คนได้ประท้วง ตามการระบุของประธานเนติบัณฑิตยสภาแห่งชาติ เขากล่าวว่า "การประท้วงส่งสารที่ชัดเจนว่าเราจะไม่ยอมรับการโจมตีอย่างไม่เป็นธรรมต่อทนายความ เราจะทำการประท้วงอย่างแข็งขันต่อการเฆี่ยนทนายความที่ผ่านมาไม่นานนี้" นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ในวันรุ่งขึ้น ครูได้เข้าร่วมการประท้วงด้วยเช่นกัน

อ้างอิง

แก้
  1. Willsher, Kim (27 February 2011). "Tunisian prime minister Mohamed Ghannouchi resigns amid unrest". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 23 November 2012.
  2. "Tunisia forms national unity government amid unrest". BBC News. 17 January 2011.
  3. "Tunisia dissolves Ben Ali party". Al Jazeera. 9 March 2011. สืบค้นเมื่อ 9 March 2011.
  4. Beaumont, Peter (19 January 2011). "Tunisia set to release political prisoners". The Guardian. London.
  5. "Tunisia election delayed until 23 October". Reuters. 8 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-22. สืบค้นเมื่อ 8 June 2011.
  6. "Thousands protest before Tunisia crisis talks". Reuters. 23 October 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-06. สืบค้นเมื่อ 2019-08-13.
  7. 7.0 7.1 Report: 338 killed during Tunisia revolution. Associated Press via FoxNews. 5 May 2012.
  8. Spencer, Richard. "Tunisia riots: Reform or be overthrown, US tells Arab states amid fresh riots". Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-28. สืบค้นเมื่อ 2011-01-14.
  9. Ryan, Yasmine. "Tunisia's bitter cyberwar". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 2011-01-14.
  10. "Tunisia's Protest Wave: Where It Comes From and What It Means for Ben Ali | The Middle East Channel". Mideast.foreignpolicy.com. 3 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-15. สืบค้นเมื่อ 14 January 2011.
  11. Borger, Julian (29 December 2010). "Tunisian president vows to punish rioters after worst unrest in a decade". The Guardian. UK: Guardian Media Group. สืบค้นเมื่อ 29 December 2010.
  12. Tunisia suicide protester Mohammed Bouazizi dies, BBC, 5 January 2011.
  13. Wyre Davies (15 December 2010). "BBC News – Tunisia: President Zine al-Abidine Ben Ali forced out". BBC News. สืบค้นเมื่อ 14 January 2011.
  14. "Uprising in Tunisia: People Power topples Ben Ali regime". Indybay. 16 January 2011. สืบค้นเมื่อ 26 January 2011.
  15. "Trade unions: the revolutionary social network at play in Egypt and Tunisia". Defenddemocracy.org. สืบค้นเมื่อ 11 February 2011.
  16. "Tunisia announces withdrawal of 3 ministers from unity gov't: TV". People's Daily. 18 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2011. สืบค้นเมื่อ 20 January 2011.
  17. 17.0 17.1 "Protests hit Tunisia amid mourning". Al Jazeera. 21 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2011. สืบค้นเมื่อ 21 January 2011.
  18. "Tunisia leader vows break with past". Al Jazeera. 19 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2011. สืบค้นเมื่อ 19 January 2011.
  19. "Tunisia: New government leaders quit ruling party". BBC News. 18 January 2011.
  20. "Tunisian minister suspends ex-ruling party". Google. The Associated Press. สืบค้นเมื่อ 8 February 2011.
  21. "Most Popular E-mail Newsletter". USA Today. 9 March 2011.
  22. "Tunisia election delayed until October 23". Reuters. 8 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-01. สืบค้นเมื่อ 8 June 2011.
  23. "Deadly Riots in Tunisia Shut Down Schools". Cbsnews.com. 2011-01-10. สืบค้นเมื่อ 2011-01-15.
  24. "Protesters killed in Tunisia riots". English.aljazeera.net. 2011-01-09. สืบค้นเมื่อ 2011-01-15.
  25. "Riots reported in Tunisian city – Africa – Al Jazeera English". English.aljazeera.net. 2010-12-20. สืบค้นเมื่อ 2011-01-14.
  26. Larbi Sadiki (2010-12-27). "Tunisia: The battle of Sidi Bouzid – Opinion – Al Jazeera English". English.aljazeera.net. สืบค้นเมื่อ 2011-01-14.
  27. Lamis Andoni (2010-12-31). "The rebirth of Arab activism – Opinion". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 2011-01-14.
  28. "The Internet and Muhammad Bouazizi". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-04. สืบค้นเมื่อ 2011-01-29.
  29. "Suicide protest helped topple Tunisian regime".
  30. "Tunisian who sparked rare protests dies: relatives -Reuters". Af.reuters.com. 2011-01-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2011-01-14.
  31. "Images posted on social-network sites show police intervening to halt disturbances ignored by national media". Al Jazeera. 20 December 2010. สืบค้นเมื่อ 20 December 2010.
  32. "A protester dies after being shot by police, as activists criticise government repression of protests". Al Jazeera. 31 December 2010. สืบค้นเมื่อ 31 December 2010.
  33. "Protester dies in Tunisia clash: Several wounded in Sidi Bouzid as demonstrations against unemployment turn violent". Al Jazeera. 25 December 2010. สืบค้นเมื่อ 25 December 2010.
  34. "Protests continue in Tunisia". Al Jazeera. 26 December 2010. สืบค้นเมื่อ 26 December 2010.
  35. "Tunisia jobless protests rage – Africa – Al Jazeera English". English.aljazeera.net. 2010-12-28. สืบค้นเมื่อ 2011-01-14.
  36. "Job protests escalate in Tunisia – Africa – Al Jazeera English". English.aljazeera.net. 2010-12-28. สืบค้นเมื่อ 2011-01-14.
  37. Bilal Randeree (2010-12-28). "Tensions flare across Tunisia – Africa – Al Jazeera English". English.aljazeera.net. สืบค้นเมื่อ 2011-01-14.
  38. "video: today a young unemployed man trying to commit a suicide in El Hamma #sidibouzid". Nawaat. 31 December 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-08. สืบค้นเมื่อ 31 December 2010.
  39. Bilal Randeree (2011-01-04). "Violent clashes continue in Tunisia – Africa". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 2011-01-14.
  40. Yasmine Ryan (2011-01-06). "Tunisia's bitter cyberwar – Features". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 2011-01-14.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้