คีกิลยาฮ์

(เปลี่ยนทางจาก Kigilyakh)

คีกิลยาฮ์ หรือ คีซีลียาฮ์[1] (รัสเซีย: кигиляхи; ซาฮา: киһилээх, แปลว่า "คนหิน" หรือ หินรูปคน) เป็นธรณีสัณฐานลักษณะคล้ายเสา โดยทั่วไปมีองค์ประกอบเป็นหินแกรนิตหรือหินทราย ลักษณะเช่นนี้เป็นผลจากการกัดกร่อนโดยน้ำแข็ง[2] คีกิลยาฮ์ส่วนใหญ่ก่อตัวขึ้นในยุคเครตาเชียส และมีอายุราว 120 ล้านปี[3]

คีกิลยาฮ์ในเทือกเขาอูลาฮัน-ซิส

เสาหินเหล่านี้มีลักษณะคล้ายมนุษย์ และมีความสำคัญทางวัฒนธรรมในวัฒนธรรมยาคุต[4][5] ตามปรัมปราวิทยาชาวยาคุตเชื่อว่าคีกิลยาฮ์มีที่มาจากคนในสมัยโบราณกาล[5]

คำว่า "คีซีลีย์" (kisiliy) ในภาษายาคุตแปลว่า "ที่ที่มีคน"[3] ส่วน คีซิลยาฮ์ แปลว่า "เขาที่มีคน" หรือ "เขาที่แต่งงาน[แล้ว]"[6] คำว่า "คีกิลยาฮ์" เป็นรูปเพี้ยนมาจากคำเดิมในภาษายาคุตว่า "คีซิลยาฮ์"[7]

ที่ตั้ง แก้

หินเหล่านี้สามารถพบได้ในประเทศรัสเซียในแถบซาฮา (ยาคูเทีย) โดยเฉพาะในที่ราบลุ่มไซบีเรียตะวันออก ได้แก่:[5]

นอกจากในแถบยาคูเตียแล้วยังสามารถพบธรณีสัณฐานลักษณะคล้ายกันได้บนเกาะโปโปวา-ชุกชีนา และที่ราบสูงปูโตรานา ในแคว้นครัสโนยาร์สค์[11]

ประวัติศาสตร์ แก้

แฟร์ดีนันท์ วรังเกิล เคยเขียนรายงานถึงคีกิลยาฮ์บนเกาะเชตีรีโยฮ์สตอลโบวอย (Chetyryokhstolbovoy) ในหมู่เกาะเมวเดจยีในทะเลไซบีเรียตะวันออก ระหว่างการเดินทางไปสำรวจเกาะดังกล่าวในปี 1821-1823 ที่ซึ่งเขาตั้งชื่อเกาะตามเสาหินที่พบ (Chetyryokhstolbovoy แปลว่า "สี่เสา") โดยบรรดาเสาหินบนเกาะนี้มีความสูง 15 เมตร (49 ฟุต)[2]

ในสมัยโซเวียต ได้มีการตั้งชื่อคาบสมุทรหนึ่งบนเกาะบอล ชอย เลียฮอฟสกี ว่าคาบสมุทรคีกิลยาฮ์ โดยกัปตันวลาดีมีร์ โวโรนิน ซึ่งในเวลานั้นประจำอยู่ที่สถานีโพลาร์บนเกาะหลังพบเสาหินขนาดใหญ่บนคาบสมุทรนั้น[12]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Verkhoyansk & Kisilyakh". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-30. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
  2. 2.0 2.1 2.2 แม่แบบ:ВТ-ЭСБЕ
  3. 3.0 3.1 3.2 Types of weathering
  4. Kigilyakhi of the New Siberian Islands - Russian Geographical Society
  5. 5.0 5.1 5.2 "Kigilyakhi of Yakutia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
  6. Ландшафты как отражение топонимов Якутии (Landscapes as a Reflection of the Toponyms of Yakutia)
  7. Toponimy of Regional Cultural Landscapes – Verkhoyansk District, Sakha (Yakutia)
  8. Село Андрюшкино и его обитатели (Andryushkino village and its inhabitants)
  9. Кисиляхи хребта Суор-Уйята
  10. Ykt - Вернулись из Гранитных Городов Улахан Сис
  11. A. Grigoriev, Megaliths in the Arctic
  12. Soviets gather geographic data in Arctic - CIA

แหล่งข้อมูลอื่น แก้