ชาร์ล-โอกุสแต็ง เดอ กูลง

(เปลี่ยนทางจาก กฎของคูลอมบ์)

ชาร์ล-โอกุสแต็ง เดอ กูลง (ฝรั่งเศส: Charles-Augustin de Coulomb; 14 มิถุนายน ค.ศ. 1736 - 23 สิงหาคม ค.ศ. 1806) เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส รู้จักกันดีในฐานะผู้วางกฎว่าด้วยแรงระหว่างประจุ ซึ่งต่อมาชื่อของเขาได้ใช้เป็นหน่วยเอสไอสำหรับประจุไฟฟ้า คือ คูลอมบ์ (C)

ชาร์ล-โอกุสแต็ง เดอ กูลง
ภาพวาดโดยอีปอลิต เลอกงต์ (Hippolyte Lecomte) จิตรกรชาวฝรั่งเศส
เกิด14 มิถุนายน ค.ศ. 1736(1736-06-14)
เมืองอ็องกูแลม ประเทศฝรั่งเศส
เสียชีวิต23 สิงหาคม ค.ศ. 1806(1806-08-23) (70 ปี)
กรุงปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
สัญชาติฝรั่งเศส
มีชื่อเสียงจากกฎของกูลง
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์

ประวัติ

แก้

กูลงเกิดที่เมืองอ็องกูแลม (Angoulême) ประเทศฝรั่งเศส ในครอบครัวที่มีฐานะดี มีบิดาชื่ออ็องรี กูลง ซึ่งเป็นผู้ตรวจการสวนหลวงในเมืองมงเปอลีเย มารดาของเขาชื่อแคทเทอรีน บาเช ซึ่งมาจากครอบครัวค้าขนสัตว์

ขณะที่กูลงยังเยาว์วัย ครอบครัวของกูลงได้ย้ายไปยังกรุงปารีส ต่อมากูลงได้เข้าเรียนในวิทยาลัยมาซาแร็ง (Mazarin College) อันมีชื่อเสียง เขาได้เรียนวิชาคณิตศาสตร์กับปีแยร์ ชาร์ล มอนีเย (Pierre Charles Monnier) จนในที่สุดกูลงก็หลงใหลวิชาคณิตศาสตร์ ครั้นอายุได้ 21 ปี กูลงจึงกลับไปพักอาศัยกับบิดาและทำงานในวิทยาลัยในเมืองมงเปอลีเย สองปีให้หลัง เขาจึงตัดสินใจกลับกรุงปารีสและสอบเข้าโรงเรียนทหารที่เมืองเมซีแยร์ (Mézières)

ครั้นปี พ.ศ. 2304 กูลงก็สำเร็จการศึกษาและได้เข้าร่วมภารกิจสร้างป้อมบูร์บง (Fort Bourbon) ที่มาร์ตีนิก คราวที่เกิดสงครามเจ็ดปี เขาใช้ชีวิตที่นั่นแปดปีเพื่อควบคุมงานจนติดไข้ป่า ระหว่างนั้น เขาได้ทดลองว่าด้วยความทนทานของปูนก่อสร้างและโครงสร้างค้ำยัน ด้วยความอุตสาหะต่อมาเขาได้ยศเป็นนายพัน จากนั้นกูลงจึงเดินทางกลับกรุงปารีส แล้วทำงานที่เมืองลารอแชล ริมชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ณ ที่นั่นเขาได้ค้นพบกฎกำลังสอง ผกผันของประจุ ทำนองเดียวกับกฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน

ต่อมา ครั้นกูลงอายุได้ 45 ปี เขาจึงกลับมายังกรุงปารีส และได้รับตำแหน่งเป็นแอ็งต็องด็องเดโซเซฟงแตน (intendant des eaux et fontaines) หรือ "ผู้ตรวจการทางน้ำและน้ำพุ" จากนั้นไม่นานเขาก็เกษียณตัวเองไปอาศัยในบ้านเล็ก ๆ ที่เมืองบลัว (Blois) ต่อมาไม่นานรัฐบาลปฏิวัติก็เรียกตัวเขาไปร่วมประชุมบัญญัติหน่วยวัด ซึ่งในเวลาต่อมาได้เป็นรากฐานของระบบหน่วยระหว่างชาติ ไม่นานนักหลังจากนั้นเขาก็ถึงแก่กรรม

ผลงานของเขานอกเหนือจากกฎของกูลงแล้ว ยังมีผลงานการออกแบบผนังที่ป้อมบูร์บงซึ่งยังคงมาจนถึงปัจจุบัน

กฎของกูลง

แก้

กูลงได้ทำการทดลองวัดแรงระหว่างประจุในปี ค.ศ. 1785 โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า เครื่องชั่งการบิด (torsion balance) แสดงเครื่องมือที่กูลงใช้วัดแรงไฟฟ้าระหว่างประจุทั้งสองทำให้

ชาร์ล-โอกุสแต็ง เดอ กูลง เป็นผู้คิดค้นกฎของคูลอมบ์ขึ้นมาแล้ว กฎของกูลง (Coulomb's Law) มีใจความว่า "แรงระหว่างประจุไฟฟ้ามีค่าแปรผันตามผลคูณของประจุไฟฟ้าทั้งสองและแปรผกผันกับระยะทางระหว่างประจุไฟฟ้าทั้งสองยกกำลังสอง"

เมื่อ F คือ แรงระหว่างประจุไฟฟ้า หน่วย นิวตัน (N); ประจุไฟฟ้า Q1 และ Q2 คือ ขนาดของประจุไฟฟ้าทั้งสอง หน่วยเป็น คูลอมบ์ (C); R คือ ระยะทางระหว่างประจุไฟฟ้า หน่วย เมตร (m)

อ้างอิง

แก้
  • แปลมาจาสารานุกรมเอนไซโคลพีเดียบริตตานิกา (Encyclopædia Britannica) ฉบับพิมพ์รุ่นที่ 11 ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติแล้ว