การทัพพม่า (ค.ศ. 1944)

การสู้รบในการทัพพม่าในช่วง ค.ศ. 1944 เป็นหนึ่งในสมรภูมิที่รุนแรงที่สุดในเขตสงครามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคู่สงครามทั้งสองฝ่าย คือ กองทัพเครือจักรภพอังกฤษ จีน และสหรัฐ กับญี่ปุ่นและกองทัพแห่งชาติอินเดีย ได้ปะทะกันตามแนวชายแดนพม่า-อินเดีย และชายแดนพม่า-จีน ซึ่งกองกำลังทางบกของเครือจักรภพนั้นประกอบด้วยทหารที่มาจากสหราชอาณาจักร บริติชอินเดีย และแอฟริกา

การทัพพม่า ค.ศ. 1944
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง

เครื่องบิน ซี-47 ทำการปล่อยเสบียงด้วยร่มชูชีพให้กับทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่กำลังสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พบเห็นได้ทั่วไปในการสู้รบในพม่าและอินเดียใน ค.ศ. 1944
วันที่มกราคม – พฤศจิกายน ค.ศ. 1944
สถานที่
ผล ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) จีน
 สหรัฐ

 ญี่ปุ่น

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ความสูญเสีย
29,324 นาย (เครือจักรภพอังกฤษ) 71,289 นาย (ญี่ปุ่น)[4]

ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องเผชิญกับความยากลำบากในการส่งกำลังบำรุงทหารและการจัดระเบียบกองกำลัง ทำให้ความพยายามในช่วงแรกพังทลายลง และฝ่ายสัมพันธมิตรก็กําลังเตรียมที่จะบุกพม่าในจุดต่าง ๆ ที่ญี่ปุ่นยึดครองให้แยกออกจากกัน ญี่ปุ่นจึงทำการขัดขวางโดยการเปิดฉากรุกรานอินเดีย ซึ่งการรุกรานครั้งนี้มีขอบเขตที่กว้างขวางกว่าเป้าหมายที่กำหนดแต่แรก โดยในช่วงสิ้นปี ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถยึดดินแดนที่สำคัญไว้ได้เฉพาะทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของพม่าเท่านั้น แต่การโจมตีอินเดียของญี่ปุ่นประสบความล้มเหลวและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ทำให้ความพยายามของญี่ปุ่นในการปกป้องพม่าจากการรุกรานครั้งใหม่ของฝ่ายสัมพันธมิตรในปีต่อมาเป็นไปอย่างลำบากยิ่ง

อ้างอิง แก้

  1. Whelpton, John (2005). A History of Nepal (4th ed.). Cambridge: Cambridge University Press. p. 67. ISBN 978-0-52180026-6.
  2. Singh, S. B. (1992). "Nepal and the World Warii". Proceedings of the Indian History Congress. 53: 580–585. JSTOR 44142873.
  3. The Burma Boy, Al Jazeera Documentary, Barnaby Phillips follows the life of one of the forgotten heroes of World War II, Al Jazeera Correspondent Last Modified: 22 July 2012 07:21,
  4. not counting casualties fighting against Chinese / American forces