ไทโรซีน

(เปลี่ยนทางจาก Tyrosine)

ไทโรซีน (อังกฤษ: Tyrosine; อังกฤษ: Tyr) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ซึ่งกรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน โดยคำว่า ไทโรซีน มาจากคำว่า "tyros" ในภาษากรีก แปลว่า ชีส เนื่องจาก ไทโรซีส ถูกพบครั้งแรกจากการย่อยชีสในปี ค.ศ. 1846 [1][2]

ไทโรซีน
Skeletal formula of the L-isomer
Ball-and-stick model of the L-isomer as a zwitterion
ชื่อ
IUPAC name
(S)-Tyrosine
ชื่ออื่น
L-2-Amino-3-(4-hydroxyphenyl)propanoic acid
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ChEBI
ChEMBL
เคมสไปเดอร์
ดรักแบงก์
ECHA InfoCard 100.000.419 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
UNII
  • InChI=1S/C9H11NO3/c10-8(9(12)13)5-6-1-3-7(11)4-2-6/h1-4,8,11H,5,10H2,(H,12,13)/t8-/m0/s1 checkY
    Key: OUYCCCASQSFEME-QMMMGPOBSA-N checkY
  • N[C@@H](Cc1ccc(O)cc1)C(O)=O
คุณสมบัติ
C9H11NO3
มวลโมเลกุล 181.191 g·mol−1
ความอันตราย
NFPA 704 (fire diamond)
NFPA 704 four-colored diamondHealth 1: Exposure would cause irritation but only minor residual injury. E.g. turpentineFlammability 1: Must be pre-heated before ignition can occur. Flash point over 93 °C (200 °F). E.g. canola oilInstability 0: Normally stable, even under fire exposure conditions, and is not reactive with water. E.g. liquid nitrogenSpecial hazards (white): no code
1
1
0
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

การสังเคราะห์ในสิ่งมีชีวิต แก้

 
การสังเคราะห์ไทโรซีนในพืช

ร่างกายสามารถสังเคราะห์ ไทโรซีน ได้จาก ฟีนิลอะลานีน ซึ่งฟีนิลอะลานีน เป็นกรดอะมิโนจำเป็น ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ ต้องรับประทานจากอาหารเท่านั้น

โดยเอมไซม์ฟินิลอะลานีนไฮดรอกซีเลส เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเปลี่ยน ฟีนิลอะลานีน ให้เป็น ไทโรซีน

ตัวอย่างโรค

โรคไทโรซีนสูงในเลือดชนิดที่ 1 (Tyrosinemia Type I)

ความสำคัญ แก้

ไทโรซีน เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทได้แก่

  1. โดปามีน ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวต่ออารมณ์ของบุคคล ช่วยให้มีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น ไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ รอบตัว
  2. นอร์เอพิเฟริน (นอร์อะดรีนาลีน) ทำหน้าที่ เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
  3. เพิ่มการหายใจเร็วขึ้น ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายและสมองมากขึ้น ทำให้ร่างกายและสมองทำงานได้ดีกว่าปกติ และหยุดกระบวนการบางอย่างของร่างกายเช่น กระบวนการย่อยอาหาร
  4. เอพิเนฟริน (อะดรีนาลีน) ทำหน้าที่คล้าย นอร์เอพิเฟริน

การนำมาใช้ แก้

เนื่องจาก ไทโรซีน เป็นสารตั้งต้นของสารต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น จึงมีการนำ ไทโรซีน มาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยมีการศึกษาวิจัยพบว่า ช่วยกระตุ้นสมอง ลดความเครียด ลดอาการซึมเศร้า[3][4][5]

แหล่งอาหาร แก้

ไทโรซีน พบได้ในผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไก่, ไก่งวง, นม, โยเกิร์ต, ชีส, ถั่วลิสง, ถั่วอัลมอนด์, เมล็ดฟักทอง, งา, ถั่วเหลือง, ถั่วลิมา, อาโวคาโด และกล้วย เป็นต้น

อ้างอิง แก้

  1. Tyrosine. สืบค้นเมื่อ 2015-07-13
  2. IUPAC-IUBMB Joint Commission on Biochemical Nomenclature (1983). "Nomenclature and Symbolism for Amino Acids and Peptides". Recommendations on Organic & Biochemical Nomenclature, Symbols & Terminology. สืบค้นเมื่อ 2007-05-17.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-06. สืบค้นเมื่อ 2015-07-13.
  4. https://dx.doi.org/10.1016%2FS0361-9230%2898%2900163-4
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-11-18. สืบค้นเมื่อ 2015-07-13.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้