การตัดมดลูก (อังกฤษ: Hysterectomy) เป็นหัตถการศัลยกรรมเพื่อนำมดลูกออก บางครั้งอาจทำการตัดปากมดลูก, รังไข่ (การตัดรังไข่), ท่อนำไข่ (การตัดท่อนำไช่) และอวัยวะเคียง ร่วมด้วย

การตัดมดลูก
การแทรกแซง
แผนภาพแสดงส่วนที่ถูกตัดออกในการตัดมดลูกบางส่วน (partial), การตัดมดลูกทั้งหมด (total) และการตัดมดลูกแบบถอนรากถอนโคน (radical hysterectomy) ตามลำดับ
ICD-9-CM68.9
MeSHD007044
MedlinePlus002915

การตัดมดลูกเป็นหัตถการที่มักทำโดยนรีแพทย์ มีทั้งชนิดที่เป็นการตัดมดลูกทั้งหมดหรือโดยสมบูรณ์ (total หรือ complete ได้แก่การตัดส่วนตัว; body, ฟันดัส; fundus และปากมดลูก; cervix), การตัดมดลูกบางส่วน (partial ได้แก่การตัดแค่ส่วนตัว บางครั้งเรียกว่าแบบเหนือปากมดลูก; "supracervical") และการตัดมดลูกแบบถอนรากถอนโคน (radical ได้แก่การตัดทั้งหมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่) การตัดมดลูกจะทำให้ผู้ที่ถูกตัดไม่สามารถมีลูกได้อีก เช่นเดียวกับการตัดรังไข่และท่อทำไข่ รวมถึงยังมีความเสี่ยงจากการผ่าตัดและมีผลข้างเคียงในระยะยาว การผ่าตัดนี้จึงกระทำเฉพาะเมื่อการรักษาด้วยตัวเลือกอื่น ๆ ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยได้ หรือเมื่อไม่มีการรักษาตัวเลือกอื่น ๆ แล้ว การตัดมดลูกถือเป็นหัตถการศัลยกรรมทางนรีเวชที่กระทำบ่อยที่สุดในสหรัฐรองจากการผ่าซีสซาเรียน[1] ราวร้อยละ 68 ของการตัดมดลูกกระทำในผู้ป่วยด้วยภาวะอย่างเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่, เลือดออกทางมดลูกผิดปกติ และ เนื้องอกกล้ามเนื้อของมดลูก[1] มีการคาดการณ์ว่าความถี่ในการทำการตัดมดลูกในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการกลุ่มไม่ใช่มะเร็งเนื้อร้าย (non-malignancy) จะลดต่ำลง เป็นผลมาจากการพัฒนาการรักษาทางเลือกที่มีมากขึ้น[2]

ข้อบ่งชี้ แก้

อาการหรือข้อบ่งชี้สำหรับการตัดมดลูก เช่น:[3] เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่, อะดีโนไมโยซิส, ประจำเดือนมามากผิดปกติ, เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก, มดลูกปลิ้น, มะเร็งทางนรีเวช หรือ เพื่อป้องกันมะเร็งของระบบสืบพันธุ์สตรี

นอกจากนี้ยังใช้ทำในการแปลงเพศเป็นชายเช่นกัน[4]

ความเสี่ยงและผลข้างเคียง แก้

อันราการเสียชีวิตจากการตัดมดลูกสูงกว่าหลายเท่าในผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์อยู่ มีมะเร็ง หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นอยู่เดิม[5]

ผลในระยะยาว (Long-term effect) ที่ทำให้เสียชีวิตในทุกกรณีนั้นถือว่าต่ำมาก ผู้ที่อายุต่ำกว่า 45 ปี มีอัตราการเสียชีวิตในระยะยาวหลังตัดมดลูกที่สูงมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นผลข้างเคียงของฮอร์โมนส์[6][7] ผลดังกล่าวไม่ได้พบได้เฉพาะในผู้ที่ยังไม่หมดประจำเดือน แม้แต่ในผู้ที่หมดประจำเดือนแล้วก็ยังมีรายงานว่ามีการมีชีวิตรอดในระบะยาวต่ำลงหลังการผ่ารังไข่[8]

การบาดเจ็บของท่อปัสสาวะสามารถพบได้ใน 0.2 กรณีต่อการผ่าตัด 1000 ครั้งในการตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด (vaginal hysterectomy) และอยู่ที่ 1.3 กรณีต่อการผ่าตัด 1,000 ครั้งในการการตัดมดลูกผ่านหน้าท้อง (abdominal hysterectomy)[9] การบาดเจ็บมักพบที่ท่อปัสสาวะส่วนปลาย ใกล้กับเส้นเอ็นอินฟันดิบูโลเพลวิก หรือตรงจุดที่ท่อปัสสาวะลอดใต้เส้นเลือดแดงยูเทอรีน (uterine artery) หลายครั้งเป็นผลจากการหนีบหยุดหลอดเลือดผิดพลาด (blind clamping) และการจัดวางเส้นเอ็น (ligature placement) ซึ่งทำไปเพื่อควบคุมเลือดคั่ง[10]

โดยทั่วไปผู้ป่วยจะพักฟื้นในโรงพยาบาลอยู่ที่ 3 ถึง 5 วันหรือมากกว่าในกรณีการผ่าทางหน้าท้อง และอยู่ที่ 1 และ 2 วัน ในกรณีที่ตัดออกทางช่องคลอด หรือกรณีที่ทำหัตถการโดยมีการส่องกล้องช่วย (laparoscopically assisted)[11] หลังหัตถการ วิทยาลัยสูตินรีเวชศาสตร์อเมริกา (American College of Obstetricians and Gynecologists) แนะนำให้งดการสอดใส่สิ่งใด ๆ เข้าไปในช่องคลอด เช่น ผ้าอนามัยแบบแทมปอน หรือการมีเพศสัมพันธ์สอดใส่ เป็นเวลา 6 สัปดาห์[12]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Plotting the downward trend in traditional hysterectomy | Institute for Healthcare Policy & Innovation". ihpi.umich.edu. สืบค้นเมื่อ 2019-08-06.
  2. Bahamondes L, Bahamondes MV, Monteiro I (2008). "Levonorgestrel-releasing intrauterine system: uses and controversies". Expert Review of Medical Devices. 5 (4): 437–445. doi:10.1586/17434440.5.4.437. PMID 18573044. S2CID 659602.
  3. "Hysterectomy". womenshealth.gov (ภาษาอังกฤษ). 2017-02-21. สืบค้นเมื่อ 2019-08-06.
  4. "Hysterectomy | Transgender Care". transcare.ucsf.edu. สืบค้นเมื่อ 2019-08-02.
  5. Wingo PA, Huezo CM, Rubin GL, Ory HW, Peterson HB (1985). "The mortality risk associated with hysterectomy". American Journal of Obstetrics and Gynecology. 152 (7 Pt 1): 803–808. doi:10.1016/s0002-9378(85)80067-3. PMID 4025434.
  6. Shuster LT, Gostout BS, Grossardt BR, Rocca WA (2008). "Prophylactic oophorectomy in premenopausal people and long-term health". Menopause International. 14 (3): 111–116. doi:10.1258/mi.2008.008016. PMC 2585770. PMID 18714076.
  7. American Urogynecologic Society (May 5, 2015), "Five Things Physicians and Patients Should Question", Choosing Wisely: an initiative of the ABIM Foundation, American Urogynecologic Society, สืบค้นเมื่อ June 1, 2015, which cites: *Blank, SV (February 2011). "Prophylactic and risk-reducing bilateral salpingo-oophorectomy: recommendations based on risk of ovarian cancer". Obstetrics and Gynecology. 117 (2 Pt 1): 404, author reply 404. doi:10.1097/AOG.0b013e3182083189. PMID 21252760.
  8. Shoupe D, Parker WH, Broder MS, Liu Z, Farquhar C, Berek JS (2007). "Elective oophorectomy for benign gynecological disorders". Menopause. 14 (Suppl. 1): 580–585. doi:10.1097/gme.0b013e31803c56a4. PMID 17476148. S2CID 37549821.
  9. Burks FN, Santucci RA (June 2014). "Management of iatrogenic ureteral injury". Ther Adv Urol. 6 (3): 115–24. doi:10.1177/1756287214526767. PMC 4003841. PMID 24883109.
  10. Ureteral Trauma จาก eMedicine
  11. "Abdominal hysterectomy - Mayo Clinic". www.mayoclinic.org.
  12. "Hysterectomy". www.acog.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-12-28.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค

แม่แบบ:Female genital procedures