ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง

(เปลี่ยนทางจาก Red blood cell distribution width)

ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง (อังกฤษ: Red blood cell distribution width; RDW หรือ RCDW) เป็นการวัดความกว้างของการกระจายของขนาดเม็ดเลือดแดงโดยเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ ขนาดเม็ดเลือดแดงปกติจะอยู่ที่ 6-8 μm ความผิดปกติบางอย่างอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของขนาดเม็ดเลือดแดงได้

เม็ดเลือดแดงของคน

ค่า RDW ที่สูง บ่งบอกว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงของขนาดเม็ดเลือดแดงอย่างมาก ซึ่งค่าปกติของ RDW ในมนุษย์จะอยู่ที่ 11-15% ในภาวะการเกิดโรคโลหิตจางนั้น ผลการตรวจ RDW มักจะถูกนำมาแปลผลร่วมกับปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (MCV) เพื่อประเมินถึงสาเหตุของการเกิดโลหิตจาง การขาดวิตามินบี 12 นำไปสู่การเกิดโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดขนาดใหญ่ (Macrocytic anemia) แต่ค่า RDW จะมีค่าปกติ แต่โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจะพบว่าขนาดเม็ดเลือดจะมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ค่า RDW จึงสูงกว่าปกติ ส่วนโลหิตจางที่เกิดจากการขาดวิตามินบี 12 ร่วมกับการขาดธาตุเหล็กนั้น เราจะพบว่าเม็ดเลือดแดงขนาดเล็กและขนาดใหญ่ผสมกัน ดังนั้น ค่า RDW จึงมีค่าที่สูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของ RDW ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเม็ดเลือดแดงมี ขนาดไม่เท่ากันนั้น เรียกว่า ภาวะเม็ดเลือดแดงหลากขนาด (anisocytosis)[1]

การคำนวณ แก้

คำว่า "ความกว้าง" ในการวัดความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดงนั้นอาจนำไปสู่การเข้าใจผิดได้ เนื่องจากค่า RDW เป็นการวัดความเบี่ยงเบนของ "ปริมาตร" ของเม็ดเลือดแดง ไม่ใช่การวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของเม็ดเลือดแดงโดยตรง อย่างไรก็ตาม ความกว้างในที่นี้หมายถึงความกว้างของการกระจายตัวของปริมาตรเม็ดเลือดแดงไม่ใช่ความกว้างของเซลล์ ดังนั้น การใช้คำนี้จึงเป็นคำที่ถูกต้อง[2][3]

ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดงมีสูตรการคำนวณจาก

RDW = (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของ MCV ÷ ค่าเฉลี่ยของ MCV) × 100. [4]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้