แผนแบ่งปาเลสไตน์ของสหประชาชาติ

(เปลี่ยนทางจาก United Nations Partition Plan for Palestine)
ข้อมติ
สมัชชาใหญ่แห่ง
สหประชาชาติที่ 181 (2)
วันที่: 29 พฤศจิกายน 1947
การประชุมครั้งที่: 128
รหัส: A/RES/181(II) (เอกสาร)

คะแนนเสียง: รับ: 33 

งดออกเสียง: 10  ไม่รับ: 13 

ผล: คำแนะนำต่อสหราชอาณาจักร ในฐานะผู้ใช้อำนาจอาณัติสำหรับปาเลสไตน์ และต่อสมาชิกอื่นทั้งปวงของสหประชาชาติซึ่งการมีมติเห็นชอบและการนำไปปฏิบัติ ในเรื่องการปกครองปาเลสไตน์ในอนาคต ซึ่งแผนการแบ่งพร้อมตั้งสหภาพเศรษฐกิจในข้อมติ[1]

แผนแบ่งของ UNSCOP (3 กันยายน 1947; ดูเส้นเขียว) และคณะกรรมการเฉพาะกิจของยูเอ็น (25 พฤศจิกายน 1947) สำหรับข้อเสนอที่มีการลงมติในข้อมตินี้คือแผนของคณะกรรมการเฉพาะกิจของยูเอ็น

แผนแบ่งปาเลสไตน์ของสหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations Partition Plan for Palestine) เป็นข้อเสนอของสหประชาชาติ ให้แบ่งปาเลสไตน์ในอาณัติในช่วงปลายอาณัติของบริเตน ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติลงมติเห็นชอบแผนฯ เป็นข้อมติที่ 181 (2)[2]

ข้อมติฯ แนะนำให้ตั้งรัฐอาหรับและรัฐยิวซึ่งมีเอกราชทั้งคู่ และระบอบระหว่างประเทศพิเศษสำหรับนครเยรูซาเลม แผนแบ่งนี้เป็นเอกสารสี่ส่วนที่แนบท้ายข้อมติฯ กำหนดการสิ้นสุดของอาณัติ การทยอยถอนทหารบริติชและการลากเส้นขอบเขตระหว่างสองรัฐและเยรูซาเลม ส่วนที่ 1 ของแผนฯ กำหนดว่าอาณัติควรสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดที่เป็นไปได้ และสหราชอาณาจักรจะถอนกำลังไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 รัฐใหม่ทั้งสองจะมีอยู่สองเดือนหลังบริเตนถอนกำลัง แต่ไม่เกินวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1948 แผนฯ ยังมุ่งแก้ไขปัญหาวัตถุประสงค์ที่ขัดกันและข้ออ้างของขบวนการที่เป็นปรปักษ์กันสองฝ่าย คือ ขบวนการชาตินิยมปาเลสไตน์และขบวนการไซออนิสต์ (หรือชาตินิยมยิว)[3][4] แผนฯ ยังเรียกร้องให้มีสหภาพทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐที่มีการเสนอ และการคุ้มครองสิทธิทางศาสนาและชนกลุ่มน้อย

แผนฯ ซึ่งมีการวางโดยร่วมมือกับองค์การยิว ได้รับการยอมรับโดยหน่วยงานยิวสำหรับปาเลสไตน์ (Jewish Agency for Palestine) แม้ไม่พอใจต่อการจำกัดดินแดนที่กำหนดต่อรัฐยิวที่มีการเสนอ[5][6] ผู้นำและรัฐบาลอาหรับปฏิเสธแผนฯ[7] และระบุว่าไม่เต็มใจยอมรับการแบ่งแยกดินแดนใด ๆ โดยอ้างว่าการแบ่งดินแดนขัดต่อหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเองในกฎบัตรสหประชาชาติ[6][8]

หลังสมัชชาสหประชาชาติรับข้อมติดังกล่าว พลันเกิดสงครามกลางเมืองในปาเลสไตน์ในอาณัติ[9] ทำให้ไม่มีการนำแผนฯ ไปปฏิบัติ[10]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "A/RES/181(II) of 29 November 1947". United Nations. 1947. สืบค้นเมื่อ 8 December 2012.
  2. "A/RES/181(II) of 29 November 1947". United Nations General Assembly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2021-05-16.
  3. William B. Quandt, Paul Jabber, Ann Mosely Lesch The Politics of Palestinian Nationalism, University of California Press, 1973 p.7.
  4. Part II. – Boundaries recommended in UNGA Res 181 Molinaro, Enrico The Holy Places of Jerusalem in Middle East Peace Agreements Page 78
  5. Benny Morris (2008). 1948: a history of the first Arab-Israeli war. Yale University Press. p. 75. ISBN 9780300126969. สืบค้นเมื่อ 24 July 2013. " p. 75 The night of 29–30 November passed in the Yishuv’s settlements in noisy public rejoicing. Most had sat glued to their radio sets broadcasting live from Flushing Meadow. A collective cry of joy went up when the two-thirds mark was achieved: a state had been sanctioned by the international community.  ; p. 396 The immediate trigger of the 1948 War was the November 1947 UN partition resolution. The Zionist movement, except for its fringes, accepted the proposal".
  6. 6.0 6.1 The Question of Palestine and the UN
  7. Benny Morris (2008). 1948: a history of the first Arab-Israeli war. Yale University Press. pp. 66, 67, 72. ISBN 9780300126969. สืบค้นเมื่อ 24 July 2013. p.66, at 1946 "The League demanded independence for Palestine as a "unitary" state, with an Arab majority and minority rights for the Jews." ; p.67, at 1947 "The League’s Political Committee met in Sofar, Lebanon, on 16–19 September, and urged the Palestine Arabs to fight partition, which it called "aggression", "without mercy". The League promised them, in line with Bludan, assistance "in manpower, money and equipment" should the United Nations endorse partition." ; p. 72, at December 1947 "The League vowed, in very general language, "to try to stymie the partition plan and prevent the establishment of a Jewish state in Palestine
  8. Sami Hadawi, Bitter Harvest: A Modern History of Palestine, Olive Branch Press, (1989)1991 p.76.
  9. Article "History of Palestine", Encyclopædia Britannica (2002 edition), article section written by Walid Ahmed Khalidi and Ian J. Bickerton.
  10. Itzhak Galnoor (1995). The Partition of Palestine: Decision Crossroads in the Zionist Movement. SUNY Press. pp. 289–. ISBN 978-0-7914-2193-2. สืบค้นเมื่อ 3 July 2012.