กะเพรา
กะเพรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum tenuiflorum) และมีชื่อสามัญว่า Holy basil, Sacred basil อยู่ในวงศ์ Lamiaceae เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 60-120 เซนติเมตร นิยมนำใบมาประกอบอาหารคือ ผัดกะเพรา กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และ กะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว
กะเพรา | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | แอสเทอริด Asterids |
อันดับ: | กะเพรา Lamiales |
วงศ์: | วงศ์กะเพรา Lamiaceae |
สกุล: | สกุลกะเพรา-โหระพา Ocimum L. |
สปีชีส์: | Ocimum tenuiflorum |
ชื่อทวินาม | |
Ocimum tenuiflorum L. | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ชื่อสามัญ
แก้กะเพรามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ[2]
- เชียงใหม่ - กอมก้อ, กอมก้อดง
- แม่ฮ่องสอน - ห่อกวอซู, ห่อตูปลู, อิ่มคิมหลำ
- กะเหรี่ยง - ห่อกวอซู, ห่อตูปลู
- เงี้ยว - อิ่มคิมหลำ
- ภาคกลาง - กะเพราขน, กะเพราขาว, กะเพราแดง (กลาง)
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - อีตู่ข้า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้เป็นไม้พุ่มเตี้ยความสูงประมาณ 0.3-1 เมตร ต้นค่อนข้างแข็ง แตกกิ่งก้านสาขามาก ก้านเป็นขน ก้านใบยาว รูปใบเรียว โคนใบรูดในลักษณะเรียวปลายมนรอบขอบใบเป็นหยัก พื้นใบด้านหน้าสีเขียว หรือแดงแก่กว่าด้านหลัง ซึ่งมีกระดูกใบนูนเห็นได้ชัด ดอกออกเป็นช่อตั้งขึ้นคล้ายฉัตร ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาว เมล็ดอยู่ภายในกลีบ กลีบเลี้ยงสีม่วง ผลแห้งแล้วแตกออก เมื่อเมล็ดแก่สีดำ เมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือก
การนำไปใช้
แก้สำหรับการนำเอากะเพราไปปรุงอาหารนั้น ส่วนมากมักจะนิยมนำไปปรุงในอาหารไทยหลากหลายเมนูซึ่งจะต้องเลือกเฉพาะส่วนใบเท่านั้น สำหรับความแตกต่างระหว่างกะเพราขาวและกะเพราแดงนั้นจะเป็นเรื่องของกลิ่นที่มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดว่ากะเพราแดงจะมีกลิ่นฉุนแรงกว่า เวลาประกอบอาหารแล้วจะหอมแรงกว่า ขึ้นอยู่ที่ความชอบของผู้ทำว่าชอบใช้ใบกะเพราแบบไหน
สรรพคุณ
แก้- ใบ บำรุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้องอุจจาระ แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้โรคบิด และขับลม
- เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
- ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ[3]
- น้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกอก[4]
- ใบและกิ่งสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08-0.10 ซึ่งมีราคา 10,000 บาทต่อกิโลกรัม[5]
- แก้ลม ขับลม จุกเสียดในท้อง เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ใช้รักษาโรคของเด็ก คือเอาใบกะเพรามาตำละลายกับน้ำผึ้ง หยอดให้เด็กแรกเกิดกินเรียกว่าถ่ายขี้เถ้า หรือตำแล้วบีบเอาน้ำผสมกับมหาหิงค์ ทารอบสะดือ แก้ปวดท้องของเด็ก ปรุงเป็นยาผงส่วนมากจะใช้เฉพาะใบ รากแห้งชงกับน้ำร้อนดื่มแก้ธาตุพิการได้ดี เป็นยากันยุง และใบกับดอกผสมปรุงอาหาร[6]
- เป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลม เกิดจากน้ำมันหอมระเหย และสาร Eugenol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "The Plant List: A Working List of All Plant Species". สืบค้นเมื่อ 13 January 2015.
- ↑ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 1 พฤษภาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 สิงหาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2007.
- ↑ http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=69778&NewsType=2&Template=1
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2010.
- ↑ "กะเพราแดง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2015.
- ↑ พินิจ จันทร (16 กุมภาพันธ์ 2022). "สมุนไพรพิกัดไทย (2)". เดอะไทยเพรส.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Ocimum tenuiflorum