กล้วยหิน หรือ กล้วยซาบา (Saba banana) เป็นกล้วยลูกผสมกลุ่ม (ABB) ต้นกำเนิดอยู่ที่ฟิลิปปินส์ ผลขนาดกลางถึงใหญ่ ป้อมสั้น เป็นเหลี่ยม เปลือกหนา สีเหลือง เนื้อผลสีขาวครีม เนื้อละเอียด ผลมีแกนกลาง รสหวาน เป็นกล้วยที่ใช้ทำอาหารแม้ว่าจะรับประทานดิบได้ เป็นกล้วยที่สำคัญในการปรุงอาหารฟิลิปปินส์ บางครั้งเรียกกล้วยการ์ดาบา (cardaba banana) ซึ่งอาจจะเป็นสายพันธุ์คล้ายกันที่เป็นกลุ่มย่อยของกล้วยหิน[1][2][2][3]

กล้วยหิน
ต้นกำเนิดลูกผสมMusa acuminata × Musa balbisiana
กลุ่มพันธุ์ปลูกABB Group
พันธุ์ปลูกSaba
ต้นกำเนิดฟิลิปปินส์
ผลกล้วยหิน
ช่อดอกกล้วยหิน

การจัดจำแนกและชื่อเรียก

แก้

กล้วยหินเป็นลูกผสมทริปพลอยด์ (ABB) ของ Musa balbisiana และ Musa acuminata.[4]

ชื่อเต็ม คือ Musa acuminata × balbisiana (ABB Group) 'Saba'. Synonyms ประกอบด้วย:

  • Musa × paradisiaca L. cultigroup Plantain cv. 'Saba'
  • Musa sapientum L. var. compressa (Blanco) N.G.Teodoro

กล้วยหินมีชื่อสามัญภาษาอังกฤษหลายชื่อ ได้แก่ กล้วยซาบา (saba) กล้วยการ์ดาบา (cardaba) กล้ายหวาน (sweet plantain) กล้วยแน่น (compact banana) และกล้วยมะละกอ (papaya banana) ชื่อในภาษาอื่นๆ ได้แก่ saba, sab-a, or kardaba ใน ภาษาฟิลิปิโน; biu gedang saba ใน ภาษาชวา; pisang nipah หรือ pisang abu ใน ภาษามลายู; dippig ใน ภาษาอีโลกาโน; pisang kepok ใน ภาษาอินโดนีเซีย; และ opo-’ulu or dippig ใน ภาษาฮาวาย.[2][5]

กล้วยหินอยู่ในกลุ่มย่อยกล้วยหิน (ABB) ซึ่งรวมพันธุ์ที่คล้ายกันมากคือการ์ดาบา ทั้งสองพันธุ์เคยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม BBB และใช้ปรุงอาหารฟิลิปปินส์ได้หลายอย่าง โดยกล้วยการ์ดาบาเป็นที่นิยมในหมู่เกาะวิซายาและมินดาเนา กลุ่มย่อยนี้รวมพันธุ์ 'Benedetta' หรือ 'Inabaniko' และ 'Uht Kapakap' ใน ไมโครนีเซีย, 'Praying Hands' ใน ฟลอริดา, และ 'Ripping' ในฟิลิปปินส์[6]

 
กล้วยหินหั่น
 
กล้วยบาร์บีคิว อาหารริมถนนที่นิยมในฟิลิปปินส์ ทำจากกล้วยหินทอด เคลือบด้วยคาราเมล

อ้างอิง

แก้
  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2: ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544.หน้า 320
  1. FS dela Cruz Jr.; LS Gueco; OP Damasco; VC Huelgas; FM dela Cueva; TO Dizon; MLJ Sison; IG Banasihan; VO Sinohin & AB Molina, Jr. (2008). Farmers’ Handbook on Introduced and Local Banana Cultivars in the Philippines (PDF). Bioversity International. ISBN 9789719175186. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 2018-03-10.
  2. 2.0 2.1 2.2 Michel H. Porcher (May 17, 1998). "Multilingual Multiscript Plant Name Database: Sorting Musa cultivars". The University of Melbourne. สืบค้นเมื่อ January 18, 2013.
  3. L. Sequeira (1998). "Bacterial Wilt: The Missing Element in International Banana Improvement Programs". ใน Ph. Prior; C. Allen; J. Elphinstone (บ.ก.). Bacterial Wilt Disease: Molecular and Ecological Aspects. Springer. p. 9. ISBN 9783540638872.
  4. Michel H. Porcher; Prof. Snow Barlow (2002-07-19). "Sorting Musa names". The University of Melbourne. สืบค้นเมื่อ 11 January 2011.
  5. Koon-Hui Wang; Angela K. Kepler & Cerruti R.R. Hooks. "Brief Description of Banana Cultivars Available from the University of Hawaii Seed Program" (PDF). College of Tropical Agriculture and Human Resources, University of Hawai'i at Manoa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-26. สืบค้นเมื่อ June 29, 2011. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  6. Randy C. Ploetz; Angela Kay Kepler; Jeff Daniells & Scot C. Nelson (2007). Banana and plantain—an overview with emphasis on Pacific island cultivars (PDF). Species Profiles for Pacific Island Agroforestry. Bioversity International.