ขีปนาวุธ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ในการทหารสมัยใหม่ ขีปนาวุธ (อังกฤษ: missile มิสไซล์) หรือ อาวุธปล่อยนำวิถี หมายถึงอาวุธขับเคลื่อนนำวิถี (ตรงข้ามกับระบบอาวุธขับเคลื่อนแบบไม่นำวิถี ซึ่งเรียกว่า จรวด) ขีปนาวุธมีส่วนประกอบหลักอยู่สี่ส่วน คือ ระบบกำหนดเป้าและนำวิถี, ระบบควบคุมทิศทาง, จรวดขับดัน และ หัวรบ ขีปนาวุธสามารถจำแนกออกได้เป็นหลายประเภทตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ขีปนาวุธพื้นสู่พื้น, ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น, ขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ หรือ ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ โดยขีปนาวุธที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมดถูกออกแบบมาให้ใช้พลังงานขับดันจากการทำปฏิกิริยาเคมีภายในเครื่องยนต์จรวด, เครื่องยนต์ไอพ่น หรือเครื่องยนต์ประเภทอื่นๆ

ขีปนาวุธถูกใช้งานครั้งแรกโดยเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ขีปนาวุธแบบแรกของโลกมีชื่อว่า จรวด วี-1 (V-1 flying bomb) เป็นลูกระเบิดที่ติดปีกและเครื่องไอพ่นเข้าไป ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น จรวด วี-2 ที่รวมเครื่องยนต์ไอพ่นไว้ในตัว และติดตั้งครีบที่ปลายจรวดแทนปีกที่ตัดออก เป็นลักษณะสากลของขีปนาวุธที่ใช้จวบจนปัจจุบัน
ในภาษาไทย คำว่า ขีปนาวุธ เป็นคำสนธิระหว่างคำว่า ขีปน (แปลว่า "ซัด, เหวี่ยง") กับคำว่า อาวุธ ส่วนในภาษาอังกฤษ คำว่า missile มาจากคำละตินที่ว่า mittere มีความหมายว่า "ส่งไป"
การจำแนกพิสัยปฏิบัติการแก้ไข
ขีปนาวุธแบ่งออกตามลักษณะการเดินทางออกเป็นสองประเภท คือ ขีปนาวุธทิ้งตัวและขีปนาวุธร่อน
ขีปนาวุธทิ้งตัวแก้ไข
- ขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยใกล้ (Short-range ballistic missile) พิสัย 300 ถึง 1,000 กม.
- ขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยกลาง (Medium-range ballistic missile) พิสัย 1,000 ถึง 3,500 กม.
- ขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยปานกลาง (Intermediate-range ballistic missile) พิสัย 3,500-5,500 กิโลเมตร
- ขีปนาวุธทิ้งตัวข้ามทวีป (Intercontinental ballistic missile) พิสัย ≥5,500 กิโลเมตร
ขีปนาวุธร่อนแก้ไข
- ขีปนาวุธพิสัยใกล้ (Short-range missile)
- ขีปนาวุธพิสัยไกล (Long-range missile)
เทคโนโลยีแก้ไข
ขีปนาวุธนำวิถีมีจำนวนส่วนประกอบของระบบที่แตกต่างกัน:
- การกำหนดเป้าหมายหรือการนำวิถีขีปนาวุธ (missile guidance)
- ระบบการบิน
- เครื่องยนต์
- หัวรบ
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- S. A. Kamal, A. Mirza: The Multi-Stage-Q System and the Inverse-Q System for Possible application in SLV เก็บถาวร 2010-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Proc. IBCAST 2005, Volume 3, Control and Simulation, Edited by Hussain SI, Munir A, Kiyani J, Samar R, Khan MA, National Center for Physics, Bhurban, KP, Pakistan, 2006, pp 27–33 Free Full Text
- S. A. Kamal: Incorporating Cross-Range Error in the Lambert Scheme เก็บถาวร 2010-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Proc. 10th National Aeronautical Conf., Edited by Sheikh SR, Khan AM, Pakistan Air Force Academy, Risalpur, KP, Pakistan, 2006, pp 255–263 Free Full Text
บทความเกี่ยวกับทหาร การทหาร หรืออาวุธนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:การทหาร |