รหัสต้นทาง
รหัสต้นทาง, รหัสต้นฉบับ[a], ซอร์สโค้ด[4] (อังกฤษ: source code), หรืออาจจะเรียกแค่ว่า ซอร์ส (อังกฤษ: source) หรือ โคด (อังกฤษ: code) คือชุดของข้อความที่ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาโปรแกรมที่มนุษย์สามารถอ่านและเข้าใจได้ มักอยู่ในรูปของข้อความธรรมดา นักเขียนโปรแกรมมักสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยการเขียนรหัสต้นทาง
รหัสต้นทางจะถูกนำไปแปลงไปเป็นรหัสเครื่องในรูปเลขฐานสอง ได้โดยการใช้คอมไพเลอร์ (หรืออินเตอร์พรีเตอร์ สำหรับภาษาระดับสูงบางภาษา หรือแอสเซมเบลอร์ (assembler) สำหรับภาษาแอสเซมบลี)
โปรแกรมประยุกต์โดยส่วนใหญ่แล้วจะให้มาเฉพาะไฟล์สั่งทำการ หากมีการให้รหัสต้นทางมาด้วย มันจักเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้, นักเขียนโปรแกรม และผู้ดูแลระบบเป็นอย่างมาก
การจัดระเบียบ
แก้รหัสต้นทางนิยมเก็บไว้ในไฟล์หลายไฟล์ (มักเป็นไฟล์ข้อความ) นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ที่จะเขียนโปรแกรมเดียวกันด้วยรหัสต้นทางในภาษาโปรแกรมที่แตกต่างกัน เช่น โปรแกรมที่เขียนในภาษาซีโดยส่วนใหญ่ อาจจะมีบางส่วนทีเขียนในภาษาแอสเซมบลี เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
หมายเหตุ
แก้- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภาบัญญัติทั้งคำว่า "รหัสต้นทาง" และ "รหัสต้นฉบับ" [2] ส่วน WeChat ใช้คำว่า "รหัสต้นทาง" [3]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Programming in C: A Tutorial" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 February 2015.
- ↑ "ศัพท์บัญญัติ ๔๐ สาขาวิชา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา".
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "WeChat - รหัสต้นทาง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พ.ค. 2560.
- ↑ http://www.dla.go.th/upload/document/type14/2017/12/19204_1_1512617352720.pdf