การคว่ำบาตรเผ่าบนูฮาชิมของชาวมักกะฮ์
การคว่ำบาตรเผ่าบนูฮาชิมของชาวมักกะฮ์ เป็นการคว่ำบาตรทางสาธารณะต่อเผ่าบนูฮาชิมที่ประกาศใช้ในปีค.ศ. 616 (ปีที่ 7 ของการเป็นศาสดาของมุฮัมมัด) โดยหัวหน้าเผ่าบนูมัคซูม และบนูอับดุชชัมส์ สองเผ่าสำคัญของชนเผ่ากุเรช. รายงานจากธรรมเนียมขอมมุสลิม การคว่ำบาตรนี้มีไว้เพื่อเพิ่มความกดดันของบนูฮาชิมให้หยุดปกป้องมุฮัมมัด.[1][2]
สัญญานี้มีผลต่อเผ่าบนูฮาชิมเท่านั้น ตามรายงานของอิบน์ อิสฮักไว้ว่า "ห้ามไม่ให้ใครนำผู้หญิงจากเผ่าตนเองไปแต่งงานกับพวกเขา และพวกเขาไม่ควรนำผู้หญิงของตนแต่งงานกับพวกเรา; และห้ามใครก็ตามซื้อหรือขายของแก่พวกเขา และพวกเขาต้องยอมรับในสิ่งนี่พวกเราทำสัญญา"[3] การคว่ำบาตรนี้มีผลแค่สามปี แต่ได้ถูกยกเลิกลง เพราะมันไม่เป็นไปตามสิ่งที่พวกเขาต้องการ; การคว่ำบาตรทำให้เกิดความขาดแคลนและมีผู้เห็นอกเห็นใจในเผ่ากุเรช จนกระทั่งทำให้สัญญาเป็นโมฆะ[2][4]
ภาพรวม
แก้มันกลายเป็นปัญหาใหญ่ของมุสลิม โดยพวกเขาถูกบังคับให้ย้ายไปอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าชิบ อบีฏอลิบหรือชิบ อบีฮาชิม และทำให้พวกเขาประสบความหิวโหย.[5] การคว่ำบาตรสิ้นสุดลงในปีค.ศ.619 ซึ่งเป็นปีแห่งความเศร้าโศก.
ประวัติ
แก้...พวกกุเรชได้รวมตัวหารือกันและตัดสินใจทำตราสารที่ถูกเขียนไว้ว่า พวกเขาจะไม่แต่งงานกับผู้หญิงที่มาจากเผ่าบนูฮาชิมและบนูมุฏฏอลิบ หรือนำผู้หญิงของพวกเขาไปแต่งงานกับสองเผ่านี้ และขายหรือซื้อของทุกอย่างจากสองเผ่านี้ ... จากนั้นจึงนำสัญญาไปแขวนภายในกะอ์บะฮ์เพื่อทำให้สัญญามีผลมากขึ้น เมื่อพวกกุเรชทำเช่นนี้แล้ว บนูฮาชิมและบนูมุฏฏอลิบจึงต้องร่วมกับอบูฏอลิบไปที่หุบเขาของเขา และอาศัยอยู่ที่นั่น; แต่อบูละฮับ อับดุลอุซซา บิน อับดุลมุฏฏอลิบ ได้ไปเข้าร่วมกับเผ่ากุเรช สถานการณ์นี้อยู่ไปราวสองสามปี จนกระทั่งสองเผ่านั้นเหน็ดเหนี่อย เพราะไม่มีอะไรมาถึงพวกเขานอกจากข้าวของที่แอบส่งโดยชาวกุเรชที่มีความสัมพันธ์กัน".[6]
...ในช่วงนั้นพวกเขาอาศัยอยู่อย่างยากลำบากมาก จนถึงขั้นต้องกินใบต็อลฮ์หรือใบกล้าย" [7]
ดังนั้น การคว่ำบาตรนี้ได้รวมถึงชาวบนูฮาชิมที่ไม่ได้เข้ารับอิสลามด้วย[8]
สิ้นสุดการคว่ำบาตร
แก้รายงานจากหลักฐานของมุสลิม กระดาษที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการคว่ำบาตรถูกปลวกกัดกินหมด ยกเว้นที่พระนามของอัลลอฮ์.[9][10]
อ้างอิง
แก้- ↑ Francis E. Peters, The Monotheists: Jews, Christians, and Muslims in Conflict and Competition, p.96
- ↑ 2.0 2.1 Moojan Momen, An Introduction to Shi'i Islam: The History and Doctrines of Twelver Shiʻism, Yale University Press, p.4
- ↑ Francis E. Peters, Mecca: A Literary History of the Muslim Holy Land, Princeton University Press, 1994, ISBN 0-691-03267-X, p.54
- ↑ Daniel W. Brown,A New Introduction to Islam, Blackwell Publishing, p.76, 2004, ISBN 0-631-21604-9
- ↑ Answering-Ansar.org :: Our 20 questions
- ↑ Taken from Tarikh al-Tabari, Volume 6 page 81 - Muhammad at Mecca (book), translated by William Montgomery Watt & M.V. MacDonald [1]
- ↑ taken from Siratun Nabi by Shibli Numani Vol 1 p 218, English translation by M. Tayyib Bakhsh Budayuni [2]
- ↑ www.islam4theworld.com
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-15. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
- ↑ http://aboutislam.net/shariah/prophet-muhammad/social-boycott-early-muslims-story/