สิงหาแดง

(เปลี่ยนทางจาก Red August)

สิงหาแดง (จีนตัวย่อ: 红八月; จีนตัวเต็ม: 紅八月; พินอิน: Hóng Bāyuè) เป็นคำเรียกระยะเวลาที่เกิดความรุนแรงทางการเมืองและการสังหารหมู่ในปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เริ่มต้นในเดือนสิงหาคม 1966 ระหว่างการปฏิวัติทางวัฒนธรรม[1][2][3] สถิติทางการของรัฐที่ตีพิมพ์ในปี 1980 ระบุว่าระหว่างสิงหาแดง ยุวชนแดงในปักกิ่งสังหารผู้คนรวม 1,772 คน, บุกรุกทำลายบ้านเรือน 33,695 หลังคาเรือน และเป็นผลให้ครอบครัว 85,196 ครัวเรือนไร้ที่อยู่อาศัย[1][4] อย่างไรก็ตาม ในสถิติทางการของรัฐที่ตีพิมพ์ใหม่ในปี 1985 ระบุยอดเสียชีวิตในปักกิ่งระหว่างสิงหาแดงอยู่ที่ 10,275 คน[4][5][6]

สิงหาสีแดง
เป็นส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติทางวัฒนธรรม
เหมา เจ๋อตง พบปะกับยุวชนแดงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในวันที่ 18 สิงหาคม 1966 จุดเริ่มต้นของระลอกการฆาตกรรมทั่วปักกิ่ง
ชื่อท้องถิ่น红八月
สถานที่ปักกิ่ง ประเทศจีน
วันที่1966
สิงหาคม 1966 – กันยายน 1966
เป้าหมายครูอาจารย์, ปัญญาชน, สมาชิก "ห้าจำพวกดำ", ผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น และผู้ที่เข้าใจว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อเหมา เจ๋อตง
ประเภทการสังหารหมู่ด้วยเหตุทางการเมือง, ความรุนแรงที่มีการเมืองนำพา
ตาย10,275
ผู้ก่อเหตุพรรคคอมมิวนิสต์จีน, ยุวชนแดง
เหตุจูงใจการทำลายล้าง สี่สิ่งเก่า และ ห้าจำพวกดำ

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 1966 เหมา เจ๋อตง เข้าพบกับ ซ่ง ปินปิน ผู้นำยุวชนแดง ต่อหน้าจัตุรัสเทียนอันเหมิน[7][8] เหตุการณ์นี้นำไปสู่ระลอกความรุนแรงและการสังหารหมู่ในปักกิ่งโดยยุวชนแดง ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เริ่มขบวนการทำลายล้าง "สี่สิ่งเก่า"[1][8][9] การสังหารหมู่โดยยุวชนแดงยังลุกลามออกไปตามเขตชนบทรอบปักกิ่ง ซึ่งรวมถึงการสังหารหมู่ต้าซิง ที่ซึ่ง 325 คนถูกสังหารระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน ในอำเภอต้าซิงของกรุงปักกิ่ง[10][11][12] นอกจากนี้ยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่ทำการฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตายหลังถูกจับ เช่น นักเขียน เลา เชอ, โจว ซัวเริน และ เชิน เมงเจีย[1][10][13][14] ระหว่างสิงหาแดง เหมา เจ๋อตง ได้สั่งการโดยตรงไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐคนใดขัดขวางการกระทำของยุวชนแดง กระทรวงความมั่นคงสาธารณะยังสั่งให้ตำรวจปกป้องยุวชนแดง ไม่ให้จับกุม[9][15][16][17] กระนั้น เหตุการณ์นี้เริ่มบานปลายเกินควบคุมในเดือนสิงหาคม 1966 ทำให้คณะกรามการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) และรัฐบาลต้องทำการแทรกแซงจนค่อย ๆ ลดการสังหารหมู่โดยยุวชนแดงลง[16][18] จนสิ้นสุดในเดือนกันยายน

สิงหาแดงถือเป็นจุดเริ่มต้นของความสะพรึงสีแดง (Red Terror) ในจีน[1][9][19] รวมถึงเคยถูกนำไปเปรียบเปรยกับคืนกระจกแตกของนาซีเยอรมนี[20][21][22][23][24] และการสังหารหมู่หนานจิงของกองทัพญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง[22][23][24][25][26]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Wang, Youqin (2001). "Student Attacks Against Teachers: The Revolution of 1966" (PDF). The University of Chicago. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-17.
  2. Phillips, Tom (2016-05-11). "The Cultural Revolution: all you need to know about China's political convulsion". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-08. สืบค้นเมื่อ 2019-12-23.
  3. Dong, Yifu (13 September 2016). "My Grandfather Survived China's Cultural Revolution. Why Does He Still Love Mao?". Foreign Policy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-24. สืบค้นเมื่อ 2019-12-23.
  4. 4.0 4.1 Song, Yongyi (2011-10-11). "文革中"非正常死亡"了多少人? ---- 读苏扬的《文革中中国农村的集体屠杀》" [How many people "died unnaturally" during the Cultural Revolution?]. China News Digest (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-17. 有关北京市文革的受害者人数,目下最流行的大都引用文革初期北京市公安局对“红色恐怖”中死亡数的统计:1,772 人。另有33,695户被抄家,85,196个家庭被驱逐出北京。其实,1985年11月5日北京市核查工作会议的工作报告“加强领导,再接再厉,全面做好二期整党的核查工作”有过新的调查和统计。其中死亡数为10,275 (增长率580%);被抄家为92,000户 (增长率273%),被驱逐出北京的家庭为125,000 (增长率147%) 。从官方矛盾的陈述中可以清楚地看到:公开的数字被大大地缩小了。
  5. Peng, Xiaoming (2013-03-02). "记下老红卫兵的血债" [On the "bloody debt" of the "Old" Red Guards]. Beijing Spring (北京之春) (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-09. สืบค้นเมื่อ 2019-12-10. 1966红八月打人死亡数为10,275人 ;被抄家为92,000户 ,被驱逐出北京的家庭为125,000户,《1985年11月5日北京市核查工作会议的工作报告“加强领导,再接再厉,全面做好二期整党的核查工作”》(《动向》2011年9月号)
  6. Sai, Hongqiu. "毛泽东大笑谈杀人" [Mao Zedong talked about killing people with laughter]. Boxun (ภาษาจีน). 北京周末诗会. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-10.
  7. Wang, Youqin. "Victim of the Cultural Revolution——An Investigative Account of Persecution, Imprisonment and Murder" (PDF). The University of Chicago (ภาษาจีน). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-12.
  8. 8.0 8.1 Yu, Luowen. "文革时期北京大兴县大屠杀调查" [An investigation of the Daxing Massacre in Beijing during the Cultural Revolution]. Chinese University of Hong Kong (ภาษาจีน). Lecture Room. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-09. สืบค้นเมื่อ 2019-12-10. 婴儿往往是被劈成两半。有的孩子被孤零零地留在家里,打手们到各家搜,见到小孩就扔到门口的马车上,多数孩子被活活摔死了。死人都被埋在村北边的苇塘里,后来人们管那里叫“万人坑”。有的小孩没被摔死,从“万人坑”里还想往外爬,打手们上去就是一铁锹,再把他打回去。
  9. 9.0 9.1 9.2 Song, Yongyi (2011-08-25). "Chronology of Mass Killings during the Chinese Cultural Revolution (1966–1976)". Sciences Po (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-10. สืบค้นเมื่อ 2019-11-30.
  10. 10.0 10.1 "A Massacre in Daxing County During the Cultural Revolution". Chinese Law & Government (ภาษาอังกฤษ). 14 (3): 70–71. 2014-12-07. doi:10.2753/CLG0009-4609140370.
  11. Jian, Guo; Song, Yongyi; Zhou, Yuan (2015-07-23). Historical Dictionary of the Chinese Cultural Revolution (ภาษาอังกฤษ). Rowman & Littlefield. ISBN 978-1-4422-5172-4.
  12. Southerl, Daniel (1994-07-18). "A NIGHTMARE LEAVES SCARS, QUESTIONS". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-24.
  13. Brady, Paul (1974). "Death and the Nobel-On Lao She's "Suicide"" (PDF). Chinese University of Hong Kong. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-27.
  14. "PKU Today in History - May 6: Passing of Zhou Zuoren". Peking University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-30. สืบค้นเมื่อ 2024-05-09.
  15. Sun, Yancheng (2012). "血统论和大兴"八三一"事件" [Bloodline theory and the Daxing Massacre]. Phoenix New Media (ภาษาจีน). Yanhuang Chunqiu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-10.
  16. 16.0 16.1 Feng, Xiang (2014). "王晶垚: "我,没有忘记历史"" [Wang Jingyao: I, have not forgotten history]. Phoenix New Media (ภาษาจีน). Southern Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-10. สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.
  17. "对红卫兵组织失去信任 毛泽东决定下放知青始末" [Losing faith in the Red Guards organizations, Mao Zedong decided to "send the youths to the countryside"]. Phoenix New Media (ภาษาจีน). People's Net. 2009-12-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-27. สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.
  18. Wang, Nianyi (2006-06-13). "《亲历重庆大武斗》序". China News Digest (华夏文摘) (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-19. สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.
  19. Lasseter, Tom. "Chinese haunted by bloody 'Red August'". Austin American-Statesman (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-06-12.
  20. Ma, Sheng-Mei (1987-01-01). "Contrasting Two Survival Literatures: On the Jewish Holocaust and the Chinese Cultural Revolution". Holocaust and Genocide Studies (ภาษาอังกฤษ). 2 (1): 81–93. doi:10.1093/hgs/2.1.81. ISSN 8756-6583.
  21. "王容芬经历的"8·18"" [Wang Rongfang's experience on "August 18"]. Deutsche Welle (ภาษาจีน). 2011-08-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-10. สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.
  22. 22.0 22.1 Wang, Chuanye. "沉重的回忆(41)"文革"风暴到来的时候" [Heavy memories (41): when the storm of "Cultural Revolution" arrived]. Chinese University of Hong Kong (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-24.
  23. 23.0 23.1 Xi, Ligong (2012). "也说"老红卫兵"" [On the "Old" Red Guards]. Boxun (ภาษาจีน). Consensus Net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-10. สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.
  24. 24.0 24.1 Lang, Jun (2012). "伫视王晶垚-宋彬彬对簿历史的公堂——《宋彬彬谈话纪要》的解读及其它(下)" [Looking at the court of history between Wang Jinyao and Song Binbin]. China News Digest (华夏文摘) (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-11.
  25. Luo Ri, Yu Deng (2018-12-13). "建構文化創傷——從南京大屠殺與「文革」說起" [Constructing cultural tramas——beginning from the Nanjing Massacre and the Cultural Revolution]. Initium Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-11. สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.
  26. Ma, Jian (2016). "谁敢把皇帝拉下马?----文革五十周年反思" [Who dares to drag the Emperor down from the horse: reflection written on the fiftieth anniversary of the Cultural Revolution]. Independent Chinese PEN Center (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-28. สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.