สเปซเอ็กซ์ดรากอน

(เปลี่ยนทางจาก SpaceX Dragon)

สเปซเอกซ์ดรากอน (อังกฤษ: SpaceX Dragon) หรือที่เรียกว่า Dragon 1 หรือ Cargo Dragon เป็นยานอวกาศที่สามารถนำบางส่วนมาใช้ใหม่ได้ พัฒนาโดย สเปชเอกซ์ บริษัทขนส่งอวกาศเอกชนสัญชาติอเมริกัน ตั้งอยู่ในฮาวธอร์น, รัฐแคลิฟอร์เนีย ดราก้อนถูกส่งขึ้นสู่อวกาศโดยจรวดขนส่งแบบ Falcon 9 ซึ่งเป็นจรวดสองส่วน สเปซเอกซ์ยังพัฒนาดรากอนอีกหนึ่งรุ่นที่สามารถขนส่งมนุษย์ได้ ชื่อว่า ดราก้อนไรเดอร์ (Dragon V2)

ดรากอน
ยานดรากอนแบบขนส่งสินค้าและมนุษย์ (ภาพจากศิลปิน)
คำอธิบาย
ภารกิจส่งมนุษย์และสินค้าขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลก (เชิงพาณิชย์)[1]
ส่งสินค้าสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (ภาครัฐ)
ลูกเรือ0 (แบบขนส่งสินค้า)
7 (ดรากอนไรเดอร์)
จรวดขนส่งฟัลคอน 9
(ดรากอน C1ดรากอน C4)[2]
ฟัลคอน 9 วี1.1
(ดรากอน C5–)[2]
เที่ยวบินแรก8 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (เที่ยวบินทดสอบ)[3]
8 ตุลาคม พ.ศ. 2555 (ใช้งานจริงเที่ยวแรก)[4]
ขนาด
สูง6.1 เมตร [5]
เส้นผ่าศูนย์กลาง3.7 เมตร [5]
มุมผนังยาน15 องศา
ปริมาตร10 เมตร3 ปรับความดัน[6]
14 เมตร3 ไม่ปรับความดัน[6]
34 เมตร3 ไม่ปรับความดันแบบต่อเติม[6]
มวลเดิม4,200 กิโลกรัม [5]
สินค้า3,310 กิโลกรัม (ส่วนปรับความดัน) และ 3,310 กิโลกรัม (ส่วนไม่ปรับความดัน) (ขาขึ้น)[7]
2,500 กิโลกรัม ในส่วนปรับความดัน (ขาลง)[7] 2,600 กิโลกรัม ในส่วนไม่ปรับความดัน (ถูกเผาไหม้)[7]
คุณสมบัติ
ความทนทาน1 สัปดาห์ ถึง 2 ปี[6]
การกลับสู่บรรยากาศ ที่3.5 จี[8][9]

ยานดรากอน เริ่มเที่ยวบินแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 และทำให้ดรากอนกลายเป็นยานอวกาศเชิงพาณิชย์ลำแรก และสามารถกู้คืนจากวงโคจรได้สำเร็จ[3] วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ยานดรากอนแบบขนส่งสินค้า เป็นยานอวกาศเชิงพาณิชย์ลำแรกที่โคจรบรรจบและเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ[10][11][12] นอกจากนี้ยังได้ทำสัญญาในการขนส่งสินค้าไปยังสถานีอวกาศนานาชาติภายใต้โครงการชื่อ Commercial Resupply Services ของนาซา ดรากอนเริ่มการขนส่งดังกล่าวตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา[4][13][14][15]

นอกจากนี้ สเปซเอกซ์ยังพัฒนาดรากอนสำหรับบรรทุกนักบินอวกาศในชื่อ ดรากอน วี2 สามารถขนส่งนักบินอวกาศได้ถึง 7 คน และสามารถปรับเปลี่ยนให้ขนส่งนักบินอวกาศพร้อมกับสินค้าได้ มีระยะปฏิบัติการในวงโคจรต่ำของโลก นอกจากนี้ สเปซเอกซ์ยังได้รับสัญญาจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้พัฒนายานขนส่งมนุษย์ให้ทางรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีแผ่นกันความร้อนที่ออกแบบมาเพื่อรองรับแรงเสียดทานจากบรรยากาศโลกหลังกลับจากดาวอังคารได้ เพราะการเดินทางระหว่างดาวเคราะห์จะใช้ความเร็วหลุดพ้น ซึ่งมีความเร็วสูงมาก[16]มีความเร็วประมาณ10,000กม./ชั่วโมง

อ้างอิง แก้

  1. "SPACEX WINS NASA COMPETITION TO REPLACE SPACE SHUTTLE" (Press release). Hawthorne, California: SpaceX. 8 September 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-03. สืบค้นเมื่อ 18 December 2011.
  2. 2.0 2.1 Clark, Stephen (18 May 2012). "Q&A with SpaceX founder and chief designer Elon Musk". SpaceFlightNow. สืบค้นเมื่อ 29 June 2012.
  3. 3.0 3.1 Bates, Daniel (9 December 2010). "Mission accomplished! SpaceX Dragon becomes the first privately funded spaceship launched into orbit and guided back to Earth". Daily Mail. London. สืบค้นเมื่อ 9 December 2010.
  4. 4.0 4.1 "Liftoff! SpaceX Dragon Launches 1st Private Space Station Cargo Mission". Space.com. 8 October 2012 (UTC). {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 "SpaceX Brochure – 2008" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-20. สืบค้นเมื่อ 9 December 2010.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ sx20090918
  7. 7.0 7.1 7.2 "Falcon 9 launches Dragon on CRS-1 mission to the ISS". NASASpaceflight.com. 7 October 2012. Retrieved 8 October 2012.
  8. Bowersox, Ken (25 January 2011). "SpaceX Today". SpaceX. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-25. สืบค้นเมื่อ 13 October 2011.
  9. Musk, Elon (17 July 2009). "COTS Status Update & Crew Capabilities" (PDF). SpaceX. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-12-24. สืบค้นเมื่อ 16 April 2012.
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ FirstDock
  11. Chang, Kenneth (25 May 2012). "Space X Capsule Docks at Space Station". New York Times. สืบค้นเมื่อ 25 May 2012.
  12. "SpaceX's Dragon Docks With Space Station—A First". National Geographic. 25 May 2012. สืบค้นเมื่อ 28 May 2012.
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ oct8Launch
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ sepLaunch
  15. "Press Briefed On the Next Mission to the International Space Station". NASA. 20 March 2012. สืบค้นเมื่อ 11 April 2012.
  16. Clark, Stephen (16 July 2010). "Second Falcon 9 rocket begins arriving at the Cape". Spaceflight Now. สืบค้นเมื่อ 16 July 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้