กาชาดเยอรมัน

สภากาชาดแห่งชาติในประเทศเยอรมนี

กาชาดเยอรมัน (เยอรมัน: Deutsches Rotes Kreuz, เสียงอ่านภาษาเยอรมัน: [ˈdɔʏtʃəs ˈʁoːtəs kʁɔʏts]) หรือ เดแอร์คา (DRK) เป็นสภากาชาดแห่งชาติในประเทศเยอรมนี

กาชาดเยอรมัน
Deutsches Rotes Kreuz
เครื่องหมายกาชาดเยอรมัน
ก่อตั้งค.ศ. 1864; 160 ปีที่แล้ว (1864)
ผู้ก่อตั้งดร.อาร็อน ซิลเวร์มัน
ประเภทความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
สถานะตามกฎหมายยังคงอยู่
สํานักงานใหญ่เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
สมาชิก
4 ล้านคน
ภาษาทางการ
เยอรมัน

ด้วยสมาชิก 4 ล้านคน[1] กาชาดเยอรมันจึงเป็นสภากาชาดที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก กาชาดเยอรมันให้บริการที่หลากหลายทั้งในและนอกประเทศเยอรมนี กาชาดเยอรมันให้บริการโรงพยาบาล 52 แห่ง, การดูแลผู้สูงอายุ (สถานพยาบาลกว่า 500 แห่ง และเครือข่ายการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ), การดูแลเด็กและเยาวชน (เช่น โรงเรียนอนุบาล 1,300 แห่ง, บริการด้านสังคมสำหรับเด็กอย่างเต็มรูปแบบ) กาชาดเยอรมันยังให้บริการโลหิต 75 เปอร์เซ็นต์ในเยอรมนี และ 60 เปอร์เซ็นต์ของบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศเยอรมนี เช่นเดียวกับการฝึกอบรมการปฐมพยาบาล นอกจากนี้ สำนักงานใหญ่ของกาชาดเยอรมันให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (การจัดการภัยพิบัติและความช่วยเหลือด้านการพัฒนา) ในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก[2]

สมาคมอาสาสมัครของกาชาดเยอรมัน แก้

สมาชิกกาชาดที่สมัครใจส่วนใหญ่ดำเนินงานอยู่เป็นส่วนหนึ่งของสมาคมอาสาสมัครทั้งห้าของกาชาดเยอรมัน

ประวัติ แก้

การก่อตัวและช่วงปีแรก แก้

 
นายพล คูร์ท ฟ็อน ฟูเอิล ประธานคณะกรรมการกลางของสภากาชาดแห่งชาติเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
 
นายพล ฟ็อน ฟูเอิล ประธานคณะกรรมการกลางของสภากาชาดแห่งชาติเยอรมัน
 
ตัวอย่างในท้องที่ก่อน ค.ศ. 1919

ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1864 โดย ดร.อาร็อน ซิลเวอร์มัน แห่งโรงพยาบาลชารีเทที่เบอร์ลิน กาชาดเยอรมันเป็นองค์การให้ความช่วยเหลือพลเรือนโดยสมัครใจ ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากอนุสัญญาเจนีวาใน ค.ศ. 1929

นายพล คูร์ท ฟ็อน ฟูเอิล ได้เป็นประธานคณะกรรมการกลางของสภากาชาดแห่งชาติเยอรมันในช่วงมหาสงคราม[3][4]

 
โปสเตอร์สงครามการรับสมัครกาชาดเยอรมัน

หนึ่งในเงื่อนไขของสนธิสัญญาแวร์ซายทำให้กาชาดเยอรมันไม่สามารถมีส่วนร่วมในเรื่องการทหาร เป็นผลให้ตลอดเวลาสาธารณรัฐไวมาร์ภายใต้การนำของโยอาคิม ฟ็อน วินเทอร์เฟ็ลท์-เม็นเค็น กาชาดเยอรมันได้กลายเป็นองค์กรระดับชาติที่เน้นสวัสดิการสังคม[5]

ยุคนาซีเยอรมนี แก้

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1933 วิลเฮ็ล์ม ฟริค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของไรซ์นาซีได้กล่าวกับวินเทอร์เฟ็ลท์-เม็นเค็น อย่างชัดเจนว่านโยบายนี้จะไม่มีผลบังคับใช้อีกต่อไป; ซึ่งกาชาดเยอรมันได้คาดว่าจะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนกองกำลังติดอาวุธในความขัดแย้งในอนาคตแทน หลังจากนั้นไม่นาน กาชาดเยอรมันได้รับแจ้งว่าหัวหน้าของเหล่าทหารแพทย์เอ็สอา ดร.เพาล์ ฮอชไอเซิน ได้รับมอบหน้าที่รับผิดชอบในองค์กรพยาบาลโดยสมัครใจ

วันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1933 ฟริคได้รับเชิญให้ไปพูดในงานวันกาชาด เขาประกาศว่า:

"กาชาดเป็นสิ่งที่เหมือนจิตสำนึกของคนในชาติ ... ร่วมกับชาติ กาชาดพร้อมที่จะทุ่มเทพลังทั้งหมดเพื่อเป้าหมายอันสูงส่งของท่านผู้นำ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ของพวกเรา"[6]

กาชาดเยอรมันสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว แน่นอนว่าวินเทอร์เฟ็ลท์-เม็นเคิน นั้นต่อต้านระบบของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามาโดยตลอด[7] ส่วนสันนิบาตกรรมกรสะมาริตัน ซึ่งเป็นองค์กรด้านมนุษยธรรมฝ่ายซ้าย เป็นคู่แข่งที่ไม่เป็นที่พอใจของกาชาดเยอรมันมาโดยตลอด[8] ฮอชไอเซินได้กำหนดอย่างรวดเร็วว่าควรรับช่วงต่อโดยกาชาดเยอรมัน ในทำนองเดียวกัน กาชาดเยอรมันได้เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเพื่อกำจัดสมาชิกฝ่ายซ้าย และในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1933 ก็มีมติว่าควรนำ "กฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูวิชาชีพข้าราชการ" ของนาซีมาใช้และไล่พนักงานชาวยิวออก

อย่างไรก็ตาม กาชาดเยอรมันยังคงเป็นสมาชิกของขบวนการกาชาด และประเทศเยอรมนียังคงเป็นผู้ลงนามในอนุสัญญาเจนีวา ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะใช้ "ไกลช์ชัลทุง" ในระดับเดียวกันกับกาชาดเยอรมันเช่นเดียวกับองค์กรอื่น ๆ ทัศนคติของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศที่มีต่อการกีดกันชาวยิวของกาชาดเยอรมันต่อมาได้แสดงออกในจดหมายที่เขียนโดยมักซ์ ฮูเบอร์ ใน ค.ศ. 1939 ตามที่เขากล่าว ภาระหน้าที่หลักของการปฏิบัติอย่างเป็นกลางตามที่คาดหวังไว้ในอนุสัญญาเจนีวาคือต่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของสงคราม ไม่ใช่ต่อผู้ช่วยเหลือ เขาแย้งว่าเนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ที่ขัดแย้งกับกฎหมายของประเทศ จึงควรใช้แนวทางที่ยืดหยุ่นดีกว่าที่จะเสี่ยงต่อการสลายการเคลื่อนไหวของสภากาชาดสากล[9]

แม้จะมีความภักดีต่อระบอบการปกครองของวินเทอร์เฟลท์-เม็นเคิน แต่พวกเขาก็ไม่ได้รับการตอบสนองและมีการหาสิ่งทดแทน ประธานาธิบดีฮินเดินบวร์คสามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ และได้เลือกเจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา ผู้เป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย แทนที่จะเป็นโฮไคเซิน ซึ่งเจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ได้ย้ายจากอังกฤษไปเยอรมนีเมื่อพระชนมายุ 15 พรรษา โดยต่อมาได้รับหน้าที่เป็นนายพลในกองทัพบกเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รวมถึงได้สนับสนุนขบวนการพวกฝ่ายขวาโดยทั่วไปเป็นเวลานาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อฮิตเลอร์ ซึ่งพระองค์ได้เป็นประธานกิตติมศักดิ์ของเหล่ายานยนต์สังคมนิยมแห่งชาติ

เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท กลายเป็นประธานกาชาดเยอรมันในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1933 ในขณะที่ฮอชไอเซินกลายเป็นผู้ทำการแทนพระองค์ ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลยที่พวกเขาทำงานร่วมกันได้ไม่ดี ตามมาด้วยการแย่งชิงอำนาจโดยทั่วไปของนาซี ซึ่งในที่สุดฮอชไอเซินก็สามารถถือสิทธิ์อำนาจของเขาได้ – โดยมีแอ็นสท์-โรแบร์ท กราวิทซ์ แพทย์ชั้นนำของเอ็สเอ็สเท่านั้นที่จะถูกขับออกไปในช่วงต้น ค.ศ. 1937 กระทั่งในตอนท้ายของ ค.ศ. 1938 กาชาดเยอรมันได้เข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การสวัสดิการสังคมของกระทรวงมหาดไทย และกลายเป็นหน่วยงานของนาซีโดยพฤตินัย ซึ่งนำโดยกราวิทซ์ในตำแหน่ง 'รักษาการประธาน' โดยมีอ็อสวัลท์ โพล เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร[10] ซึ่งในขั้นตอนนี้ไม่ต้องสงสัยเลยว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ แม้ว่าเจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท จะประทับในตำแหน่งจนถึง ค.ศ. 1945 เนื่องจากพระองค์สัมพันธ์กับราชวงศ์ในยุโรปและพูดภาษาอังกฤษได้ดี พระองค์จึงเป็นบุคคลที่มีประโยชน์สำหรับกาชาดเยอรมัน แต่กราวิทซ์นั้นแตกต่างออกไป – เขาจะเข้าร่วมการประชุมกาชาดระหว่างประเทศในชุดเครื่องแบบเอ็สเอ็ส[11] กราวิทซ์ใช้แนวทางที่รุนแรงในงานของเขา เขาได้แนะนำสายการบังคับบัญชาตามลำดับชั้นเข้าสู่กาชาดเยอรมัน และจัดให้มี "ตัวแทน" ที่ใหญ่โตและภูมิฐานคนใหม่- อาคารประธานที่จะสร้างขึ้นในพ็อทสดัม-บาเบ็ลสแบร์ค พร้อมด้วยระเบียงที่สามารถกล่าวสุนทรพจน์ได้[12] แนวคิดในอุดมคติของเขาสำหรับกาชาดเยอรมันคือ "โครงสร้างที่ดีต่อสุขภาพซึ่งจะเข้ากับกฎแห่งชีวิตในระบอบชาติสังคมนิยมไรช์ที่สาม"[13]

ในช่วงหลายปีหลังจากการยึดครองของนาซี เช่นเดียวกับการนำเอาการแสดงความเคารพและสัญลักษณ์ของนาซีมาใช้ กาชาดเยอรมันได้มุ่งเสนออุดมการณ์นาซีในการศึกษาของพวกเขา ทีมกู้ภัยได้รับการฝึกด้านการปฏิบัติการทางทหาร, แนวคิดพื้นฐานของลัทธิสังคมนิยมแห่งชาติ, พันธุศาสตร์, การรักษาอนามัยทางเชื้อชาติ และนโยบายด้านประชากรศาสตร์ เจ้าหน้าที่อาวุโสเพิ่มเติม เช่น แพทย์, พยาบาล, และผู้จัดการ ได้รับการศึกษาด้านนโยบายด้านประชากรศาสตร์, ประวัติศาสตร์ทางเชื้อชาติ, สุขอนามัยทางเชื้อชาติ, ชีววิทยาของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และพื้นฐานของพันธุกรรม[14] เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการทำสงคราม กาชาดเยอรมันมุ่งเน้นไปที่การฝึกผู้คนในการจัดการกับการโจมตีทางอากาศและการโจมตีด้วยแก๊ส รวมถึงจัดให้มีการฝึกซ้อมร่วมกับตำรวจและหน่วยดับเพลิง[15]

ยุคหลังสงครามจนถึงปัจจุบัน แก้

หลังความพ่ายแพ้ของนาซีเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้ออกกฎหมายพิเศษห้ามพรรคนาซีและทุกเหล่าทัพของพรรค คำพิพากษาการขจัดนาซีนี้รู้จักกันในชื่อ "กฎหมายหมายเลขห้า" โดยได้ยุบกาชาดเยอรมัน เช่นเดียวกับทุกองค์การที่เชื่อมโยงกับพรรคนาซี องค์การสวัสดิการสังคม รวมทั้งสภากาชาดเยอรมัน จะต้องจัดตั้งขึ้นใหม่ในช่วงการฟื้นฟูหลังสงคราม ทั้งของประเทศเยอรมนีตะวันตก และสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี

สภากาชาดเยอรมันในเยอรมนีตะวันตกได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1952 ส่วนในประเทศเยอรมนีตะวันออก ด็อยเช็สโรเท็สคร็อยซ์แดร์เดเดแอร์ ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1952 และได้รับการยอมรับจากสภากาชาดสากลเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1954 ซึ่งกาชาดตะวันออกได้ออกนิตยสารชื่อด็อยเช็สโรเท็สคร็อยซ์ (กาชาดเยอรมัน) ส่วนอัลเบิร์ท ชไวท์เซอร์ ได้กลายเป็นบุคคลตัวอย่าง ทั้งนี้ สถานะของกาชาดเยอรมันตะวันออกในฐานะหน่วยงานแยกต่างหากสิ้นสุดเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1991 เมื่อรวมกับกาชาดเยอรมันของอดีตเยอรมนีตะวันตก

ประธานสภากาชาดเยอรมัน แก้

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นายพล คูร์ท ฟ็อน ฟูเอิล เป็นประธานคณะกรรมการกลางของสภากาชาดแห่งชาติเยอรมัน[16][17] และตั้งแต่ ค.ศ. 1921 สมาคมดังกล่าวได้มีประธานดังต่อไปนี้:

ลำดับ ภาพ ประธาน เข้ารับตำแหน่ง ออกจากตำแหน่ง เวลาอยู่ในตำแหน่ง
1Winterfeldt-Menkin, Joachimโยอาคิม ฟ็อน วินแทร์เฟ็ลด์-เมนคิน
(ค.ศ. 1865–ค.ศ. 1945)
ค.ศ. 1921ค.ศ. 193311–12 ปี
2Gotha, Carl-Eduardเจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
(ค.ศ. 1884–ค.ศ. 1954)
ธันวาคม ค.ศ. 1933ค.ศ. 194511–12 ปี
3Gessler, Ottoอ็อทโท เก็สเลอร์
(ค.ศ. 1875–ค.ศ. 1955)
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ค.ศ. 1950ค.ศ. 19521–2 ปี
4Weitz, Heinrichไฮน์ริช ไวทซ์
(ค.ศ. 1890–ค.ศ. 1962)
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ค.ศ. 1952ค.ศ. 19618–9 ปี
5Lex, Hansฮันส์ ริทเทอร์ ฟ็อน เล็คซ์
(ค.ศ. 1893–ค.ศ. 1970)
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ค.ศ. 1961ค.ศ. 19675–6 ปี
6Bargatzky, Walterวัลเทอร์ บาร์กัทซคี
(ค.ศ. 1910–ค.ศ. 1998)
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ค.ศ. 1967ค.ศ. 198214–15 ปี
7Sayn-Wittgenstein-Hohensteinโบโท พรินทซ์ ซู ไซน์-วิทเกินชไตน์-โฮเฮ็นชไตน์
(ค.ศ. 1927–ค.ศ. 2008)
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ค.ศ. 1982ค.ศ. 199411–12 ปี
8Ipsen, Knutคนุท อิพเซิน
(เกิด ค.ศ. 1935)
ค.ศ. 1994ค.ศ. 20038–9 ปี
9Seiters, Rudolfรูด็อล์ฟ ไซเทอส์
(เกิด ค.ศ. 1937)
พฤศจิกายน ค.ศ. 200330 พฤศจิกายน ค.ศ. 201714 ปี
10Hasselfeldt, Gerdaแกร์ดา ฮัสเซ็ลเฟ็ลท์
(เกิด ค.ศ. 1950)
1 ธันวาคม ค.ศ. 2017ดำรงตำแหน่งอยู่6 ปี

เลขาธิการสภากาชาดเยอรมัน แก้

กาชาดเยอรมันจนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง:[18]

ประเทศเยอรมนีตะวันตก และรวมเยอรมนี
ประเทศเยอรมนีตะวันออก
  • ค.ศ. 1953–1954: ดร. เม็ลมัค
  • ค.ศ. 1954–1960: ฮันส์ ชโวเบิล
  • ค.ศ. 1960–1966: วัลเดอมาร์ เรอริชท์
  • ค.ศ. 1966–1990: โยฮันเนิส เฮ็งสท์
  • ค.ศ. 1990: ดร. คาร์ล-ไฮนทซ์ บอร์วาร์ท

อ้างอิง แก้

การอ้างอิง แก้

  1. Kreuz, Deutsches Rotes (2019-05-17). "A self-portrayal of the Red Cross". DRK e.V. (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-29. สืบค้นเมื่อ 2020-01-23.
  2. ""Where we work", article on the GRC homepage". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-03. สืบค้นเมื่อ 2019-06-09.
  3. "Pursuit of an 'Unparalleled Opportunity'". www.gutenberg-e.org. สืบค้นเมื่อ 2019-06-11.
  4. "Pursuit of an 'Unparalleled Opportunity'". www.gutenberg-e.org. สืบค้นเมื่อ 2019-06-11.
  5. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 21.
  6. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 32.
  7. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 51.
  8. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 34-38.
  9. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 91, footnote 15.
  10. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 152.
  11. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 104.
  12. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 172-175.
  13. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 131.
  14. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 115.
  15. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 116.
  16. "Coordinating War Prisoner Relief: The American YMCA Expands WPA Work in Germany". www.gutenberg-e.org. สืบค้นเมื่อ 2016-06-16.
  17. "Pursuit of an 'Unparalleled Opportunity'". www.gutenberg-e.org. สืบค้นเมื่อ 2016-06-16.
  18. "DRK Bad Lauterberg". www.drk-lauterberg.de. สืบค้นเมื่อ 2016-06-16.[ลิงก์เสีย]

บรรณานุกรม แก้

  • Morgenbrod, Birgitt; Merkenich, Stephanie (2008). Das Deutsche Rote Kreuz unter der NS-Diktatur 1933-1945 (ภาษาเยอรมัน). Paderborn: Verlag Ferdinand Schöningh. ISBN 978-3506765291.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้