การตีความฝัน (หนังสือ)

การตีความฝัน (อังกฤษ: The Interpretation of Dreams; เยอรมัน: Die Traumdeutung) เป็นหนังสือโดย ซิกมุนด์ ฟรอยด์ นักจิตวิทยา หนังสือนี้แนะนำทฤษฎีจิตไร้สำนึกที่เกี่ยวข้องกับการตีความฝัน และยังเป็นหนังสือเล่มแรกที่อภิปรายถึงสิ่งที่ต่อมาเป็นทฤษฎีปมเอดิเพิส (Oedipus complex) ฟรอยด์ทบทวนหนังสือนี้อย่างน้อยแปดครั้ง และในฉบับพิมพ์ครั้งที่สาม ได้เพิ่มส่วนกว้างขวางซึ่งกล่าวถึงสัญลักษณ์นิยมฝันเป็นตัวอักษรมาก ตามอิทธิพลของวิลเฮล์ม ซทีเคิล (Wilhelm Stekel) ฟรอยด์กล่าวถึงงานนี้ว่า "วิจารณญาณนี้ตกแก่ผู้หนึ่งเพียงครั้งหนึ่งในชีวิต" (Insight such as this falls to one's lot but once in a lifetime.) หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งแรกขายได้น้อยมาก กว่าจะขายได้ 600 เล่มแรกก็ใช้เวลาหลายปี ทว่า งานนี้ได้รับความนิยมตามฟรอยด์ และมีการจัดพิมพ์อีกเจ็ดครั้งในชั่วชีวิตของเขา

การตีความฝัน  
หน้าปกฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกในภาษาเยอรมัน
ผู้ประพันธ์ซิกมุนด์ ฟรอยด์
ชื่อเรื่องต้นฉบับDie Traumdeutung
ผู้แปลภาษาอังกฤษ: เอ. เอ. บริลล์ (ฉบับแรกสุด)
เจมส์ สเทรชี (ฉบับที่ได้รับอนุญาต)
จอยซ์ คริก (ฉบับล่าสุด)
ประเทศออสเตรีย
ภาษาเยอรมัน
หัวเรื่องการตีความฝัน
สำนักพิมพ์Franz Deuticke, Leipzig & Vienna
วันที่พิมพ์4 พฤษจิกายน ค.ศ. 1899
(ลงวันที 1900)
พิมพ์ในภาษาอังกฤษ
1913
ชนิดสื่อรูปเล่ม
ข้อความการตีความฝัน ที่ วิกิซอร์ซ

เอ. เอ. บริลล์ นักจิตวิเคราะห์แบบฟรอยด์ เป็นผู้แปลจากภาษาเยอรมันเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก หลายปีต่อมา มีการจัดพิมพ์การแปลที่ได้รับอนุญาต โดยเจมส์ สเทรชี (James Strachey) การแปลภาษาอังกฤษครั้งล่าสุดโดย จอยซ์ คริก เพราะหนังสือนี้ยาวและซับซ้อนมาก ฟรอยด์จึงเขียนฉบับย่อชื่อ ว่าด้วยฝัน (On Dreams)

อ่านเพิ่ม แก้

  • Marinelli, Lydia (2003). Dreaming by the book : Freud's The interpretation of dreams and the history of the psychoanalytic movement. Andreas Mayer. New York: Other Press. ISBN 1-59051-009-7. OCLC 52728852. ผู้เขียนสำรวจความเปลี่ยนแปลงในแต่ละฉบับของ Die Traumdeutung และอธิบายภาพรวมว่าทำไมหนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือสำคัญของจิตวิทยาแบบจิตวิเคราะห์