กระโจมไฟปัชโชติวชิราภา

กระโจมไฟในประเทศไทย

กระโจมไฟปัชโชติวชิราภา[1][2] หรือ กระโจมไฟเกาะลันตา[2] (อังกฤษ: Patachotwachirapha Light Beacon, Ko Lanta Light Beacon, Ko Lanta Yai Light Beacon[3]) เป็นกระโจมไฟควบคุมการเดินเรือบริเวณแหลมโตนด หรือหัวแหลมด้านใต้ของเกาะลันตาใหญ่ จังหวัดกระบี่[1] เริ่มใช้งานเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2514[4] ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ

กระโจมไฟปัชโชติวชิราภา
โครงสร้างกระโจมไฟ มองจากทะเลอันดามันเข้าไปยังเกาะลันตาใหญ่
แผนที่
ที่ตั้งแหลมโตนด (หัวแหลมต้านใต้) เกาะลันตาใหญ่
พิกัด7°28′06.10″N 99°05′52.92″E / 7.4683611°N 99.0980333°E / 7.4683611; 99.0980333
รากฐานคอนกรีต
การก่อสร้างคอนกรีตเสริมแรง
ความสูง11 เมตร (36 ฟุต)
รูปร่างหอคอยคอนกรีต
เครื่องหมายทาสีขาว
ผู้ดำเนินการ กองทัพเรือไทย
แสงไฟ
เริ่มใช้งาน23 มีนาคม พ.ศ. 2514; 53 ปีก่อน (2514-03-23)
พิสัย10 ไมล์ทะเล (19 กิโลเมตร)
ลักษณะวับหมู่ ประกอบด้วยไฟ 3 วับ
สีขาว ทุก ๆ 15 วินาที
สว่าง 0.5 วินาที มืด 1.5 วินาที 2 ครั้ง และสว่าง 0.5 วินาที มืด 10.5 วินาที
รหัสประเทศไทยTHN-315

บางครั้ง กระโจมไฟปัชโชติวชิราภา มักถูกเรียกว่า ประภาคารปัชโชติวชิราภา[4] แต่ในความเป็นจริง กรมอุทกศาสตร์และกรมเจ้าท่าได้กำหนดให้เป็นกระโจมไฟ[2]

ประวัติ แก้

กระโจมไฟปัชโชติวชิราภาเดิม สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2470 ได้รับการพระราชทานนามโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2470 หลังจากการก่อสร้างและพระราชทานนามให้กับกระโจมไฟวชิรรุ่งโรจน์ (กระโจมไฟเกาะแรด) และพระราชทานเงินของราชนาวีสมาคมที่เหลือจากการซื้อเรือหลวงพระร่วงให้กับกรมอุทกศาตร์ กองทัพเรือ ซึ่งกรมอุทกศาสตร์ได้ดำเนินการก่อสร้างกระโจมไฟใหม่เพิ่มเติมอีก 6 แห่งในมณฑลภูเก็ต และนำไปซ่อมแซมปรับปรุงกระโจมไฟเก่าที่ใช้น้ำมันก๊าดเป็นใช้งานก๊าดอเซทีลีน โดยนามที่ได้พระราชทานมานั้นจะมีพระบรมนามาภิไธย "วชิราวุธ" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาดสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นองค์ราชูปถัมภ์ราชนาวีสมาคมซึ่งเป็นแหล่งของเงินทุนในการก่อสร้าง และเมื่อนำมาเรียงกันจะมีความคล้องจองกัน[2] ประกอบไปด้วย

กระโจมไฟปัชโชติวชิราภาเดิม มีการใช้งานจนถึงช่วงปี พ.ศ. 2514 จึงยุติการใช้งานเนื่องจากสภาพที่ทรุดโทรมจนซ่อมแซมไม่ได้ ระหว่างนั้นได้มีการสร้างกระโจมไฟขึ้นมาใหม่ในบริเวณใกล้เคียงกันเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2510 และเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2514 ให้แสงสว่างโดยตะเกียงก๊าซอเซทีลีน โดยได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นตะเกียงระบบพลังงานแสงอาทิตย์เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2533[4]

โครงสร้าง แก้

กระโจมไฟปัชโชติวชิราภา เป็นคอนกรีตเสริมแรงลักษณะหอคอย ทาด้วยสีขาว ความสูง 11 เมตร ความสูงของแสงไฟเหนือจากระดับน้ำทะเล 37 เมตร ตั้งอยู่บริเวณแหลมโตนด (หัวแหลมด้านใต้) ของเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่[1] และอยู่ในพื้นที่ของเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา

รายละเอียด แก้

กระโจมไฟปัชโชติวชิราภา ตามทำเนียบไฟและทุ่นในน่านน้ำประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 7 องศา 28 ลิปดา 06.10 ฟิลิปดาเหนือ ลองติจูดที่ 99 องศา 05 ลิปดา 52.92 ฟิลิปดาตะวันออก ลักษณะไฟเป็นไฟวับหมู่ แต่ละหมู่ประกอบด้วยไฟ 3 วับสีขาว สว่างทุก ๆ 15 วินาที โดยจะสว่าง 0.5 วินาที มืด 1.5 วินาที จำนวนสองครั้ง และสว่าง 0.5 วินาที มืด 10.5 วินาทีในครั้งที่สาม[1] ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ

กระโจมไฟปัชโชติวชิราภา มีรหัสประจำกระโจมไฟว่า

  • กองทัพเรือไทย (THN): 315[1]
  • ทำเนียบไฟอังกฤษ เล่ม F (Admiralty): F1183[1]
  • สำนักข่าวกรองภูมิสารสนเทศแห่งชาติสหรัฐ (NGA): 22180[3][5]
  • สมาคมวิทยุสมัครเล่นประภาคาร (ARLHS): THA021[6]

การเดินทาง แก้

กระโจมไฟปัชโชติวชิราภา เป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นของเกาะลันตาและจังหวัดกระบี่ โดยการเดินทางสามารถเดินทางด้วยรถยนต์มายังอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา แต่ต้องใช้ความระมัดระวังเนื่องจากเป็นเส้นทางที่ตัดผ่านภูมิประเทศที่มีความลาดชันประมาณ 13 กิโลเมตรจึงจะเข้าไปถึงที่ทำการอุทยานและกระโจมไฟ โดยหลังจากถึงที่ทำการอุทยานแล้วจะต้องเดินเท้าไปต่อเพื่อไปยังกระโจมไฟซึ่งอยู่บนเนินเขาที่ยื่นออกไปเป็นแหลมในทะเลอันดามัน ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นสถานที่ชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกที่สวยมากแห่งหนึ่งในประเทศไทย[7]

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 ทำเนียบไฟและทุ่นในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2556 (PDF). กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ. 2556.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 ที่ระลึกวันคล้ายวันสถาปนากรมอุทกศาสตร์ ครบรอบ 84 ปี วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2548 (PDF). กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ. 2548. pp. 33–35.
  3. 3.0 3.1 Bub.112 List of Lights: Radio aids and fog signals 2023 - Western Pacific and Indian Oceans, Including Persian Gulf and Red Sea. National Geospatial-Intelligence Agency. 2023. p. 344.
  4. 4.0 4.1 4.2 สี่แคว, Tum Sikwae : ตุ้ม. "Tum Sikwae ตุ้ม สี่แคว: ประภาคาร ปัชโชติวชิราภา". Tum Sikwae ตุ้ม สี่แคว.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "Lighthouses of Southern Thailand: West Coast". www.ibiblio.org.
  6. "Ko Lanta Light - ARLHS THA-021". wlol.arlhs.com.
  7. "PM Andaman Tour". pmandamantour.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).