กล้องโทรทรรศน์แบบนิวตัน

กล้องโทรทรรศน์แบบนิวตัน (Newtonian telescope หรือ Newtonian reflector) เป็น กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง ประเภทหนึ่งที่คิดค้นโดย ไอแซก นิวตัน[1] โดยที่ด้านหนึ่ง (ปลายสุด) ของลำกล้องเปิดโล่ง และฝั่งตรงข้าม (ก้นลำกล้อง) เป็นกระจกเงาปฐมภูมิซึ่งเป็นกระจกเงาเว้า[2] แล้วมีการวางกระจกเงาทุติยภูมิซึ่งเป็นกระจกเงาราบไว้ที่กลางลำกล้องเพื่อสะท้อนแสงเป็นมุมตั้งฉากไปยังส่วนหูกล้องแล้วผ่านเลนส์ใกล้ตาที่วางไว้นอกลำกล้องเพื่อทำการส่องมองจากตรงนั้น[2]

แผนภาพเส้นทางแสง ในรูปนี้ แสงของวัตถุมาจากด้านซ้าย

ภาพรวม แก้

กล้องโทรทรรศน์ชนิดนี้ตัวแรกซึ่งประดิษฐ์โดยไอแซก นิวตัน สร้างขึ้นใน ปี 1668 ในเวลานั้นกล้องโทรทรรศน์ชนิดนี้ได้รับความนิยมเนื่องจากประสิทธิภาพดีกว่ากล้องโทรทรรศน์แบบเค็พเพลอร์

กระจกเงาเว้า (ในอุดมคติ) คือทรงพาราโบลา แต่เนื่องจากถ้ารูรับแสงไม่ใหญ่และความยาวโฟกัสยาว ความแตกต่างจากทรงกลมจะน้อยมาก และการทำกระจกเงาให้เป็นทรงพาราโบลานั้นมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ดังนั้นจึงมักใช้กระจกเงาทรงกลมแทน[2]

"กระจกเงาทุติยภูมิ" เอียง 45 องศากับแกนเชิงแสง ดังนั้น จึงเรียกอีกอย่างว่า "กระจกเงาเอียง"[3] ซึ่งทำเป็นรูปวงรีที่จะมองเห็นเสมือนเป็นรูปวงกลมเมื่อมองจากภายในลำกล้อง[2]

ทั้งกระจกเงาปฐมภูมิและกระจกเงาทุติยภูมิเฉียงอาจทำโดยชุบด้วยโลหะ เช่น อะลูมิเนียม[2] หรือสำหรับผลิตภัณฑ์ระดับสูงอาจใช้ แก้วทนความร้อน เช่น ไพเรกซ์ ซึ่งมีการขยายตัวทางความร้อนต่ำ[3]

เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบที่ว่าไม่มี ความคลาดสี โดยทั่วไปเลนส์ใกล้ตาก็จะใช้แบบคุณภาพสูงที่มีความคลาดสีน้อย[2][3]

อ้างอิง แก้

  1. 『天体望遠鏡のすべて'81年版』pp.50-57「歴史的な望遠鏡の光学精度を推理する」。
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 『天体望遠鏡の作り方』pp.9-32「天体望遠鏡を作る楽しさ」。
  3. 3.0 3.1 3.2 『天体望遠鏡の作り方』pp.101-134「100mm反射型望遠鏡の作り方」。