กองกำลังเฉพาะกิจโอดิน

กองกำลังเฉพาะกิจโอดิน (อังกฤษ: Task Force ODIN) เป็นชื่อตัวย่อสำหรับสังเกตการณ์, ตรวจจับ, พิสูจน์ และต่อต้าน เป็นกองพันแผนกการบินทหารบกสหรัฐกองทัพบกสหรัฐที่ได้รับการก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2006 เพื่อดำเนินการลาดตระเวน, เฝ้าระวัง และการได้มาซึ่งเป้าหมาย (RSTA) เพื่อต่อสู้กับผู้ปฏิบัติการก่อความไม่สงบของระเบิดแสวงเครื่องในประเทศอิรัก

แผ่นปะชุดเครื่องแบบกองกำลังเฉพาะกิจโอดิน

หน่วยนี้ได้รับการก่อตั้งที่ฟอร์ตฮูด รัฐเท็กซัส และได้กรีธาพลครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006 บทความของกองทัพบกกล่าวว่าหน่วยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนอง "ความต้องการที่สำคัญในการ 'ชนะหลังทาง' โดยใช้ทรัพย์สินการบินกองทัพบก เพื่อจับตามองอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสำหรับระเบิดแสวงเครื่อง" กองทัพบกสหรัฐได้จัดตั้งกองกำลังเฉพาะกิจโอดินในฐานะโครงการความสามารถในการตอบสนองที่รวดเร็วซึ่งพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงมีผลบังคับใช้ในการกำหนดทิศทางของกระทรวงกลาโหมในการจัดตั้งโครงการกองทัพอากาศเสรีและภารกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไอเอสอาร์[1]

โอดินเป็นหน่วยเดียวของกองทัพบกที่ดำเนินการบินยานพาหนะทางอากาศไร้คนขับเอ็มคิว-1บี วอริเออร์-แอลฟา สร้างโดยระบบการบินเจเนอรัลอะตอมมิก ยานพาหนะทางอากาศไร้คนขับลูกผสมมีแพ็คเกจเซ็นเซอร์ผสมผสานเซ็นเซอร์ชนิดให้แสงไฟฟ้าขั้นสูง รวมถึงระบบตรวจการณ์อินฟราเรด และเรดาร์ช่องเปิดสังเคราะห์พร้อมกับเครื่องวัดระยะทางด้วยแสงเลเซอร์และอุปกรณ์ชี้เป้าด้วยเลเซอร์ ต่อมาเป็นวงเป้าหมายสำหรับการโจมตีด้วยขีปนาวุธเฮลไฟร์และลูกระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์

เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2007 วอริเออร์-แอลฟา ใช้เวลาในการบินกว่า 6,000 ชั่วโมง และมีส่วนร่วมในการสังหารผู้ก่อความไม่สงบ 3,000 คนในอิรัก[1][2][3]

กองกำลังเฉพาะกิจได้ฝึกผู้ปฏิบัติการสำหรับใช้งาน, สำรอง และกองกำลังรักษาความมั่นคงแห่งชาติ นักวิเคราะห์เหล่านี้ทำงานกับหน่วยงานทุกประเภทรวมถึงหน่วยลับสุดยอดของกองทัพ[1][2][3]

กองกำลังเฉพาะกิจโอดินได้รับรางวัลยกย่องหน่วย (กองทัพบก) สำหรับการทำงานกับกองทหารราบที่ 25

กองทัพนี้ได้จัดตั้งกองกำลังพี่น้องคือกองกำลังเฉพาะกิจโอดิน-เอ ซึ่งเป็นหน่วยในอัฟกานิสถาน[4] หลังจาก "ปฎิบัติการรุ่งอรุณใหม่" (OND) กองกำลังเฉพาะกิจโอดินอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เปิดเผยชั่วคราวจนกว่าจะมีการเคลื่อนย้ายไปยังอัฟกานิสถานเพื่อรวมทั้งกองกำลังเฉพาะกิจโอดิน และกองกำลังเฉพาะกิจโอดิน-เอ เข้าด้วยกันในฐานะกองกำลังเฉพาะกิจโอดิน-อี ปฏิบัติการเสรีภาพยั่งยืน โดยมีหลายหน่วยงานย่อยในกองกำลังเฉพาะกิจ ได้แก่ ไฮไลต์เตอร์, เดสเซิร์ตเอาล์ และไนต์อีเกิล ต่อชื่อเสียงเล็กน้อย

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 กองกำลังเฉพาะกิจโอดินได้ทำการเปิดตัวเอ็มคิว-1บี วอริเออร์-แอลฟา ขีปนาวุธต่อสู้ครั้งแรก[5]

อ้างอิงถึงนายพล เดวิด เพเทรียส ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 เผยว่าในช่วง 90 วันก่อนหน้าในข้อมูลอัฟกานิสถานที่จัดทำโดยโอดิน ส่งผลให้มีการสังหารหรือจับกุมผู้นำสงครามที่แข็งข้อ 365 คน, กักตัวทหารราบผู้ก่อการกำเริบ 1,335 นาย และสังหารตอลิบานอีก 1,031 คน[6]

ณ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2019 แมกแอโรสเปซยังคงช่วยเหลือกองทัพสหรัฐในการต่อสู้กับตอลิบานที่ประเทศอัฟกานิสถาน ในฐานะส่วนหนึ่งของกองกำลังเฉพาะกิจโอดิน ภายใต้โครงการระบบลาดตระเวนและเฝ้าระวังระดับกลางของกองทัพบก (MARSS)[7]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Shanker, Thom (22 June 2008). "At Odds With Air Force, Army Adds Its Own Aviation Unit". New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 June 2008.
  2. 2.0 2.1 "Task Force ODIN Using Innovative Technology to Support Ground Forces". สืบค้นเมื่อ 21 January 2008.
  3. 3.0 3.1 http://www.flightglobal.com/articles/2007/06/18/214664/gaasi-flies-first-sky-warrior-uav.html
  4. Roosevelt, Ann, "The Need For Combat Aviation Continues, Increases, General Says เก็บถาวร 2012-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Defense Daily, 1 August 2008.
  5. "Unmanned Aerial System First to Fire Missiles in Combat". Multinational Force - Iraq Official Website. 4 March 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-30. สืบค้นเมื่อ 24 August 2009.
  6. Ackerman, Spencer, "Drones Surge, Special Ops Strike In Petraeus Campaign Plan", Wired News, 18 August 2010.
  7. https://www.foxnews.com/tech/drone-and-attack-helicopter-task-force-hunts-taliban