เคอร์ฟิว (อังกฤษ: curfew) เป็นคำสั่งกำหนดเวลาใช้ข้อบังคับบางอย่าง โดยปรกติเป็นการกำหนดเวลาให้บุคคลต้องอยู่ภายในเคหสถาน หรือให้ปิดทำการสำนักงานบางประเภท[1][2] และผู้ออกคำสั่งดังกล่าวมักเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ยังหมายถึงกรณีที่เอกชนเป็นผู้ออกคำสั่งได้ด้วย เช่น กรณีที่เจ้าของบ้านกำหนดให้โอแพร์ (au pair) ต้องกลับบ้านในยามเย็น

ใบอนุญาตให้เดินทางได้ในช่วงเคอร์ฟิวของปาเลสไตน์เมื่อ พ.ศ. 2489

ศัพทมูล

แก้

คำว่า "เคอร์ฟิว" ในภาษาอังกฤษ มาจากคำว่า "กูฟวร์เฟอ" (couvre-feu) ในภาษาฝรั่งเศสเก่า (Old French) มีความหมายตรงตัวว่า "ดับไฟ" (cover fire)[3] มีที่มาจากกฎหมายของพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต (William The Conqueror) ที่ให้ดับไฟและแสงไฟทั้งหมดเมื่อระฆังตีแปดนาฬิกา เพื่อป้องกันเพลิงไหม้ในชุมชนอาคารไม้[4]

ประเภท

แก้
  1. คำสั่งที่เจ้าหน้าที่รัฐหรือทหารเป็นผู้ออก กำหนดให้ทุกคนหรือบางคนอยู่ภายในเคหสถาน ณ ช่วงเวลาบางช่วง ปรกติมักเป็นยามวิกาล คำสั่งเช่นนี้อาจมีขึ้นเพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อย (เช่น กรณีที่เกิดในคราวไฟฟ้าดับทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐเมื่อ พ.ศ. 2546, การจลาจลในฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2548, แผ่นดินไหวในชีลีเมื่อ พ.ศ. 2553, การชุมนุมประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2553, การปฏิวัติอียิปต์เมื่อ พ.ศ. 2554, และความไม่สงบที่เฟอร์กูสันเมื่อ พ.ศ. 2557) หรือเพื่อปราบปรามบุคคลบางกลุ่ม
  2. คำสั่งของผู้ปกครอง (ตามกฎหมาย) ที่ให้ผู้เยาว์กลับบ้านภายในเวลาที่กำหนด ปรกติมักเป็นยามวิกาล อาจเป็นคำสั่งวันต่อวัน หรืออาจมีความแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละวันในสัปดาห์
  3. คำสั่งของหัวหน้าครัวเรือนต่อผู้ช่วยเหลือในครัวเรือน เช่น ต่อโอแพร์ดังกล่าวข้างต้น หรือต่อคนเลี้ยงเด็ก ให้กลับบ้านภายในเวลาที่กำหนด
  4. ข้อกำหนดรายวันที่ให้แขกผู้พักอาศัยเดินทางกลับที่พักภายในเวลาที่กำหนด ปรกติมักเป็นยามวิกาล
  5. ในการแข่งขันเบสบอล ได้แก่ คำสั่งว่า ให้การแข่งขันสิ้นสุดลงภายในเวลาใด หรือให้พักการแข่งขันเมื่อถึงเวลาใด เช่น ในอเมริกันลีก (American League) มีการใช้เคอร์ฟิวบังคับเป็นเวลาต่อเนื่องหลายปี กำหนดห้ามอินนิง (inning) เมื่อพ้นเวลา 1 นาฬิกา (ตี 1) ไปแล้ว
  6. ในวิชาการบิน ได้แก่ คำสั่งห้ามขึ้นบินในเวลากลางคืน ซึ่งห้ามปฏิการทางอากาศยานในช่วงเวลาใด ๆ ของยามค่ำคืนตามที่กำหนด เพื่อป้องกันการรบกวนผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง เช่น กรณีของท่าอากาศยานต่าง ๆ ในลอนดอนที่ปฏิบัติการบินตามระบบนับโควตา (Quota Count system)
  7. คำสั่งห้ามเข้าพื้นที่ที่กำหนดภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ เช่น ในอินเวอร์ไคลด์ (Inverclyde) สกอตแลนด์ ห้ามลูกค้า (patron) เข้าสถานที่ที่ได้รับใบอนุญาต (licensed premises) เป็นต้นว่า ผับ คลับ บาร์ ฯลฯ เมื่อพ้นเวลาเที่ยงคืนแล้ว[5] คำสั่งเช่นนี้มักเรียกว่า "ลาสต์ออร์เดอร์" (last order)

อ้างอิง

แก้
  1. "curfew - definition of curfew in English from the Oxford dictionary". oxforddictionaries.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-17. สืบค้นเมื่อ 2020-03-25.
  2. "Curfew - Define Curfew at Dictionary.com". Dictionary.com.
  3. "curfew". Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005.
  4. Bailey's Dictionary, fifth edition 1731
  5. "Pub and club curfew extended". Greenock Telegraph.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้