กงสะเด็น

ชนิดของพืช
กงสะเด็น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Lamiaceae
สกุล: Picria
สปีชีส์: P.  fel-terrae
ชื่อทวินาม
Picria fel-terrae
Lour.
ชื่อพ้อง[1][2]
  • Curanga amara Juss.
  • Curanga fel-terrae (Lour.) Merr.
  • Curanga melissifolia A.Juss.
  • Curanga torenioides Steud.
  • Synphyllium torenioides Griff.
  • Treisteria assamica Griff.
  • Gratiola amara (Juss.) Roxb.
  • Herpestis amara Benth.

กงสะเด็น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Picria fel-terrae) เป็นพืชดอกล้มลุกปีเดียว และเป็นพืชสมุนไพรที่หายากในประเทศไทยซึ่งหมอพื้นบ้านเข้าใจว่าสมุนไพรชนิดนี้ได้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว[3] พบใช้ในตำรายาแผนไทยอีสานและลาว ปัจจุบันเป็นพืชชนิดเดียวในสกุลกงสะเด็น ของวงศ์กระเพรา ที่ได้รับการยอมรับ

ศัพทมูลวิทยา แก้

กงสะเด็น เป็นภาษาลาวและอีสาน กง แปลว่า เขตแดน, บริเวณ, สิ่งที่มีลักษณะกลมหรือคล้ายวงกลม[4][5] สะเด็น แปลว่า กระเด็น[6] กงสะเด็น ใช้เรียกพืชชนิดหนึ่งเมื่อผลแก่เต็มที่ผลจะแตกกระเด็นตกไปในที่ไกล[7] (นอกเขตพุ่มต้น)

ชื่ออื่น แก้

ชื่อในภาษาอื่น[8] ได้แก่

อนุกรมวิธาน แก้

กงสะเด็น (Picria fel-terrae) ได้รับการระบุชนิดโดยโยอันนิส เดอ ลัวร์ไรโร (Joannis de Loureiro; Lour.) ในหนังสือ ฟลอราโคชินชีเนนซิส (Flora Cochinchinensis) ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 2 ปี 1790 หน้า 393[10]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

พืชล้มลุกปีเดียว พุ่มเตี้ย[3] สูงประมาณ 1 เมตร มีรากออกตามข้อ สามารถไหลไปกับพื้นดิน[3] กิ่งก้านแตกแขนงจำนวนมากตามลำต้นและตั้งตรง[9] (ลักษณะเดียวกันกับพืชอื่นในวงศ์กะเพรา)

ก้านใบ 0.5–2 เซนติเมตร ใบรูปไข่ปลายแหลมถึงกึ่งกลมป้อม ยาว 5.5 เซนติเมตร กว้าง 3 เซนติเมตร เส้นใบมีขนสากสั้น ๆ ปลายชี้ทำมุมออกจากกิ่งใบ และขนสากสั้นบนใบทำมุมเข้าหากิ่งใบ โคนใบโค้งมนหรือเป็นรูปลิ่ม ขอบใบจักหรือหยัก ปลายใบแหลม เส้นใบ 4 หรือ 5 เส้นในแต่ละด้าน[9]

ช่อดอกกระจะ (raceme) 4–8 ดอก ก้านดอกยาว 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปขอบขนานกึงรูปไข่ ยาว 1.4 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงล่างเล็กกว่ากลีบเลี้ยงบนซึ่งมักมีปลายเป็นสองแฉก กลีบดอกสีขาวหรือน้ำตาลแดง กว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตร เป็นท่อยาวประมาณ 6.5 มิลลิเมตร ตีบตรงกลาง ฐานกลีบดอกกว้าง กลีบดอกล่างสามกลีบยาว 6.5 มิลลิเมตร ปลายกลีบแผ่ค่อนข้างแบน กลีบดอกบน 4.5 มิลลิเมตร กลีบแคบห่อเข้าประกบกลีบล่างคล้ายการป้องกัน ปลายกลีบบนงอนตั้งขึ้น มีขนสั้นบนผิวบนกลีบจำนวนมาก ปลายเกสรรูปไข่ 5–6 มิลลิเมตร สองอันสีเหลือง[9]

การแพร่กระจายและถิ่นที่อยู่ แก้

มีการกระจายพันธุ์อยู่ในป่าธรรมชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[3][11] จีนตอนใต้[11][12] และอินเดีย[3] ตั้งแต่รัฐอัสสัม[11] เมียนมา[12] ลาว[11][12] มาเลเซีย[11][12] เวียดนาม[11][12] อินโดนีเซีย[12]และฟิลิปปินส์[3][11] เป็นสมุนไพรหายาก เกิดขึ้นบนเนินป่าหรือชายป่าที่ร่มครึ้ม พื้นที่ชุ่มน้ำ[13] ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึง 900 เมตร[3] ในประเทศจีนพบที่ความสูง 700–1,400 เมตร[9][13]

การนำมาใช้เป็นสมุนไพรตามตำรับดั้งเดิม ส่วนใหญ่เก็บมาจากป่าธรรมชาติ แต่มีหลายพื้นที่ที่มีการปลูกแล้วนำมาจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น ซึ่งในประเทศไทยกงสะเด็นในป่าธรรมชาติหายไปและปลูกขยายพันธุ์ไม่ทัน ส่งผลให้ตำรายาแผนไทยบางส่วนที่มีส่วนประกอบของกงสะเด็นหายไป แต่ยังพบได้ในประเทศลาว[3]

การใช้ประโยชน์ แก้

สารสำคัญ แก้

จากการศึกษาเชิงลึกพบสารสำคัญหลายชนิด เช่น ฟลาโวนอยส์, ไกลโคซายด์, คิวแรนจิน (curangin) และกลุ่มไตรเตอร์ปีนแซปโปนิน (triterpene saponins) สารคิวแรนจินที่พบมีคุณสมบัติเหมือนไดจิทาลีส (digitalis) ที่ใช้เป็นยากระตุ้นหัวใจ ที่ได้จากพืชในสกุล Digitalis แต่มีความเป็นพิษเล็กน้อย[3][14]

ประโยชน์ทางยา แก้

เมื่อนำสมุนไพรกงสะเด็นแห้งมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ พบว่าสามารถยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อโรคในลำไส้ (Proteus vulgaris) และแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ (Staphylococcus aureus)[3] นอกจากนี้ในตำรายาจีนยังพบว่าสามารถต่อต้านเชื้อไวรัสเริม (Herpes simplex virus 1; HSV-1; Human alphaherpesvirus 1)[3]

ใบสดมีรสขมมาก มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ[15] ช่วยบำรุงตับ ปกป้องหัวใจ เบาหวาน[16][17] ยับยั้งไวรัสตับอักเสบบี (HB) e-antigen[18] ต้านอนุมูลอิสระ[19][20] ต้านการอักเสบ เคมีบำบัดร่วมสำหรับมะเร็งเต้านม[3][21] ยาขับพยาธิ[22] และยาแก้ปวด [23]

เมื่อหมักด้วยแอลกอฮอล์ใช้เป็นยาชูกำลัง[3]

ทั้งต้นนำมาต้มดื่มรักษาอาการผิดปกติต่าง ๆ ได้หลายอย่าง โดยเฉพาะอาการปวดท้องเนื่องจากกระเพาะอาหารผิดปกติ อาการโคลิก (อาการปวดท้องในเด็กเล็ก) และอาการผิดปกติของตับจัดว่าเป็นอาหารเรียกน้ำย่อยได้ กระตุ้นให้มีประจำเดือน กระตุ้นลำไส้ กระเพาะอาหาร และใช้เป็นยาขับเหงื่อ[3]

ใบสดนำมาบดใช้พอกแผลและรักษาโรคผิวหนัง เมื่อใช้ร่วมกับใบบัวบกจะช่วยรักษาไอกรนและอาการเจ็บแน่นหน้าอก[3]

อ้างอิง แก้

  1. "Picria fel-terrae Lour. | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
  2. "Picria fel-terrae Lour. — The Plant List". www.theplantlist.org.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 มติชนสุดสัปดาห์ (March 5, 2022). "โก้งสะเด็นหรือกงสะเด็น สมุนไพรหายาก / สมุนไพรเพื่อสุขภาพ". มติชนสุดสัปดาห์.
  4. "กง", วิกิพจนานุกรม, January 26, 2022, สืบค้นเมื่อ March 5, 2022
  5. esan108.com. "กง ภาษาอีสาน". esan108.com.
  6. "สะเด็น", วิกิพจนานุกรม, June 17, 2021, สืบค้นเมื่อ March 5, 2022
  7. esan108.com. "กงสะเด็น ภาษาอีสาน". esan108.com.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "Sagai-uak, Picria fel-terrae: Philippine Medicinal Herbs / Alternative Medicine". www.stuartxchange.org.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 "Picria felterrae in Flora of China @ efloras.org". www.efloras.org.
  10. Loureiro, João de; Lisboa, Academia das Ciências de (1790). Flora cochinchinensis : sistens plantas in regno Cochinchina nascentes. Quibus accedunt aliae observatae in Sinensi imperio, Africa Orientali, Indiaeque locis variis. Omnes dispositae secundum systema sexuale Linnaeanum. Labore. Vol. 2. Ulyssipone :: Typis, et expensis academicis,.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 "Picria Lour. | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 "Picria fel-terrae Lour". www.gbif.org (ภาษาอังกฤษ).
  13. 13.0 13.1 "Curanga amara: Lansdown, R.V." IUCN Red List of Threatened Species. July 12, 2011. doi:10.2305/iucn.uk.2011-2.rlts.t199703a9120155.en.
  14. "Picria felterrae - Useful Tropical Plants". tropical.theferns.info.
  15. Dalimunthe, Aminah; Harahap, Urip; Rosidah; M, Pandapotan Nasution (July 1, 2015). "EVALUATION OF DIURETIC ACTIVITY OF PICRIA FEL-TERRAE LOUR LEAVES EXTRACTS". Asian Journal of Pharmaceutical and Clinical Research (ภาษาอังกฤษ): 204–205. ISSN 2455-3891.
  16. Chan, Chuk-ching; Zhang, Hong-wei; Chan, Kelvin; Lin, Zhi-xiu (January 29, 2016). "Xiaoke Pill (消渴丸) and anti-diabetic drugs: A review on clinical evidence of possible herb-drug interactions". Chinese Journal of Integrative Medicine. doi:10.1007/s11655-015-2106-5. ISSN 1672-0415.
  17. Purba, Hartono Apriliasta; Syafril, Santi; Lindarto, Dharma (April 29, 2018). "Effect of Puguntano Extract (Curanga Fel-Terrae Merr.) on hs-CRP Level in Newly Diagnosed Type 2 Diabetes Mellitus Patient". The Indonesian Biomedical Journal. 10 (1): 79. doi:10.18585/inabj.v10i1.362. ISSN 2355-9179.
  18. Auliafendri, Novycha; Rosidah, Rosidah; Yuandani, Yuandani; Suryani, Sri; Satria, Denny (November 14, 2019). "The Inhibitory Activity of Picria fel-terrae Lour Herbs Extract on Nitric Oxide Production toward RAW 264.7 Cells Induced by Lipopolysaccharide". Open Access Macedonian Journal of Medical Sciences. 7 (22): 3737–3740. doi:10.3889/oamjms.2019.493. ISSN 1857-9655.
  19. Satria, Denny; Silalahi, Jansen; Haro, Ginda; Ilyas, Syafruddin (2018). "Antiproliferative and Apoptotic Induction of n-Hexane Fraction of Picria fel-terrae lour. Herbs on T47D Cell Line". Proceedings of BROMO Conference. SCITEPRESS - Science and Technology Publications. doi:10.5220/0008359701900193.
  20. Thuan, Nguyen Duy; Ha, Do Thi; Thuong, Phuong Thien; Na, Min Kyun; Bae, KiHwan; Lee, Jong Pill; Lee, Jeong-Hun; Seo, Hyo-Won; Min, Byung-Sun; Kim, Jin-Cheol (September 2007). "A phenylpropanoid glycoside with antioxidant activity from picria tel-ferae". Archives of Pharmacal Research. 30 (9): 1062–1066. doi:10.1007/bf02980238. ISSN 0253-6269.
  21. Harahap, Urip; Hasibuan, Poppy Anjelisa Zaitun; Sitorus, Panal; Satria, Denny (April 26, 2018). "CYTOTOXICITY ACTIVITY OF PICRIA FEL-TERRAE LOUR. HERBS AGAINST 4T1 AND MCF-7 BREAST CANCER CELLS". Asian Journal of Pharmaceutical and Clinical Research. 11 (13): 194. doi:10.22159/ajpcr.2018.v11s1.26608. ISSN 2455-3891.
  22. Harahap, Urip; Bastian, Marianne; Yuliasmi, Sri; Husori, Dadang Irfan; Patilaya, Popi; Laila, Lia (November 1, 2017). "HEPATOPROTECTIVE ACTIVITY FROM ETHANOL EXTRACT OF PUGUN TANO'S LEAVE (Curanga fel-terrae (Lour.) Merr.)". Asian Journal of Pharmaceutical and Clinical Research. 10 (11): 78. doi:10.22159/ajpcr.2017.v10i11.19127. ISSN 2455-3891.
  23. Satria, Denny; Silalahi, Jansen; Haro, Ginda; Ilyas, Syafruddin; Hasibuan, Poppy Anjelisa Zaitun (November 14, 2019). "Cytoprotective Activity of Ethylacetate Fraction of Picria fel-terrae Lour. Herbs". Open Access Macedonian Journal of Medical Sciences. 7 (22): 3865–3867. doi:10.3889/oamjms.2019.521. ISSN 1857-9655. PMC 7048334. PMID 32127993.