การบริหารทรัพยากรกายภาพ

การบริหารทรัพยากรกายภาพ (อังกฤษ: facility management) เป็นสหความรู้ที่ใช้ในการจัดการที่ว่าง โครงสร้างพื้นฐาน คน และหน่วยงาน โดยมักจะร่วมกับส่วนการบริหารอาคาร อาทิ ออฟฟิศ สนามกีฬา โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ครอบคลุมกิจกรรมหลายด้านที่เกิดขึ้นในอาคารและการจัดการผลกระทบของกิจกรรมเหล่านี้ต่อบุคลากรและสภาพแวดล้อมในการทำงาน อาทิ การบำรุงรักษาและปรับปรุงอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม และการจัดหาตัวแทนผู้ดำเนินงานบริการอื่นๆที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานหลักขององค์กร เช่น ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบสื่อสารและการจัดเก็บข้อมูล และงานทำความสะอาด เป็นต้น โดยเป็นการบริหารที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลัก การบริหารทรัพยากรอาคารเป็นการบูรณาการการทำงานต่างๆในองค์กรเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการต่างๆที่จำเป็นการส่งเสริมศักยภาพของกิจกรรมหลักขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิต การลดค่าใช้จ่ายของการปฏิบัติงานในระยะยาว และความได้เปรียบทางการตลาดขององค์กรนั้น ๆ

ในปี พ.ศ. 2552 สมาคมการบริหารทรัพยากรกายภาพนานาชาติ (IFMA) ได้กำหนดหน้าที่ไว้ 11 อย่างในด้านการบริหารทรัพยากรกายภาพ ได้แก่ (1) การสื่อสาร (2) การเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉินและการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (3) ภาวะผู้ให้บริการดูแลสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน (4) การเงินและธุรกิจ (5) ปัจจัยมนุษย์ (6) ความเป็นผู้นำและกลยุทธ์ (7) การดำเนินการและดูแลรักษา (8) การบริหารโครงการ (9) คุณภาพ (10) อสังหาริมทรัพย์และการบริหารสินทรัพย์ และ (11) เทคโนโลยี[1] ปัจจุบันการบริหารทรัพยากรอาคาร ได้พัฒนา มากขึ้น เพื่อครอบคลุม งานต่าง ๆ ของอาคาร โดยสามารถแบ่ง การบริหารออกเป็น สองส่วน หลัก คือ Soft Services และ Hard Services ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป นอกจากนี้ ได้มีการพัฒนามาตรฐานระดับนานาชาติ ที่เป็นสากล คือ มาตรฐาน ISO 41001 Facility Management Standard

อ้างอิง

แก้
  1. "11 Core Competencies of Facility Management". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-06. สืบค้นเมื่อ 2015-08-09.

แหล่งข้อมูลอื่นนอ

แก้