กุร็อยช์
กุร็อยช์ (อาหรับ: قُرَيْشٌ) เป็นกลุ่มตระกูลอาหรับที่เคยอาศัยและควบคุมมักกะฮ์กับกะอ์บะฮ์ นบีมุฮัมมัดเกิดในตระกูลฮาชิมของเผ่านี้ ถึงกระนั้น ชาวกุเรชหลายคนต่อต้านมุฮัมมัดอย่างมากจนกระทั่งทั้งเผ่าเข้ารับอิสลามในประมาณ ค.ศ. 630 หลังจากนั้น ตำแหน่งผู้นำของสังคมมุสลิมจึงส่งผ่านสมาชิกเผ่ากุร็อยช์ เช่นเดียวกันกับกรณีของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน, อุมัยยะฮ์, อับบาซียะฮ์ และอ้างว่ารวมรัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ด้วย
ชื่อ
แก้ข้อมูลระบุต้นตอของชื่อกุร็อยช์นั้นแตกต่างกัน มีทฤษฎีหนึ่งระบุว่าศัพท์นี้เป็นรูปสั้น (diminutive form) ของ qirsh (ฉลาม)[1] ฮิชาม อิบน์ อัลกัลบี ผู้สืบสวนวงศ์วานในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ยืนยันว่าไม่มีผู้ก่อตั้งเผ่ากุร็อยช์[2] แต่ชื่อนี้มีที่มาจาก taqarrush ในภาษาอาหรับที่แปลว่า "เข้ามาด้วยกัน" หรือ "สมาคม" กุร็อยช์ได้รับชื่อเผ่าเมื่อกุศ็อยย์ อิบน์ กิลาบ ลูกหลานรุ่นที่ 6 ของฟิฮร์ อิบน์ มาลิก รวมญาติของเขาและยึดครองกะอ์บะฮ์ ก่อนหน้านั้น ลูกหลานของฟิฮร์อาศัยอยู่กระจัดกระจาย เป็นกลุ่มชนร่อนเร่ในบรรดาญาติของกินานะฮ์[3][note 1] นิสบะฮ์ของกุร็อยช์คือ กุเราะชี ถึงแม้ว่าในช่วงศตวรรษแรกของอุมมะฮ์อิสลาม ชาวเผ่ากุร็อยช์ส่วนใหญ่ยังคงระบุนิสบะฮ์เป็นตระกูลของตนเองแทนชื่อเผ่า หลังจากนั้น (โดยเฉพาะหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13) ลูกหลานชาวกุร็อยช์ที่อ้างสิทธิ์เริ่มใช้นิสบะฮ์ 'กุเราะชี[1]
ประวัติ
แก้ต้นกำเนิด
แก้บรรพบุรุษของเผ่ากุร็อยช์คือฟิฮร์ อิบน์ มาลิก ซึ่งตามข้อมูลจากธรรมเนียมอาหรับ มีชื่อตามลำดับวงศ์ตระกูลแบบเต็ม ดังนี้: ฟิฮร์ อิบน์ มาลิก อิบน์ อันนัฎร์ อิบน์ กินานะฮ์ อิบน์ คุซัยมะฮ์ อิบน์ มุดริกะฮ์ อิบน์ อิลยาส อิบน์ มุฎ็อร อิบน์ นิซาร อิบน์ มะอัดด์ อิบน์ อัดนาน[3] นั่นทำให้ฟิฮร์อยู่ในเผ่ากินานะฮ์และสืบเชื้อสายที่มีต้นตอจากอัดนาน บิดากึ่งตำนานของ "ชาวอาหรัยตอนเหนือ"
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้บรรณานุกรม
แก้- Donner, Fred M. (1981). The Early Islamic Conquests. Princeton: Princeton University Press. ISBN 9781400847877.
- Fück, J. W. (1965). "Fidjār". ใน Lewis, B; Pellat, Ch; Schacht, J. (บ.ก.). Encyclopedia of Islam. Vol. 2 C–G (2nd ed.). Leiden: Brill. pp. 883–884. ISBN 90-04-07026-5.
- Hawting, G. R. (2000) [1986]. The First Dynasty of Islam: The Umayyad Caliphate AD 661–750 (2nd ed.). London: Routledge. ISBN 0-415-24073-5.
- Peters, F. E. (1994). Mecca: A Literary History of the Muslim Holy Land. Princeton: Princeton University Press. ISBN 0-691-03267-X.
- Watt, W. Montgomery (1986). "Kuraysh". Encyclopedia of Islam. Vol. V: Khe–Mahi (New ed.). Leiden and New York: Brill. pp. 434–435. ISBN 90-04-07819-3.