แร่

(เปลี่ยนทางจาก Mineral)

แร่ (อังกฤษ: mineral) เป็นธาตุหรือสารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ด้วยกระบวนการทางอนินทรีย์ ส่วนใหญ่เป็นของแข็ง มีโครงสร้างภายในที่เป็นระเบียบ มีสูตรเคมีและสมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอนคงที่หรืออาจเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัด

ผลึกแร่ชนิดต่าง ๆ

แร่แบ่งตามองค์ประกอบทางเคมี

แก้
  1. แร่ธาตุธรรมชาติ (Native elements) มักจะอยู่รวมตัวกันเป็นสารประกอบ แต่บางชนิดอยู่กันเดี่ยว ๆ ในรูปธาตุธรรมชาติ แบ่งได้เป็น
    1. โลหะ ได้แก่ เงิน ทองแดง ทองคำ ทองคำขาว
    2. อโลหะ ได้แก่ กำมะถัน แกรไฟต์ เพชร
  2. ซัลไฟด์ (sulphides) แร่กลุ่มนี้ เป็นสารเริ่มต้นของโลหะผสม แร่ซัลไฟด์มักเกิดเป็นสายแร่ จากหินหนืดที่เย็นลงในอุณหภูมิต่าง ๆ กัน ดังนั้น จึงหลอมง่าย และ อับแสง
  3. ซัลโฟซอล (sulphosalt) ในโครงสร้างผลึกแร่เดียวกันประกอบด้วยธาตุโลหะหรือกึ่งโลหะ และทำตัวเหมือนโลหะ ได้แก่พวก ตะกั่ว พลวง
  4. ออกไซด์ ออกไซด์เชิงช้อน และไฮดรอกไซด์ (Oxides, Multiple Oxides and Hydroxides) เป็นธาตุที่มีจำนวนมากและหายาก แต่ธาตุที่มีประโยชน์นั้นมีน้อย ประกอบอยู่ในหินแปร และ หินอัคนี เป็นธาตุที่ทนทานและแข็งแรง จึงมีค่าทางเศรษฐกิจมาก เช่น เหล็ก (ฮีมาไทต์ แมกนีไทต์ )
  5. เฮไลด์ (Halides) ประกอบอยู่ด้วยธาตุหมู่ฮาโลเจน (ธาตุหมู่ 7) ตัวอย่างเช่น Atacamite, Fluorite
  6. ซัลเฟต (sulphates) สามารถจำแนกได้เป็นสองชนิด คือ
    1. Anhydrous sulphates คือไม่มีส่วนประกอบของน้ำ ได้แก่ anhydrite และ barite
    2. Hydrous sulphates and Basic sulphates คือ มีน้ำเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ Bloedite, Chalcanthite, Melanterite และ ยิปซัม
  7. ทังสเตต และ โมลิบเดต (Tungststes and Molybdates) เป็นสินแร่ที่มีสีสันสวยงาม คือซีไลท์ ซึ่งเมื่ออยู่ในอัลต้าไวโอเลตจะได้สีขาวนวลฟ้า และวุลฟีไนท์ มีสีส้ม
  8. ฟอสเฟต อาร์เซเนต และวาเนเดต เป็นแร่ที่หาได้ยาก ซึ่งมีฟอสเฟสเป็นส่วนประกอบ ที่น่าสนใจได้แก่กลุ่ม ฟอสเฟส อาเซเนต และ วาเนเตต
  9. ซิลิเกต (Silicates) เป็นแร่ที่เกิดจากการรวมตัวของ ซิลิกอนและ ออกซิเจน และยังมีสารอื่นประกอบ ทำให้เกิดลักษณะต่างๆกันหลายชนิด ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด คือ
    1. นีโซซิลิเกต (Nesosilicate)
    2. โซโรซิลิเกต (Sorosilicate)
    3. ไซโคลซิลิเกต (Cyclosilicate)
    4. ไอโนซิลิเกต (Inosilicate)
    5. ฟิลโลซิลิเกต (Phyllosilicate)
    6. เทกโทซิลิเกต (Tectsilicate)

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้