ความคลาดแบบโคมา

ความคลาดแบบโคมา (comatic aberration) คือความคลาดทางทัศนศาสตร์ที่เกิดจากการที่แสงที่ปล่อยออกมาจากจุดหนึ่งนอกแกนเชิงแสงไม่บรรจบกันที่จุดหนึ่งบนระนาบภาพ[1][2]

แบบจำลองความคลาดแบบโคมา
ตัวอย่างภาพที่มีความคลาดแบบโคมา

ความคลาดชนิดนี้เป็นหนึ่งในความคลาดไซเดิล เช่นเดียวกับ ความคลาดทรงกลม ความคลาดเอียง เอียง ความโค้งสนาม และ ความผิดรูป[1][2]

คำว่า coma เป็นคำภาษากรีกที่แปลว่า เส้นผม[1][2] เนื่องจากเมื่อถ่ายภาพฉากกลางคืนที่มีแหล่งกำเนิดแสงเป็นจุดกระจัดกระจาย ภาพจะเบลอโดยมีรอยที่ด้านหนึ่งถูกลากเป็นเส้นเหมือนเส้นผม[2] หรือ ดาวหาง [หมายเหตุ 1] จึงเป็นที่มาของชื่อ นอกจากนี้ยังทำให้ภาพหลุดโฟกัสผิดธรรมชาติอีกด้วย

ทางแก้ไข แก้

ความคลาดแบบโคมาจะถูกกำจัดอย่างสมบูรณ์เมื่อสามารถเติมเต็มเงื่อนไขไซน์ได้[2] โดยอาจทำได้โดยเพิ่มค่าเอฟ โดยที่ค่า ƒ6 ขึ้นไปความคลาดแบบโคมาอาจลดลงจนแทบจะละเลยไปได้[2]

หมายเหตุ แก้

  1. คำว่า comet ในภาษาอังกฤษที่หมายถึงดาวหางก็มีที่มาจากภาษากรีกคำเดียวกันนี้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 『天文アマチュアのための望遠鏡光学・屈折編』pp.161-202「対物レンズ」。
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 『天文アマチュアのための望遠鏡光学・反射編』pp.91-110「収差とその対策」。
  • 吉田正太郎 (1989). 天文アマチュアのための望遠鏡光学・屈折編. 誠文堂新光社. ISBN 4-416-28908-1.吉田正太郎 (1989). 天文アマチュアのための望遠鏡光学・屈折編. 誠文堂新光社. ISBN 4-416-28908-1.
  • 吉田正太郎 (1988). 天文アマチュアのための望遠鏡光学・反射編. 誠文堂新光社. ISBN 4-416-28813-1.吉田正太郎 (1988). 天文アマチュアのための望遠鏡光学・反射編. 誠文堂新光社. ISBN 4-416-28813-1.