กล้องโทรทรรศน์แบบริตชี–เครเตียง

กล้องโทรทรรศน์แบบริตชี–เครเตียง (อังกฤษ: Ritchey–Chrétien telescope) เป็นกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงประเภทหนึ่งที่จอร์จ วิลลิส ริตชี และอ็องรี เครเตียง เป็นผู้คิดค้นขึ้น

กล้องโทรทรรศน์แบบริตชี–เครเตียงกล้องแรก ขนาด 60 ซม.
แผนภาพเส้นทางเดินของแสง

ประวัติการคิดค้น แก้

จอร์จ วิลลิส ริตชี มีความสนใจดาราศาสตร์ตั้งแต่ยังเด็ก เนื่องจากพ่อของเขาทำงานให้แก่บริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรและเป็นแฟนตัวยงของดาราศาสตร์[1]

กล้องโทรทรรศน์แบบนิวตันที่ใช้กระจกเงาทรงพาราโบลาบานเดียวมีมุมมองที่ไม่กว้าง ส่วนกล้องโทรทรรศน์แบบกัสแกร็งที่มีกระจกเงาทุติยภูมิทรงไฮเพอร์โบลาแบบนูนก็เช่นกัน[2] ริตชีได้ร่วมมือกับอ็องรี เครเตียง เพื่อสร้างกล้องโทรทรรศน์ที่มีมุมมองกว้างซึ่งพัฒนาขึ้นมาจากกล้องโทรทรรศน์แบบกัสแกร็งเดิม โดยพยายามปรับแก้ความคลาดทรงกลมและความคลาดแบบโคมาที่ผิวของกระจกเงาทั้ง 2 บาน โดยทำให้พื้นผิวเป็นแบบคลาดทรงกลมอันดับสูงที่ใกล้เคียงพื้นผิวทรงไฮเพอร์โบลาทั้งบนกระจกเงาปฐมภูมิและกระจกเงาทุติยภูมิ และใช้เลนส์ไร้ความคลาดทรงกลม ผลงานนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์

กล้องโทรทรรศน์ขนาด 102 ซม. ที่ติดตั้งที่หอดูดาวกองทัพเรือสหรัฐในปี 1934 เป็นกล้องโทรทรรศน์แบบริตชี–เครเตียงที่ริตชีเป็นผู้สร้างเอง ความยาวโฟกัสเป็น 680 ซม.[3] อย่างไรก็ตาม กล้องนี้มีความโค้งสนามมาก

โครงสร้าง แก้

กระจกเงาปฐมภูมิเป็นกระจกเงาเว้า ส่วนกระจกเงาทุติยภูมิเป็นกระจกเงานูน โดยทั้งสองกระจกเงามีรูปร่างคล้ายพื้นผิวทรงไฮเพอร์โบลา มีลักษณะคล้ายกับกล้องโทรทรรศน์แบบกัสแกร็ง แต่การปรับแก้ความคลาดนั้นแตกต่างกันมาก[3] เนื่องจากไม่มีความคลาดทรงกลมและความคลาดแบบโคมา ดังนั้นจึงคมชัดแม้ที่บริเวณริมขอบเขตการมองเห็น อย่างไรก็ตาม กล้องชนิดนี้ก็มีความโค้งสนามและความคลาดเอียงอย่างมาก

อ้างอิง แก้

  1. 吉田正太郎 (1988), 天文アマチュアのための望遠鏡光学・反射編, 誠文堂新光社, pp. 1–34, ISBN 978-4416288139
  2. 『増補天体写真テクニック』pp.26-32「望遠鏡のいろいろ」。
  3. 3.0 3.1 吉田正太郎 1988.