เสือไฟแอฟริกา
เสือไฟแอฟริกา | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Felidae |
วงศ์ย่อย: | Felinae |
สกุล: | Caracal (Severtzov, 1858) |
สปีชีส์: | C. aurata |
ชื่อทวินาม | |
Caracal aurata (Temminck, 1827) | |
ชนิดย่อย | |
(ดูในเนื้อหา) | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
เสือไฟแอฟริกา [2]หรือ แมวทองแอฟริกา (อังกฤษ: African golden cat; ชื่อวิทยาศาสตร์: caracal aurata[3]) เสือขนาดเล็กหรือแมวชนิดหนึ่ง กระจายพันธุ์อยู่ในทวีปแอฟริกา
เสือไฟแอฟริกามีลักษณะทั่วไปคล้ายกับเสือไฟที่พบในทวีปเอเชีย ทั้งที่พบกันคนละทวีปที่ห่างไกลกัน เชื่อว่าในยุคก่อนประวัติศาสตร์ราวหนึ่งล้านปีก่อนแผ่นดินใหญ่ในจีนจนถึงทวีปแอฟริกาในปัจจุบันเชื่อมต่อกันเป็นป่าเดียวกัน แต่ต่อมาถูกคั่นด้วยทะเลทรายกว้างใหญ่หลายแห่ง เสือไฟในสองทวีป จึงถูกตัดขาดจากกัน และมีวิวัฒนาการแยกออกจากกัน หรือเป็นผลของการวิวัฒนาการแบบเข้าหากัน[2] โดยเสือไฟแอฟริกาจัดอยู่เพียงสองชนิดเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Caracal ที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์ และมีสายพันธุกรรมใกล้เคียงกับคาราคัลและเซอร์วัล ซึ่งล้วนเป็นแมวหรือเสือขนาดเล็กที่พบในทวีปแอฟริกาเช่นเดียวกัน[4][3]
มีความยาวลำตัว 72–98 เซนติเมตร ตัวผู้น้ำหนักเฉลี่ย 11–14 กิโลกรัม พบหนักที่สุด 18 กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย สีลำตัวมีหลากหลายมาก ตั้งแต่สีทอง, น้ำตาลแดง, ส้ม ไปจนถึงสีเทาเงิน จนบางครั้งเคยเข้าใจว่าเป็นสัตว์คนละชนิดกัน เคยพบรายงานว่าเสือไฟแอฟริกาในกรงเลี้ยงเปลี่ยนสีไปตามอายุและสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น เสือไฟแอฟริกาตัวหนึ่งในสวนสัตว์ลอนดอนเปลี่ยนสีจากน้ำตาลแดงทั้งตัวไปเป็นสีเทาทั้งตัวภายในเวลา 4 เดือน และลวดลายก็มีมีลายต่างกัน 4 แบบ คือ ลายจุดทั่วทั้งตัว, ลายจุดจางบนหลังกับคอ, ลายที่สีข้าง และลายที่หน้าท้อง ประชากรที่อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำซาอีร์มักมีจุดมากกว่าพวกทางตะวันออก[4][5]
แก้ม, คาง และใต้ลำตัวสีจาง ใบหน้ามีลายแต้มขาวหลายแต้มรอบตาและเหนือปาก ใต้ท้องและด้านในขาสีซีดมีจุดสีเข้มประปราย หัวค่อนข้างเล็ก ปากค่อนข้างใหญ่ ม่านตาอาจมีสีหลายแบบตั้งแต่สีเขียวจนถึงสีน้ำตาลทอง หูเล็ก ใบหูกลม หลังหูมีสีดำ หางยาวไม่เกิน 40 เซนติเมตร มักมีความยาวไม่เกินครึ่งหนึ่งของความยาวหัวและลำตัว และมีสีเส้นสีเข้มที่ด้านบนของหาง ปลายหางสีน้ำตาลหรือสีดำ บางตัวอาจมีปล้องจาง ๆ อีกทั้งยังมีรายงานพบว่าเสือไฟแอฟริกาบางตัวมีสีดำตลอดทั้งลำตัวแบบเสือดำด้วย โดยสามารถพบได้ทั่วไปทั้งทวีป[4]
พบกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก โดยสามารถพบได้ในที่ ๆ มีความสูงถึง 3,000 เมตร (9,800 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ
ลูกเสือไฟแอฟริกาแรกเกิดมีน้ำหนักประมาณ 180–235 กรัม (6.3–8.3 ออนซ์) แต่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างรวดเร็วเมื่อเปรียบเทียบกับแมวหรือเสือขนาดเล็กชนิดอื่น โดยมีตัวหนึ่งเติบโตได้จนถึงมีความยาว 40 เซนติเมตร (16 นิ้ว) ภายในเวลา 16 วันนับตั้งแต่เกิด สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการการเติบโตได้เป็นอย่างดี ตาจะเปิดภายในเวลาหนึ่งสัปดาห์ และจะหย่านมเมื่ออายุได้ 6–8 สัปดาห์ ตัวผู้จะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 18 เดือน ขณะที่ตัวเมีย 11 เดือน แม่เสือไฟแอฟริกาจะมีช่วงเว้นระยะเวลาตั้งท้องกับการให้กำเนิดลูกประมาณ 75 วัน
มีอายุเต็มที่ในที่เลี้ยง 12 ปี แต่วงจรชีวิตและอายุขัยในธรรมชาติยังไม่เป็นที่ทราบโดยแน่ชัด[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ Breitenmoser, C., Henschel, P. & Sogbohossou, E. (2008). Profelis aurata. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 15 September 2011. Database entry includes justification for why this species is near threatened
- ↑ 2.0 2.1 2.2 ผ่อง เล่งอี้. สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง. พิมพ์ครั้งแรก, กรุงเทพ:เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป, 2538
- ↑ 3.0 3.1 Wozencraft, W. Christopher (16 November 2005). "Order Carnivora (pp. 532-628)". In Wilson, Don E., and Reeder, DeeAnn M., eds. Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2 vols. (2142 pp.). pp. 533. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Sunquist, Mel; Sunquist, Fiona (2002). Wild cats of the World. Chicago: University of Chicago Press. pp. 246–251. ISBN 0-226-77999-8.
- ↑ Burnie D and Wilson DE (Eds.), Animal: The Definitive Visual Guide to the World's Wildlife. DK Adult (2005), ISBN 0789477645.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Profelis aurata ที่วิกิสปีชีส์