Syllidae

วงศ์ของสัตว์พวกหนอนปล้อง
Syllidae
Syllis gracilis ภาพจากกล้องจุลทรรศน์แสดงโพรเวนตริเคิลรูปทรงกระบอกที่เด่นชัด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Annelida
ชั้น: Polychaeta
อันดับ: Phyllodocida
วงศ์: Syllidae
Grube 1850[1]
ภาวะ Schizogamy ในไส้เดือนทะเลวงศ์ Syllidae

Syllidae เป็นวงศ์ของไส้เดือนทะเล (โพลีคีท) ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง วงศ์นี้ มีความแตกต่างจากโพลีคีทอื่น ๆ โดยมีบริเวณกล้ามเนื้อของระบบทางเดินอาหารส่วนหน้าที่เรียกว่า โพรเวนตริเคิล (proventricle)[2]

หนอนวงศ์นี้มีขนาดตั้งแต่ 2–3 มิลลิเมตร (0.08–0.12 นิ้ว) จนถึง 14 เซนติเมตร (5.5 นิ้ว) ส่วนใหญ่เป็นสิ่งมีชีวิตหน้าดินที่เปลี่ยนไปเป็นระยะเต็มวัยแบบมีเพศในทะเลเพื่อการสืบพันธุ์ (epitoke) พบได้ในทุกภูมิภาคของมหาสมุทรตั้งแต่เขตน้ำขึ้นน้ำลงไปจนถึงทะเลลึก และโดยเฉพาะมีมากในน้ำตื้น[2][3]

ซิลลิดี พบได้ในแหล่งที่อยู่อาศัยหลายแหล่ง โดยเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่วบนพื้นหินและพื้นทราย, ซ่อนตัวอยู่ตามรอยแยกและท่ามกลางสาหร่ายทะเล และไต่อยู่บนฟองน้ำ, ปะการัง, ไฮโดรซัว, ในหญ้าทะเล และในป่าชายเลน Syllidae เป็นผู้บริโภคที่ไม่เฉพาะเจาะจง (generalist feeder)[4]

สายพันธุ์หนึ่งในวงศ์คือ Syllis ramosa เป็นโพลีคีทชนิดแรกที่ค้นพบว่ามีการแตกกิ่งของโครงร่างกาย[5]

วงศ์ย่อย แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Gil, J., Musco, L. (2015). Read G, Fauchald K (บ.ก.). "Syllidae Grube, 1850". World Polychaeta database. World Register of Marine Species. สืบค้นเมื่อ 16 September 2017.
  2. 2.0 2.1 Fukuda, Marcelo V. "Syllidae". Encyclopedia of Life. สืบค้นเมื่อ 16 September 2017.
  3. San Martín, Guillermo; Worsfold, Tim M. (2015). "Guide and keys for the identification of Syllidae (Annelida, Phyllodocida) from the British Isles (reported and expected species)". ZooKeys (488): 1–29. doi:10.3897/zookeys.488.9061. PMC 4389122.
  4. Sigvaldadottir, Elin; Mackie, Andrew S.Y.; Helgason, Gudmundur V.; Reish, Donald J.; Svavarsson, Jorundur; Steingrimsson, Sigmar A.; Gudmundsson, Gudmundur (2013). Advances in Polychaete Research. Springer Science & Business Media. p. 288. ISBN 978-94-017-0655-1.
  5. Marshall, Michael (2 March 2012). "Zoologger: the worm that looks like a tree". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 28 September 2017.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้