กัญชาในประเทศไทย
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
กัญชาเคยเป็นสารเสพติดประเภท 5 ภายใต้พระราชบัญญัติยาเสพติด พ.ศ. 2522 อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากส่วนของกัญชาที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด ไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกไกลที่มีกฎหมายกัญชาทางการแพทย์ใน พ.ศ. 2561 ต่อมาใน พ.ศ. 2565 ไทยถอดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการควบคุม
ประวัติศาสตร์
แก้ดูเหมือนมีการนำกัญชาเข้าสู่ประเทศไทยจากประเทศอินเดีย โดยอ้างหลักฐานจากความคล้ายของชื่อไทยกับคำว่า गांजा (ganja) ในภาษาฮินดี[1] เดิมกัญชาใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนประกอบอาหาร เครื่องเทศ ยาและเป็นแหล่งของเส้นใย[2]
กัญชาเป็นสมุนไพรพื้นบ้านหลายศตวรรษก่อนถูกห้ามในคริสต์ทศวรรษ 1930 ทราบกันว่าผู้ใช้แรงงานใช้กัญชาเป็นยาคลายกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าใช้เพื่อบรรเทาการเจ็บครรภ์ของหญิงได้[3]
พระราชบัญญัติกัญชา พ.ศ. 2477 กำหนดให้การครอบครอง ขายและใช้กัญชาเป็นความผิดตามกฎหมาย[4] กฎหมายอีกสองฉบับที่มีความสำคัญ ได้แก่ พระราชบัญญัติยาเสพติด พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518[5]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคภูมิใจไทยเสนอนโยบายกัญชาเสรี มีใจความว่า "ภูมิใจไทยสนับสนุนการปลูกกัญชาเพื่อใช้ในครัวเรือน หากเหลือจึงขาย โดยรัฐจะเป็นคนรับซื้อ และดูแลพื้นที่การปลูกโดยการซื้อขายต้องผ่านรัฐ ไม่สามารถซื้อขายได้โดยตรง และรัฐจะอุดหนุนให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถมาร่วมกันคิดพัฒนาทำวิจัยกัญชาด้วย"[6]
ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้กัญชาและกัญชงยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เพียงแต่ส่วนของกัญชาและกัญชงที่ได้จากการปลูกหรือผลิตในประเทศ ได้แก่ ใบที่ไม่ติดกับช่อดอก กิ่ง ก้าน ลำต้น เปลือก ราก และ เส้นใย รวมถึงสารสกัดที่มี CBD เป็นส่วนประกอบและกากที่เหลือจากการสกัด ซึ่งต้องมี THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 โดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การศึกษาวิจัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอื่น ๆ ได้ ประชาชนสามารถใช้ส่วนต่าง ๆ ของกัญชาที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดดังกล่าว ไปประกอบอาหาร ทำยารักษาโรค เป็นต้น ส่วนการนำเข้ากัญชาสามารถทำได้ โดยขออนุญาตเป็นยาเสพติด ยกเว้น เปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง และเส้นใยแห้ง ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดตามประกาศนี้[7][8]
วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ได้มีการเสนอขึ้นทะเบียน "กัญชาไทย" เป็นมรดกโลก[9]
ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขถอดกัญชาและกัญชงจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภท 5[10]
การวางระเบียบ
แก้ก่อนการถอดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด
แก้การครอบครอง การเพาะปลูกและการขนส่ง (นำเข้า/ส่งออก) กัญชาขนาดไม่เกิน 10 กิโลกรัมอาจมีโทษสูงสุดจำคุก 5 ปี หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ การครอบครอง การเพาะปลูกและการขนส่งกัญชาตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไปมีโทษจำคุก 2 ถึง 15 ปี หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ที่ถูกจับฐานครอบครองกัญชาปริมาณเล็กน้อยมักได้รับโทษปรับมากกว่าจำคุก ตำรวจยาเสพติดมองว่ายาบ้า (เมตแอมเฟตามีน) เป็นปัญหาร้ายแรงกว่า[2]
พบว่ากัญชามีขายอย่างเปิดเผยในบาร์และร้านอาหารในบางพื้นที่ของประเทศ[11] ในพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวพลุกพล่านพบกัญชาได้ทั่วไป ธุรกิจขายสินค้า "ความสุข" ซึ่งบรรจุกัญชา ผู้ค้ากัญชาบางครั้งทำงานกับตำรวจซึ่งไปรีดไถเอาสินบนกับลูกค้า กระนั้น นักท่องเที่ยวหลายคนลงเอยด้วยโทษจำคุกแม้ประเทศมีทัศนะผ่อนปรนต่อกัญชา[12]
กัญชาทางการแพทย์
แก้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบกัญชาทางการแพทย์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2561 นับเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกไกลที่มีกฎหมายดังกล่าว[13]
ทั้งนี้ ตาม "ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563" ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 กัญชาที่ได้จากการปลูกหรือผลิตในประเทศ ได้แก่ ใบที่ไม่ติดกับช่อดอก กิ่ง ก้าน ลำต้น เปลือก ราก และ เส้นใย รวมถึงสารสกัดที่มี CBD เป็นส่วนประกอบและกากที่เหลือจากการสกัด ซึ่งต้องมี THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 โดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การศึกษาวิจัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอื่น ๆ[14][15]
หลังการถอดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด
แก้หลังการถอดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด มีการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรว่า การประกาศว่ากัญชาไม่ใช่ยาเสพติดอาจขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ อาจส่งผลทำให้ไทยถูกจับตา เสียสิทธิทางยา หรืออาจเสียความร่วมมือในการปราบปรามยาเสพติด เป็นต้น[16]
หลังจากนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับ "กัญชาเสรี" มากมาย เช่น มีหลายคนได้รับผลกระทบทางสุขภาพหลังบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชาโดยผู้ขายไม่แจ้ง[17] ต่อมามีความพยายามเข้ามาควบคุมการใช้กัญชา เช่น ต้องขอใบอนุญาตก่อนขายเครื่องดื่มผสมกัญชา[18] ต้องระบุการผสมกัญชาในฉลาดให้ชัดเจน และห้ามขายแก่บุคคลอายุไม่ถึง 20 ปี[19]
เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 การพิจารณาร่างกฏหมายควบคุมการใช้กัญชา ถูกถอนออกจากวาระประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยการลงมติจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมาก โดยมีจำนวนผู้ลงมติ 346 คน, เห็นด้วยให้ถอนร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง พ.ศ…. ออกจากวาระประชุม 198 คน, ไม่เห็นด้วย 136 คน งดออกเสียง 12 คน ส่งผลให้การใช้กัญชาในประเทศไทย ยังอยู่ในภาวะสูญญากาศต่อไป[20]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Martin, Marie Alexandrine (January 1975). "Ethnobotanical Aspects of Cannabis in Southeast Asia". ใน Rubin, Vera (บ.ก.). Cannabis and Culture. Mouton Publishers. pp. 63–76. ISBN 9027976694. สืบค้นเมื่อ 2018-12-12.
- ↑ 2.0 2.1 Blair, Eric (2001-07-11). "History of Marijuana Use and Anti-Marijuana Laws in Thailand". Thailand Law Forum. สืบค้นเมื่อ 2018-12-12.
- ↑ Kapoor, Kanupriya; Thepgumpanat, Panarat (2018-12-12). "Weeding out foreigners: strains over Thailand's legalization of marijuana". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2018-12-12.
- ↑ "พระราชบัญญัติกันชา พุทธศักราช ๒๔๗๗" (PDF). Royal Thai Government Gazette. 52: 339–343. 5 May 1935. สืบค้นเมื่อ 6 December 2016.
- ↑ "Criminal Drug Offences in Thailand". Siam Legal. สืบค้นเมื่อ 2018-12-12.
- ↑ ""กัญชา"ปมร้อน"ขู่ถอนตัว" ลุ้นส.ว.คว่ำนโยบาย"ภูมิใจไทย"". กรุงเทพธุรกิจ. 17 June 2022. สืบค้นเมื่อ 4 August 2022.
- ↑ "ลงราชกิจจาแล้ว ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปลดล็อกทุกส่วนของกัญชา กัญชง พ้นยาเสพติด ยกเว้น ช่อดอก และเมล็ดกัญชา พร้อมชูเป็นพืชเศรษฐกิจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-08. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
- ↑ "ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563" (PDF). Royal Thai Government Gazette. 52: 339–343. 14 December 2020. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.
- ↑ เสนอขึ้นทะเบียน "กัญชาไทย" เป็นมรดกโลก
- ↑ ปลดล็อกกัญชา เริ่มวันนี้ 9 มิ.ย. 65 ทำอะไรแล้วไม่ผิดกฎหมายบ้าง
- ↑ "Best Places To Smoke Or Buy Weed In Thailand". stonercircle.net.แม่แบบ:DL
- ↑ Rodgers, Greg (2018-05-22). "Drugs in Thailand". tripsavvy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-14. สืบค้นเมื่อ 2018-12-12.
- ↑ Paddock, Richard C. (26 December 2018). "Thailand to Allow Medical Marijuana, a First in Southeast Asia". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 26 December 2018.
- ↑ "ลงราชกิจจาแล้ว ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปลดล็อกทุกส่วนของกัญชา กัญชง พ้นยาเสพติด ยกเว้น ช่อดอก และเมล็ดกัญชา พร้อมชูเป็นพืชเศรษฐกิจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-08. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
- ↑ "ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563" (PDF). Royal Thai Government Gazette. 52: 339–343. 14 December 2020. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.
- ↑ "อนุทินแจง ไทยไม่ผิดกฎหมายโลก กรณี "เสรีกัญชา"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 4 August 2022.
- ↑ "แม่โพสต์อุทาหรณ์ ลูกเผลอกินบราวนี่กัญชา อาการหนักจนต้องส่งโรงพยาบาล". อมรินทร์ทีวี. 3 August 2022. สืบค้นเมื่อ 4 August 2022.
- ↑ "เตือน ! ร้านขายอาหาร "เครื่องดื่มผสมกัญชา" ต้องขอรับใบอนุญาต". กรุงเทพธุรกิจ. 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 4 August 2022.
- ↑ "อย.คุมเข้ม! ฉลากสินค้าผสม กัญชา-กัญชง ชี้ต้องมีข้อความเตือน อายุต่ำกว่า 20ปี ห้ามจำหน่าย". PPTV. สืบค้นเมื่อ 4 August 2022.
- ↑ "ถอนร่างกฎหมาย กัญชา กัญชง = เกิดสุญญากาศนานขึ้นเพื่อประโยชน์ของใคร? / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์". mgronline.com. 2022-09-16.