ซาสึเกะ

(เปลี่ยนทางจาก SASUKE)

ซาสึเกะ (ญี่ปุ่น: サスケโรมาจิSasuke; ราชบัณฑิตยสภา: ซาซูเกะ) เป็นรายการเกมโชว์ของประเทศญี่ปุ่นโดยเกมการแข่งขันนั้นจะเน้นไปในทางทักษะทางร่างกายของผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งเอกลักษณ์หลักของรายการนี้นั่นก็คือความยากของด่านที่ผู้เข้าแข่งขันต้องผ่านไปด้วยตนเอง โดยชื่อของรายการนั้นได้แรงบัลดาลใจมาจากนินจาที่ชื่อซารูโทบิ ซาสึเกะ

ซาสึเกะ
โลโก้ของรายการซาสึเกะ (ค.ศ. 2018–ปัจจุบัน)
เป็นที่รู้จักกันในชื่อนินจาวอร์ริเออร์ (Ninja Warrior)
ซาซูเกะไรซิง (Sasuke Rising)
ซาซูเกะ คนกล้าท้าเกมโหด (แชมป์เฉือนแชมป์)
ญี่ปุ่นSASUKE (サスケ)
ประเภทกีฬา,
บันเทิง,
อุปสรรค
สร้างโดยอุชิโอะ ฮิงูจิ
กำกับโดยอุชิโอะ ฮิงูจิ (ค.ศ. 1997–2011)
มาซาโตะ อินุอิ (ค.ศ. 1997–2005, ค.ศ. 2012–ปัจจุบัน)
เสียงของอิจิโระ ฟุรุตาจิ (ค.ศ. 1997–2003)
ทาคาฮิโระ โทซากิ [ja] (ค.ศ. 1997)
เคซูเกะ ฮัตสึตะ [ja] (ค.ศ. 1998–2008, ค.ศ. 2010–14)
วาตารุ โองะซาวาระ [ja] (ค.ศ. 2005–2011, ค.ศ. 2019)
ฟูมิยะสึ ซาโต้ [ja] (ค.ศ. 2009–2011, ค.ศ. 2018)
โทโมฮิโระ อิชิอิ [ja] (ค.ศ. 2012–14)
ริวซึเกะ อิโตะ [ja] (ค.ศ. 2010, 2015)
ชินยะ สุกิยามะ [ja] (ค.ศ. 2016–ปัจจุบัน)
เค็นโกะ โคมาดะ [ja] (ค.ศ. 2004, ค.ศ. 2015–18)
ชินอิจิโระ อาซูมิ [ja] (ค.ศ. 2018–2019)
โทโมฮิโระ คีเระ [ja] (ค.ศ. 2020)
คาซาโตะ คุมาซากิ [ja] (ค.ศ. 2020–ปัจจุบัน)
มาซาโตชิ นัมบะ [ja] (ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน)
บรรยายโดยทาคาฮาชิ มัตสึโอะ (1997)
สึโตะมุ ทาเรกิ [ja] (ค.ศ. 1998–2005)
เค็น ไทระ [ja] (ค.ศ. 2005)
คิโยชิ โคบายาชิ (ค.ศ. 2006–2011)
ยูยะ ทาคากาวะ [ja] (ค.ศ. 2012–ปัจจุบัน)
มาซาโตะ โอบาระ [ja] (ค.ศ. 2014)
ประเทศแหล่งกำเนิดญี่ปุ่น
ภาษาต้นฉบับญี่ปุ่น
จำนวนตอน41 ครั้ง (การแข่งขัน) (รายชื่อตอน)
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตอุชิโอะ ฮิงูจิ [ja]
ผู้อำนวยการสร้างโยชิยูกิ โคงาเกะ
มาโคโตะ ฟูจิอิ
สถานที่ถ่ายทำภูเขามิโดริยามะ, เขตอาโอบะ, จังหวัดโยโกฮามะ[1]
ความยาวตอน120-360 นาทีพิเศษ
บริษัทผู้ผลิตมอนสเตอร์ไนน์ [ja] (ค.ศ. 1997–2011)
โตเกียวบรอดแคสติงซิสเท็ม (ค.ศ. 2012–ปัจจุบัน)
ออกอากาศ
เครือข่ายโตเกียวบรอดแคสติงซิสเท็ม
ออกอากาศ27 กันยายน ค.ศ. 1997 (1997-09-27) –
ปัจจุบัน
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
คินนิกุบันซึเกะ
คุโนะอิชิ,
Pro Sportsman No.1,
Viking: The Ultimate Obstacle Course

ซาสึเกะ ออกอากาศครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ทีบีเอสเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2540 ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างมากจนทำให้มีการสร้างเป็นวิดีโอเกมในช่วงพ.ศ. 2543และหลังจากนั้นไม่นานในต่างประเทศก็ได้ซื้อลิขสิทธิ์รายการนี้โดยเปลี่ยนชื่อเป็น Ninja Warrior (ไทย:นินจาวอริเออร์ (นักรบนินจา)) ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีการแข่งขันทั้งหมด 39 ครั้ง และมีการเปลี่ยนแปลงด่านภายในเกมทุกครั้งที่จัดการแข่งขัน โดยที่มีคนสามารถพิชิตเกมได้เพียง 4 คน 5 ครั้ง เท่านั้น และในปัจจุบันซาสึเกะได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น SASUKE Ninja Warrior โดยมีผู้เข้าแข่งขันจากหลายประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน

ในส่วนของประเทศไทยได้มีการซื้อลิขสิทธิ์รายการนี้โดย บริษัท เจเอสแอล จำกัด โดยใช้ชื่อรายการในภาษาไทยว่า เกมหิน พลังนินจา โดยเริ่มออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552 ถึง วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 22.20 น. โดยได้ทำการออกอากาศการแข่งขันที่เกิดขึ้นจริงทั้งสิ้น 8 ครั้ง คือ ตั้งแต่ครั้งที่ 8 ถึง ครั้งที่ 15 และได้ออกอากาศในไทยอีกครั้งโดยเป็นรายการแชมป์เฉือนแชมป์โดยใช้ชื่อว่า ซาซูเกะ คนกล้าท้าเกมโหด ออกอากาศทางช่องโมเดิร์นไนน์ทีวี ประมาณปี พ.ศ. 2554-2556

การจัดการแข่งขัน และรูปแบบการแข่งขัน

การจัดการแข่งขันนั้นจะจัดขึ้นปีละสองครั้ง คือ ช่วงเดือนมีนาคม และเดือนกันยายนของทุกปี ยกเว้นในการแข่งขันสี่ครั้งแรกที่จะจัดขึ้นทุกๆเดือนกันยายนของทุกปี

สำหรับรูปการแข่งขันของเกมนี้จะเป็นลักษณะของการใช้ทักษะทางร่างกายทั้งหมดในการผ่านด่านทั้งสี่ ซึ่งใช้วิธีการผลัดกันเล่นทีละคน

รายชื่อผู้แข่งขันที่มีชื่อเสียง

ชื่อตัวหนาคือมีผู้พิชิตแชมป์ในการแข่งขันทุกด่าน ส่วนชื่อตัวหนาพร้อมเอียงมีผู้พิชิตแชมป์ได้สองครั้ง

Sasuke All-Stars

  • ชิงโงะ ยามาโมโตะ
  • คัตสึมิ ยามาดะ
  • คาซูฮิโกะ อากิยามะ
  • โทชิฮิโร่ ทาเคดะ
  • มาโคโตะ นางาโนะ
  • บุนเป ชิราโทริ

Sasuke New Stars (Shin Sedai)

  • ชุนสึเกะ นางาซากิ
  • ยูจิ อุรุชิฮาระ
  • ฮิโตชิ คันโนะ
  • โคจิ ฮาชิโมโตะ
  • จุน ซาโต้
  • เรียว มาตาชิ
  • คาซึมะ อาสะ
  • ยูซูเกะ โมริโมโตะ
  • โทโมฮิโร่ คาวากูจิ
  • ชินยะ คิชิโมโตะ
  • มาซาชิ ฮิโอกิ
  • ยูซุเกะ สึซึกิ

Morimoto Stars (Morimoto Sedai)

  • ยูซูเกะ โมริโมโตะ
  • ทัตสึยะ ทาดะ
  • เคย์ทาโร่ ยามาโมโตะ
  • นาโอยูกิ อารากิ

ดูเพิ่ม

  1. "Sasuke 2005". Tbs.co.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-31. สืบค้นเมื่อ 2011-10-12.