รูปกุณฑ์
รูปกุณฑ์ (เทวนาครี: रूपकुण्ड, Roopkund; Rūpakuṇḍa) หรือรู้จักในชื่อ ทะเลสาบปริศนา (อังกฤษ: Mystery Lake) หรือ ทะเลสาบโครงกระดูก (อังกฤษ: Skeletons Lake)[1] เป็นทะเลสาบธารน้ำแข็งที่ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเลสูง ในรัฐอุตตราขัณฑ์ ประเทศอินเดีย ในบริเวณกลุ่มเขาตริศุลของเทือกเขาหิมาลัย พื้นที่บริเวณรอบ ๆ ทะเลสาบนั้นอยู่อาศัยไม่ได้ และที่ตั้งของทะเลสาบนั้นอยู่ที่ความสูง 16,470 ฟุต (5,020 เมตร) จากระดับน้ำทะเล[1] ล้อมรอบด้วยเขาและธารน้ำแข็ง รูปกุณฑ์เป็นจุดหมายปลายทางที่นิยมในการปีนเขา[2] ขนาดของทะเลสาบเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด แต่โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่เส้นผ่านศูนย์กลางราว 40 เมตร (1000 ถึง 1500 ตารางเมตร) และแข็งเป็นน้ำแข็งในฤดูหนาว[3]
รูปกุณฑ์ | |
---|---|
| |
ภาพถ่ายทะเลสาบเมื่อปี 2014 | |
ที่ตั้ง | จาโมลี รัฐอุตตราขัณฑ์ |
พิกัด | 30°15′44″N 79°43′54″E / 30.26222°N 79.73167°E |
ความลึกโดยเฉลี่ย | 2 เมตร (6 ฟุต 7 นิ้ว) |
ความสูงของพื้นที่ | 4,536 เมตร (14,882 ฟุต) |
รูปกุณฑ์มีความลึกราว 3 เมตร และเป็นที่รู้จักจากการพบโครงกระดูกของมนุษย์หลายร้อยร่างบริเวณขอบทะเลสาบ[4] และบางส่วนจมอยู่ใต้ทะเลสาบ ซึ่งสามารถมองเห็นหากหิมะละลาย[5] งานวิจัยโดยทั่วไปเชื่อว่าเป็นโครงกระดูกของกลุ่มคนกึ่งในตำนานที่เสียชีวิตโดยฉับพลันจากพายุหิมะ/ลูกเห็บรุนแรงในศตวรรษที่เก้า[6] โครงกระดูกเหล่านี้ทำให้ทะเลสาบได้ชื่อในระยะหลัง ๆ ว่า ทะเลสาบโครงกระดูก[7]
โครงกระดูกมนุษย์
แก้โครงกระดูกเหล่านี้ค้นพบในปี 1942 โดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาตินันทาเทวี อย่างไรก็ตามปรากฏการรายงานการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ที่นี่ย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ 9 ในตอนแรกที่โครงกระดูกถูกค้นพบ เจ้าหน้าที่อาณานิคมอังกฤษเกรงกลัวว่านี่เป็นร่างของทหารญี่ปุ่นที่เข้ามารุกรานแต่ต่อมาก็พบว่ามีอายุเก่าแก่กว่านั้นมาก[6] โครงกระดูกที่จมอยู่ใต้ทะเลสาบจะเห็นชัดมากเป็นเวลาหนึ่งเดือนที่ซึ่งหิมะละลาย[1] นอกจากโครงกระดูกมนุษย์แล้วยังพบเครื่องมือไม้, หัวหอกทำจากโลหะ, รองเท้าแตะหนัง[8] และแหวน ในปี 2003 ทีมงานของนิตยสาร เนชันนอลจีโอกราฟิก ได้กู้โครงกระดูกราว 30 ร่างขึ้นมา และพบว่าบางส่วนยังปรากฏเนื้อหนังของร่างติดอยู่กับกระดูก[1]
การชันสูตร
แก้ตำนานท้องถิ่นเล่าว่า กษัตริย์แห่งกานาวจ์พระนาม ราชา ชัสธวัล (Raja Jasdhaval) และพระมเหสี ราณี พลัมปา (Rani Balampa) รวมถึงข้าราชบริพารและนางบำเรอได้เดินทางจาริกแสวงบุญไปยังเทวสถานของพระนางนันทาเทวี ก่อนจะเสียชีวิตหลังประสบกับพายุหิมะ/พายุลูกเห็บครั้งรุนแรงในบริเวณรูปกุณฑ์[9][10]
ซากของมนุษย์ที่พบมีจำนวนราว 300 ร่าง กรมสำรวจโบราณคดีอินเดียได้ทำการศึกษาโครงกระดูกเหล่านี้ในทศวรรษ 1950s และได้นำบางส่วนจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์กรมสำรวจมานุษยวิทยาอินเดีย (Anthropological Survey of India Museum) ในเดหราดุน[11] จากการศึกษาโครงกระดูก เผยให้เห็นว่ามีบาดแผลที่ศีรษะ[12] ข้อมูลจากบางแหล่งเชื่อว่าร่างเหล่านี้[13] เสียชีวิตจากวัตถุทรงกลมที่ตกลงมาจากด้านบน งานวิจัยจำนวนมากได้ข้อสรุปว่าร่างเหล่านี้เสียชีวิตโดยฉับพลันในพายุหิมะ ซึ่งตรงกับที่เล่าขานในตำนานท้องถิ่น[6][13] การตรวจวัดอายุคาร์บอนของโครงกระดูกโดยหน่วยเรดิโอคาร์บอนแอคซีรีเลเทอร์ (Radiocarbon Accelerator Unit) ของมหาวิทยาลัยออกซ์เฟิด คาดการณ์เวลาเสียชีวิตของร่างที่ราวปี 850 โดยอาจคลาดเคลื่อน ±30 ปี[ต้องการอ้างอิง] ข้อมูลล่าสุดจากการตรวจวัดอายุคาร์บอนและการวิเคราะห์จีโนมพบว่าร่างต่าง ๆ นั้นมาจากยุคเวลาที่แตกต่างกัน และมาจากกลุ่มคนที่แตกต่างกัน[14][15] กลุ่มของร่างที่มีเชื้อสายเอเชียใต้มีอายุราวปี 800 ในขณะที่ร่างอื่น ๆ ที่มีเชื้อสายเมดิเตอร์เรเนียนหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอายุราวปี 1800[15]
ความกังวลและการอนุรักษ์
แก้จำนวนของโครงกระดูกในรูปกุณฑ์ได้ลดจำนวนลงเรื่อย ๆ จึงมีความกังวลเกิดขึ้นว่าถ้าหากไม่มีการอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม อาจทำให้โครงกระดูกเหล่านี้ค่อน ๆ สาบสูญไปหมดในอนาคต[16] มีรายงานนักท่องเที่ยวขนโครงกระดูกกลับไปจำนวนมาก และรัฐบาลอำเภอก็เคยแสดงความเป็นห่วงต่อกรณีนี้[11] รัฐบาลอำเภอจาโมลีมีความเห็นให้คุ้มครองพื้นที่เพื่อป้องกันการลักลอบขนโครงกระดูกออกจำนวนมาก[9] ในขณะที่หน่วยงานรัฐมีความพยายามในการพัฒนารูปกุณฑ์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์[17]
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้โครงกระดูกมนุษย์ที่รูปกุณฑ์ปรากฏในสารคดีของ เนชั่นนอลจีโอกราฟิก ในชื่อ "Riddles of the Dead: Skeleton Lake" (แปล: ปริศนาของความตาย: ทะเลสาบโครงกระดูก)[18][19]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Alam, Aniket (29 June 2004). "Fathoming the ancient remains of Roopkund". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-11-07. สืบค้นเมื่อ 29 May 2013.
- ↑ Kohli, M.S. (2000). The Himalayas : playground of the gods : trekking, climbing, adventure. New Delhi: Indus Publishing Co. p. 79. ISBN 9788173871078.
- ↑ https://www.nature.com/articles/s41467-019-11357-9
- ↑ Andrews, Robin George (20 August 2019). "The Mystery of the Himalayas' Skeleton Lake Just Got Weirder: Every summer, hundreds of ancient bones emerge from the ice. A new genetic study helps explain how they got there". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 14 October 2019.
- ↑ Sati, Vishwambhar Prasad; Kumar, Kamlesh (2004). Uttaranchal : dilemma of plenties and scarcities (1st ed.). New Delhi: Mittal Publ. p. 82. ISBN 9788170998983.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "Skeleton Lake of Roopkund, India". Atlas Obscura. สืบค้นเมื่อ 25 October 2016.
- ↑ "Roopkund lake's skeleton mystery solved! Scientists reveal bones belong to 9th century people who died during heavy hail storm". India Today. 31 May 2013. สืบค้นเมื่อ 12 June 2013.
- ↑ Hari Menon (8 November 2004). "Bones Of A Riddle". สืบค้นเมื่อ 31 May 2013.
- ↑ 9.0 9.1 "Roopkund's human skeletons go missing". Deccan Herald. 24 September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2015. สืบค้นเมื่อ 31 May 2013.
- ↑ Vicki, Pomeroy (2007). Deep in the Indian Himalaya. Garhwal Publishing. p. 63. ISBN 9780615156972.
- ↑ 11.0 11.1 Kazmi, SMA (12 November 2007). "Tourists to Roopkund trek back with human skeletons". The Indian Express.
- ↑ Pant, Alka Barthwal (2018). "Roopkund Mystery "Pathology Reveals Head Injury behind the Casualties" (PDF). Heritage: Journal of Multidisciplinary Studies in Archaeology. 6 (2018): 1084‐1096. สืบค้นเมื่อ 2020-07-27.
- ↑ 13.0 13.1 Orr, David (2004-11-07). "Giant hail killed more than 200 in Himalayas". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2020-07-27.
- ↑ "8th International Symposium on Biomolecular Archaeology" (PDF). isba8.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-19.
- ↑ 15.0 15.1 Rai, Niraj; Reich, David; Thangaraj, Kumarasamy; Kennett, Douglas J.; Boivin, Nicole; Roberts, Patrick; Diyundi, Subhash Chandra; Kumar, Sachin; Bartwal, Maanwendra Singh (20 August 2019). "Ancient DNA from the skeletons of Roopkund Lake reveals Mediterranean migrants in India". Nature Communications (ภาษาอังกฤษ). 10 (1): 3670. Bibcode:2019NatCo..10.3670H. doi:10.1038/s41467-019-11357-9. ISSN 2041-1723. PMC 6702210. PMID 31431628.
- ↑ "Skeletons:AWOL". Satesman 16.7.2005. uttarakhand.org (Govt. website). สืบค้นเมื่อ 30 May 2013.
- ↑ Kazmi, SMA (5 February 2009). "Roopkund's skeletal tales". The Tribune. สืบค้นเมื่อ 30 May 2013.
- ↑ "Skeleton Lake". Miditech.tv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2012. สืบค้นเมื่อ 2 June 2012.
- ↑ Riddles of the Dead Episode Guide, National Geographic Channel
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คู่มือการท่องเที่ยว Uttarakhand จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- Roopkund Trek, District Administration-Almora
- Roopkund Lake[ลิงก์เสีย]. Garhwali Traveller
- Dunning, Brian (August 14, 2012). "Skeptoid #323: 8 Spooky Places, and Why They're Like That". Skeptoid.
4. The Skelton Lake of Roopkund
- Aitken, Bill. The Nanda Devi Affair, Penguin Books India, 1994. ISBN 0140240454.