เกย์ไพรด์

(เปลี่ยนทางจาก LGBT pride)

เกย์ไพรด์ (อังกฤษ: Gay pride) หรือ แอลจีบีทีไพรด์ (อังกฤษ: LGBT pride) เป็นการสนับสนุนการยอมรับตัวเอง (self-affirmation), ความมีเกียรติ (dignity), ความเท่าเทียม (equality) และการสร้างการรับรู้ (increased visibility) ของ ชาวรักร่วมเพศ, ชาวรักสองเพศ และชาวข้ามเพศ (LGBT) ในฐานะความเป็นกลุ่มทางสังคม "ไพรด์" ในฐานะคู่ตรงข้ามของความน่าละอาย (shame) และบาดแผลทางสังคม (social stigma) เป็นภาพหลักที่ช่วยส่งเสริมการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของมีความหลากหลายเพศ (LGBT rights) อย่างแพร่หลาย คำว่าไพรด์ จึงกลายเป็นเหมือนชื่อของความภาคภูมิใจของบรรดาบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ปรากฏใช้ทั้งในชื่อของหน่วยงาน องค์กร หนังสือ วารสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เช่น ไพรด์ไลบรารี (Pride Library)

ธงเกย์ไพรด์ดั้งเดิมซึ่งมีแปดแถบ ปรากฏตัวครั้งแรกในซานฟรานซิสโกไพรด์พาเรด ปี 1978[1][2][3]

กิจกรรมไพรด์นั้นมีตั้งแต่ลักษณะตึงเครียดไปจนถึงงานรื่นเริง โดยส่วนมากมักจัดระหว่างช่วงเดือนไพรด์ (LGBT Pride Month) หรือตามโอกาสต่าง ๆ ที่ระลึกถึงจุดเปลี่ยนในประวัติศาสตร์ความหลากหลายทางเพศในชาตินั้น ๆ เช่น มอสโกไพรด์ (Moscow Pride) ในเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นการฉลองการครบรอบการยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการรักร่วมเพศเป็นสิ่งผิดกฎหมายเมื่อพฤษภาคม 1993

สัญลักษณ์ทั่วไปของไพรด์คือธงสายรุ้ง, อักษรกรีกพิมพ์เล็ก แลมบ์ดา (λ), สามเหลี่ยมชมพู และ สามเหลี่ยมดำ สัญลักษณ์สองประการที่ยกมานั้นถูกนำมาเปลี่ยนความหมาย (reappropriated) ใหม่จากการใช้ในฐานะเครื่องหมายแห่งความน่าละอาย (badges of shame) ในค่ายกักกันของนาซี[4]

เดือนไพรด์ แก้

เดือนมิถุนายนของทุกปีเป็นเดือนไพรด์ของชาว LGBT (LGBT Pride Month) เพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์จลาจลสโตนวอลล์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 1969 ตลอดเดือนมิถุนายน ทั่วโลกจึงมีการจัดกิจกรรมไพรด์ต่าง ๆ ขึ้น เพื่อย้ำเตือนถึงบทบาทของชาว LGBT ทั่วโลก นักกิจกรรมไบเซ็กชวล เบรนดา ฮอเวิร์ด (Brenda Howard) ได้รับการขนานนามว่าเป็น "มารดาแห่งไพรด์" ("Mother of Pride") ด้วยผลงานของเธอในการประสานงานจัดการเดินขบวนไพรด์ (LGBT Pride march) ครั้งแรก และยังเป็นต้นคิดของแนวคิดการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ของวันไพรด์เดย์ (Pride Day) ที่ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการเฉลิมฉลองไพรด์ที่จัดกันทั่วโลกทุก ๆ เดือนมิถุนายน[5][6] นอกจากนี้ฮอวาร์ดและนักกิจกรรมไบเซ็กชวล รอเบิร์ต เอ มาร์ติน (Robert A. Martin) หรือที่รู้จักในนามดอนนี่ เดอะ พังก์ (Donny the Punk) และนักกิจกรรมเกย์ แอ็ล. เครก ชูนมาเกอร์ (L. Craig Schoonmaker) ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ทำให้คำว่า "ไพรด์" เป็นที่นิยม (popularising) เพื่อใช้ในการแทนกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้[7][8][9][10][9]

ผมได้เรียกร้องแก่ชาวอเมริกันทั้งปวงให้ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเดือน [ไพรด์] นี้ โดยการต่อสู้กับอคติ (prejudice) และการแบ่งแยกเลือกปฏิบัติ (discrimination) ในชีวิตของพวกท่านเอง และทุกที่ที่ยังคงมีสิ่งเหล่านี้ – Proclamation 8529 โดยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัค โอบามา 28 พฤษภาคม 2010

มีประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสองคนที่เคยประกาศเดือนไพรด์อย่างเป็นทางการ คือบิลล์ คลินตัน ซึ่งประกาศให้มิถุนายนเป็นเดือน "ไพรด์ของเกย์และเลสเบี้ยน" ("Gay & Lesbian Pride Month") ในปี 1999[11] และปี 2000[12] และในปี 2009 ถึง 2016 ในแต่ละปี บารัค โอบามา ได้ประกาศให้มิถุนายนเป็นเดือนไพรด์ของ LGBT (LGBT Pride Month) ตลอดวาระการเป็นประธานาธิบดีของเขา[13] ส่วนดอนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีจากพรรครีพับบลิกันคนแรกที่รับรู้การมีอยู่ของเดือนไพรด์ในปี 2019 ผ่านการทวีตข้อความ ไม่ได้ผ่านการประกาศอย่างเป็นทางการ (proclamation) เหมือนที่ประธานาธิบดีทั้งสองคนที่ผ่านมาเคยทำ[14]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "History of the LGBT rainbow flag on its 37th anniversary". New York Daily News. 2015. สืบค้นเมื่อ 25 November 2018.
  2. Morgan, Thad (June 2, 2017). "How Did the Rainbow Flag Become an LGBT Symbol?". History Network. A&E Networks. สืบค้นเมื่อ 25 November 2018.
  3. Van Niekerken, Bill (June 22, 2018). "A history of gay rights in San Francisco". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ 25 November 2018.
  4. "Symbols of the Gay, Lesbian, Bisexual, and Transgender Movements". Lambda. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 16, 2007. สืบค้นเมื่อ July 30, 2007.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ thirteen.org
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ queerty.com
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Pride trope, Homolexis
  8. Donaldson, Stephen (1995). "The Bisexual Movement's Beginnings in the 70s: A Personal Retrospective". In Tucker, Naomi (ed.). Bisexual Politics: Theories, Queries, & Visions. New York: Harrington Park Press. pp. 31–45. ISBN 1-56023-869-0.
  9. 9.0 9.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Moor-2019
  10. Donaldson, Stephen (1995). "The Bisexual Movement's Beginnings in the 70s: A Personal Retrospective". In Tucker, Naomi (ed.). Bisexual Politics: Theories, Queries, & Visions. New York: Harrington Park Press. pp. 31–45. ISBN 1-56023-869-0.
  11. Clinton, Bill (11 June 1999). "Proclamation 7203 — Gay and Lesbian Pride Month, 1999". Presidential Proclamation. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019.
  12. Clinton, Bill (2 June 2000). "Proclamation 7316 — Gay and Lesbian Pride Month, 2000". Presidential Proclamation. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019.
  13. Estepa, Jessica (June 1, 2017). "President Trump hasn't declared June as Pride Month – at least, not yet". USA Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 12, 2019.
  14. Posted on May 31, 2019, at 5:04 p.m. ET (2019). "Trump Marks Pride Month While Attacking LGBT Rights". Buzzfeednews.com. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

บรรณานุกรม แก้

  • Alwood, Edward (1996), Straight News: Gays, Lesbians, and the News Media, Columbia University Press, New York (ISBN 0-231-08436-6).
  • Carter, David (2004), Stonewall: The Riots That Sparked the Gay Revolution, St. Martin's Press (ISBN 0-312-34269-1).
  • Duberman, Martin (1993), Stonewall Dutton, New York (ISBN 0-452-27206-8).
  • Loughery, John (1998), The Other Side of Silence – Men's Lives and Gay Identities: A Twentieth-Century History, New York, Henry Holt and Company (ISBN 0-8050-3896-5).
  • Marotta, Toby (1981), The Politics of Homosexuality, Boston, Houghton Mifflin Company (ISBN 0-395-31338-4).
  • Teal, Donn (1971), The Gay Militants, New York, Stein and Day (ISBN 0-8128-1373-1).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • Interpride – องค์กรไพรด์สากล

แม่แบบ:LGBT