การรู้หนังสือในประเทศอินเดีย
การรู้หนังสือในประเทศอินเดียเป็นกุญแจสำคัญสู่การพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ[2] ประเทศอินเดียมีอัตราการรู้หนังสือ (literacy rate) อยู่ที่ 74.04% (ค.ศ. 2011)[3] ถึงแม้ว่าจะมีโครงการจากรัฐบาลต่าง ๆ แต่อัตราการรู้หนังสือในประเทศอินเดียนั้นถือว่าเพิ่มขึ้นแค่เพียง "น้อยนิด" ("sluggishly") เท่านั้น[4] จากข้อมูลปี ค.ศ. 2011 พบว่าประเทศอินเดียมีการเติบโตของอัตราการรู้หนังสือในระยะหนึ่งทศวรรษจากปี ค.ศ. 2001 ถึง 2011 อยู่ที่ 9.2% ถือว่าช้ากว่าการเติบโตในทศวรรษก่อนหน้า การศึกษาเชิงวิเคราะห์เก่าแก่ชิ้นหนึ่งจากปี ค.ศ. 1990 ได้ประมาณการว่าในปี ค.ศ. 2060 ประเทศอินเดียถึงจะมีอัตราการรู้หนังสือทั้งประเทศ ด้วยอัตราการเติบโตของการรู้หนังสือในขณะนั้น[5]
ในประเทศอินเดียมีช่องว่างระหว่างเพศ (gender disparity) ในอัตราการรู้หนังสือ ซึ่งผู้ชายอยู่ที่ 82.14% และผู้หญิงอยู่ที่ 65.46% [6] อัตราการรู้หนังสือที่ต่ำในผู้หญิงอินเดียนั้นส่งผลร้ายแรงต่อการวางแผนครอบครัว งานวิจัยพบว่าการรู้หนังสือของผู้หญิงเป็นตัวทำนายสำคัญของการคุมกำเนิดในคู่สมรสชาวอินเดีย[7] อย่างไรก็ดีมีสัญญาณบวกเนื่องจากอัตรารู้หนังสือในผู้หญิงนั้นเพิ่มขึ้น (11.8%) ซึ่งค่อนข้างเร็วกว่าการเติบโตของอัตราการรู้หนังสือในผู้ชาย (6.9%) ในช่วงความต่างระหว่างหนึ่งทศวรรษ 2001–2011 แปลความได้ว่าช่องว่างทางเพศ (gender gap) ดูจะแคบลง[8]
สถิติการรู้หนังสือเปรียบเทียบระหว่างประเทศ
แก้ตารางต่อไปนี้แสดงอัตราการรู้หนังสือในเยาวชนและผู้ใหญ่ของอินเดียและประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ (ค.ศ. 2015)[9] การรู้หนังสือในผู้ใหญ่นั้นกำหนดอายุอยู่ที่ 15 ปีขึ้นไป ส่วนของเยาวชนคือกลุ่มอายุ 15–24 ปี (กล่าวคือข้อมูลส่วนเยาวชนเป็นส่วนหนึ่ง (subset) ของผู้ใหญ่)
ประเทศ | อัตราการรู้หนังสือในผู้ใหญ่ | อัตราการรู้หนังสือในเยาวชน (อายุ 15–24 ปี) |
---|---|---|
ประเทศจีน | 96.4%[9] | 99.7%[10] |
ประเทศศรีลังกา | 92.6%[11] | 98.8%[12] |
ประเทศเมียนมาร์ | 93.7% [13] | 96.3% [14] |
ค่าเฉลี่ยโลก | 86.3%[15] | 91.2% [9] |
ประเทศอินเดีย | 74.37%[16] | 91.66%[16] |
ประเทศเนปาล | 64.7% | 86.9%[16] |
ประเทศบังกลาเทศ | 61.5% | 83.2%[17] |
ประเทศปากีสถาน | 58%[18] | 80.3%[19] |
ความไม่เสมอภาคในอัตราการรู้หนังสือ
แก้หนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ทำให้ประเทศอินเดียมีอัตราการรู้หนังสือที่ค่อนข้างต่ำมาจากคุณภาพและการมีอยู่ของโรงเรียนในเขตชนบทและถิ่นทุรกันดาร ในปี ค.ศ. 2006–2007 ประเทศอินเดียเคยประสบปัญหาห้องเรียนขาดแคลนไม่เพียงพอต่อประชากร[20] นอกจากนี้ ในหลายโรงเรียนยังขาดการรักษาความสะอาดที่เหมาะสม จากการสำรวจโรงเรียนประถมของรัฐบาล 188 แห่งในอินเดียเหนือและกลาง พบว่า 59% เข้าไม่ถึงน้ำสะอาด และ 89% ไม่มีสุขาในโรงเรียน[21] ในกว่า 600,000 หมู่บ้านและสลัมในเขตเมืองที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ การศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั้นเป็นขั้นตอนพื้นฐานของการรู้หนังสือที่ดำเนินการโดยครูที่แทบจะไม่ได้ผ่านการคัดกรอง ซึ่งเรียกกันว่า 'ครูพารา' ('para teachers')[22] อัตราส่วนนักเรียนต่อครูโดยเฉลี่ยในอินเดียอยู่ที่ ครูหนึ่งคนต่อนักเรียน 42 คน แสดงให้เห็นถึงการขาดแคลนทรัพยากรครูอย่างชัดเจน[23] การขาดทรัพยากรครูนั้นส่งผลให้เกิดโรงเรียนที่ไม่มีมาตรฐาน อันส่งผลให้อัตราการรู้หนังสือยิ่งเกิดความต่างมากขึ้นไปอีก[22] นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายที่จัดสรรไว้ให้ด้านการศึกษาของประเทศอินเดียไม่เคยสูงเกิน 4.3% ของจีดีพี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1951 ถึง 2002 ในขณะที่คณะกรรมการโกฐารี (Kothari Commision) ตั้งเป้าไว้อยู่ที่ 6% [24] สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดปัญหาการรู้หนังสือในประเทศอินเดีย
นอกจากนี้แล้วการแบ่งแยกวรรณะอย่างรุนแรงก็ยังมีอยู่ในสังคมอินเดีย[22] การแบ่งแยก (Discrimination) ผู้ที่มีวรรณะที่ต่ำกว่าส่งผลให้มีอัตราการลาออกจากโรงเรียนกลางคัน (dropout rates) ที่สูงและมีอัตราการสมัครเข้าโรงเรียน (enrollment rates) ที่ต่ำ องค์กรสำรวจกลุ่มตัวอย่างแห่งชาติ (National Sample Survey Organisation) และกรมสำรวจสุขภาพครอบครัวแห่งชาติ (National Family Health Survey) ได้เก็บรวบรวมข้อมูลพบว่าเปอร์เซ็นต์เยาวชนที่จบการศึกษาจากระดับประถมศึกษามีรายงานอยู่ที่เพียง 36.8% และ 37.7% ตามลำดับ[25] เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2005 นายกรัฐมนตรีอินเดียได้กล่าวว่าเขารู้สึกเจ็บปวดที่พบว่า "เยาวชนเพียง 47 คนใน 100 คนเท่านั้นที่เข้าเรียนในระดับประถม 1 แล้วจะเรียนต่อไปจนถึงชั้นประถม 8 ซึ่งทำให้อัตราการลาออกจากโรงเรียนกลางคันอยู่ที่ 52.78%" ("only 47 out of 100 children enrolled in class I reach class VIII, putting the dropout rate at 52.78 per cent.")[23] มีการประมาณการไว้ว่าเยาวชนอายุ 6-14 ปีอย่างน้อย 35 ล้านคน หรืออาจมากถึง 60 คน กำลังไม่ได้รับการศึกษาในโรงเรียน[22]
อีกเหตุผลหนึ่งคืออัตราการรู้หนังสือที่ต่ำมากในผู้หญิงอินเดีย ความไม่เท่าเทียมทางเพศนี้ส่งผลให้การรู้หนังสือในผู้หญิงของอินเดียอยู่ที่ 65.46% ต่ำกว่าของผู้ชายซึ่งอยู่ที่ 82.14%[26] เนื่องจากการกำหนดภาพเหมารวมของหน้าที่ผู้หญิงและผู้ชายที่ชัดเจนและหนักหน่วง (strong stereotyping of female and male roles) ส่งผลให้เด็กผู้ชายมักถูกสั่งสอนให้ทำตัวมีประโยชน์ ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาด้วย ในขณะที่ผู้หญิงนั้นจะถูกดึงไปใช้ช่วยกิจกรรมในภาคเกษตรกรรมที่บ้าน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องอาศัยการศึกษาอย่างเป็นระบบ แทนที่ผู้ชายซึ่งได้รับการศึกษามาอย่างเป็นระบบ[27] ทั้งนี้ น้อยกว่า 2% ของผู้หญิงที่ทำงานด้านเกษตรกรรมได้ผ่านการเรียนรู้ในโรงเรียนมาก่อน[27]
อ้างอิง
แก้- ↑ Ranking of states and union territories by literacy rate: 2011 Census of India Report (2013)
- ↑ "UNESCO: Literacy". UNESCO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤษภาคม 2009.
- ↑ "Number of literates and Literacy Rate by sex and residence". censusindia.gov.in. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "India's literacy rate increase sluggish". Indiainfo.com. 1 กุมภาพันธ์ 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 สิงหาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2009.
... Literacy in India is increasing at a sluggish rate of 1.5 percent per year, says a recent report of the National Sample Survey Organisation (NSO) ... India's average literacy rate is pegged at 100.38 percent ...
- ↑ "How Female Literacy Affects Fertility: The Case of India" (PDF). Population Institute, East-West Centre. ธันวาคม 1990. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2009.
- ↑ Robert Engelman; และคณะ (2009). "The State of World Population 2009" (PDF).
- ↑ A. Dharmalingam; S. Philip Morgan (1996). "Women's work, autonomy, and birth control: evidence from two south India villages". Population Studies. 50 (2): 187–201. doi:10.1080/0032472031000149296. JSTOR 2174910.
- ↑ "Literates and Literacy Rates – 2001 Census (Provisional)". National Literacy Mission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มิถุนายน 2009. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2009.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 "Literacy Statistics Metadata Information Table". UNESCO Institute for Statistics. กันยายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มิถุนายน 2017. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2015.
- ↑ 10.0 10.1 "UNESCO Institute for Statistics". Stats.uis.unesco.org. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2015.
- ↑ "The World Factbook: Sri Lanka". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2020.
- ↑ "UNESCO Institute for Statistics". Stats.uis.unesco.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2015.
- ↑ UNICEF. "At a glance: Myanmar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2009.
- ↑ UNESCO (2015). "Myanmar: Youth literacy rate". Globalis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2015.
- ↑ "Adult and youth literacy" (PDF). UNESCO. กันยายน 2012.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "UNESCO Institute for Statistics". Stats.uis.unesco.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2015.
- ↑ "UNESCO Institute for Statistics". Stats.uis.unesco.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2015.
- ↑ Riazul Haq (26 พฤษภาคม 2017). "Literay rate in Pakistan slips by 2%". The Express Tribune.
- ↑ "UNESCO Institute for Statistics". Stats.uis.unesco.org. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2015.
- ↑ Angel Broking (มิถุนายน 2008). India Education Sector Report (Report). The Distributor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2011.
- ↑ Basu, Kaushik (29 พฤศจิกายน 2004). "Educating India". BBC. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2011.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 Marie Lall (เมษายน 2005). "The Challenges for India's Education System" (PDF). Chatham House. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2011.
- ↑ 23.0 23.1 "Global campaign for education- more teachers needed". UNICEF India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2011.
- ↑ Ajay Deshpande; Sayan Mitra (19 มิถุนายน 2006). "Primary Education in India: Key Problems" (PDF). MIT India Reading Group. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2011.
- ↑ "Social Exclusion of Scheduled Caste Children from Primary Education in India" (PDF). UNICEF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2011.
- ↑ "India's Literacy Panorama". Education for all in India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มีนาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2011.
- ↑ 27.0 27.1 Sonalde Desai (1994). "Gender Inequalities and Demographic Behaviour" (PDF). The Population Council. ISBN 0-87834-082-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การรู้หนังสือในประเทศอินเดีย