กฤตย์ รัตนรักษ์
กฤตย์ รัตนรักษ์ (เกิด 19 เมษายน พ.ศ. 2489) เป็นประธานกรรมการบริหารบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด และช่อง 7 เอชดี รวมถึงอดีตเจ้าของธนาคารกรุงศรีอยุธยา และอดีตสมาชิกวุฒิสภา
กฤตย์ รัตนรักษ์ ม.ว.ม., ป.ช. | |
---|---|
เกิด | 19 เมษายน พ.ศ. 2489 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์น นิวเม็กซิโก |
คู่สมรส | ใจสคราญ หิรัญพฤกษ์ (หย่า) ศรีสกุล พร้อมพันธุ์ (หย่า) |
บุตร | ชัชชน รัตนรักษ์ |
ประวัติแก้ไข
กฤตย์ รัตนรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้อง 6 คน มีน้องสาว 5 คน ปัจจุบันน้องสาว 4 คนอาศัยอยู่ต่างประเทศ [1] โดยที่คุณแม่ของเขา (ศศิธร รัตนรักษ์) อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร นิตยสารฟอบส์เคยกล่าวถึงตระกูลรัตนรักษ์ว่าเป็น "กลุ่มคนที่ลึกลับ"[2] และบุตรชายของกฤตย์ นายชัชชน รัตนรักษ์ ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่ไม่สาธารณะ[3]
ตระกูลรัตนรักษ์ถือเป็นตระกูลรุ่นบุกเบิกตระกูลหนึ่งของสังคมธุรกิจไทย[4] กฤตย์เป็นบุตรชายของชวน รัตนรักษ์ ผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ปูนซีเมนต์นครหลวง (ผู้ผลิตปูนอินทรี) และ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ (บีบีทีวี)[5] ด้วยความสามารถในการสร้างโครงข่ายธุรกิจขนาดใหญ่ด้วยตัวเองเช่นนี้ ทำให้ชวนได้รับการยกย่องในฐานะหนึ่งในนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จสูงสุดท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์ธุรกิจไทย[6] หลังจากชวนเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2536 กฤตย์จึงรับช่วงทางธุรกิจต่อ
การทำงานแก้ไข
ตระกูลรัตนรักษ์ถือเป็นหนึ่งในตระกูลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตระกูลหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทไทยหลากหลายบริษัท อาทิ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ปูนซีเมนต์นครหลวง, อลิอันซ์ อยุธยา, แม็ทชิ่ง แม็กซิไมซ์ โซลูชั่น, มีเดีย ออฟ มีเดียส์, อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) และยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบีบีทีวี[2]
กฤตย์เริ่มทำงานในธนาคารกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2515 ก่อนเลื่อนขึ้นเป็นประธานในปี พ.ศ. 2525 และเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ในปี พ.ศ. 2533 ในปี พ.ศ. 2536 เขาดำรงตำแหน่งประธานและประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ประธานบริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด, ประธานบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) และประธานบริษัท ศรีอยุธยา ประกันภัย [7] ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2540 กฤตย์ช่วยให้ธุรกิจที่อยู่ใต้การบริหารทั้งหมดผ่านพ้นวิกฤตต้มยำกุ้งได้สำเร็จ ส่งผลให้กลุ่มรัตนรักษ์ เป็นหนึ่งใน 8 ตระกูลนักธุรกิจชั้นนำในประเทศไทย จากที่เคยมีถึง 40 ตระกูล ให้ยังคงสามารถเป็นตระกูลมหาอำนาจทางธุรกิจตามการจัดอันดับในปี พ.ศ. 2552[8]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 กลุ่มรัตนรักษ์ได้ทำการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง โดยการขายส่วนของผู้ถือหุ้นที่กลุ่มถือหุ้นอยู่ให้แก่บริษัท Holderbank (ปัจจุบันคือบริษัท Holcim) แต่ข่าวที่เผยแพร่ผิดพลาดจากความเป็นจริงไปว่าเงินที่ได้จากขายหุ้นแก่ Holderbank นั้นใช้ระดมทุนเพื่อปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นของธนาคารกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ดี ข้อตกลงแสดงไว้อย่างชัดเจนในเงื่อนไขการขายหุ้นดังกล่าวว่าเงินทั้งหมดจากการขายหุ้น และรวมถึงทุนส่วนที่กลุ่มรัตนรักษ์ได้ลงเพิ่มเติมนั้นต้องลงกลับเข้าไปเป็นทุนในปูนซีเมนต์นครหลวงเท่านั้น ส่วนเงินทุนที่ทางกลุ่มได้ลงไปในการปรับโครงสร้างของธนาคารกรุงศรีอยุธยามาจากทุนสำรอง[9] ในปี พ.ศ. 2556 กลุ่มรัตนรักษ์ถือหุ้น 47% ในปูนซีเมนต์นครหลวง คิดเป็นมูลค่า 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตามราคาตลาด โดยไม่มีหนี้ที่เป็นสาระสำคัญใด ๆ ส่วน Holcim ถือหุ้นอยู่ 27.5% ของหุ้นทั้งหมด[10] ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2541 ก่อนการเข้าร่วมทุนกับ Holderbank กลุ่มรัตนรักษ์ถือหุ้นประมาณ 50%[11]
ในวิกฤติต้มยำกุ้ง ธนาคารไทยหลายแห่งต้องปิดกิจการหรือขายหุ้นให้ต่างชาติ กลุ่มรัตนรักษ์สามารถใช้กลไกการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นในธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวนอกจากจะช่วยให้กลุ่มสามารถรักษากิจการไว้ได้แล้ว ยังช่วยปรับปรุงการดำเนินงานของธนาคารต่อมาภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจอีกด้วย[12] ในปี พ.ศ. 2539 ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยามีมูลค่าหุ้นในตลาดรวมอยู่ที่ประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[13] ซึ่งได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ. 2557[14] สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคารของกลุ่มที่ลดลงจาก 35%[15] ไปเป็น 25%[10] ในปี พ.ศ. 2550 เพื่อดำเนินการตามกฎระเบียบการถือครองหุ้นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2551 การลดสัดส่วนการถือครองหุ้นในธนาคารกรุงศรีอยุธยาของกลุ่ม เป็นไปโดยการเข้ามาถือหุ้นของบริษัท GE Capital ซึ่งทางกลุ่มได้มอบหมายให้ดูแลการบริหารงานธนาคารในปี พ.ศ. 2550[16] ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2556 บริษัท GE Capital ได้ขายหุ้นในธนาคารกรุงศรีอยุธยาให้แก่ธนาคาร MUFJ ธนาคารสัญชาติญี่ปุ่น เนื่องจากการขาดทุนของบริษัท GE Capital เองในช่วงวิกฤติธนาคารในปี พ.ศ. 2551[17][18][10]
กลุ่มรัตนรักษ์ได้ผ่านวิกฤติการณ์หลายครั้งแต่ก็ยังคงสามารถดำรงสถานะหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด 5 อันดับในประเทศไทย [12] และเป็น 1 ใน 3 ตระกูลธนาคารที่มีอำนาจมากที่สุดในประเทศไทย ร่วมกับตระกูลโสภณพนิชของธนาคารกรุงเทพ และตระกูลล่ำซำของธนาคารกสิกรไทย[19]
การเมืองแก้ไข
ในปี พ.ศ. 2524 ด้วยอายุเพียง 35 ปี กฤตย์ ได้รับเลือกให้เป็นวุฒิสมาชิก ซึ่งถือเป็นวุฒิสมาชิกที่อายุน้อยที่สุดและดำรงตำแหน่งนาน 4 สมัย [20]
ข้อมูลส่วนตัวแก้ไข
กฤตย์ รัตนรักษ์ หย่า และมีบุตรชาย 1 คน คือ นายชัชชน รัตนรักษ์ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2515
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[21]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[22]
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Global Finance 600: The world's most powerful financial players". BNET Find Articles. 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2010. สืบค้นเมื่อ 2009-11-09.
- ↑ 2.0 2.1 Forbes Magazine. 18 July 1994. p. 162.
{{cite news}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ Business Report Thailand. January 2012. pp. 43–45.
{{cite news}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ Forbes Magazine. 18 July 1994. p. 176.
{{cite news}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ Hiscock (1997), p. 254
- ↑ "BANK OF AYUDHYA CHAIRMAN PASSES AWAY". Bangkok Post. 4 August 1993.
- ↑ "BAY gears up for new era as Krit steps down". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มกราคม 2007. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009.
- ↑ "How Thailand's wealthiest are making serious money". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤษภาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009.
- ↑ "Before Nowadays…40 Years of Siam City Cement PCL. Special Interview with Khun Veraphan Teepsuwan" (Interview). Siam City Cement Vol. 5, Issue 22. 6 Nov 2009. pp. 20–25. สืบค้นเมื่อ 2 July 2014.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Srimalee, Somluck (25 December 2012). "Ratanaraks returning to former prowess". The Nation. สืบค้นเมื่อ 25 June 2013.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Sherer, Paul (11 August 1998). "Swiss Holderbank Buys Stake in Siam City Cement". The Asian Wall Street Journal.
- ↑ 12.0 12.1 Akira Suehiro; Natenapha Wailerdsak (2004). "Family Business in Thailand". ASEAN Economic Bulletin. 21 (1).
- ↑ "Thailand Closing Stock Prices". Dow Jones Newswire. 10 April 1996.
{{cite web}}
:|url=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ "Companies/Securities in Focus". The Stock Exchange of Thailand. สืบค้นเมื่อ 2 July 2014.
- ↑ Utumporn, Pichayaporn (7 May 1996). "Bank of Ayudhya Share-Issue Plan Pleases Shareholders and Analysts". The Asian Wall Street Journal.
- ↑ Kanoksilp, Jiwamol (5 January 2007). "BAY gears up for new era as Krit steps down". The Nation (Thailand).
- ↑ Vallikappen, Sanat; Joyce Koh; Anuchit Nguyen (8 April 2013). "GE Raises $462 Million From Selling 7.6% of Bank of Ayudhya". Bloomberg News.
- ↑ Lex (8 April 2013). "General Electric: the long game". Financial Times.
- ↑ Gomez, Edmund (2002). Political business in East Asia. London: Routledge. pp. 253–277. ISBN 0-415-27149-5.
- ↑ รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๖[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (จำนวน ๓,๐๘๒ ราย) เล่ม ๑๐๘ ตอน ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๔ หน้า ๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๙) ฉบับพิเศษ หน้า ๑ เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙