อี.123

มาตรฐานสากลโดย ITU-T ที่กำหนดแนวทางการนำเสนอหมายเลขโทรศัพท์ อีเมล และที่อยู่เว็บ
(เปลี่ยนทางจาก E.123)

อี.123 (อังกฤษ: E.123) เป็นมาตรฐานสากลที่กำหนดขึ้นโดยภาคการกำหนดมาตรฐานโทรคมนาคม สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU-T) ชื่อว่า สัญกรสำหรับหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล และที่อยู่เว็บในประเทศและต่างประเทศ (Notation for national and international telephone numbers, e-mail addresses and web addresses)[1] โดยให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบของหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ และที่อยู่เว็บในการพิมพ์บนหัวจดหมาย และวัตถุประสงค์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน

อี.123
สัญกรสำหรับหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล และที่อยู่เว็บในประเทศและต่างประเทศ
ชื่อเดิม
Notation for national and international telephone numbers, e-mail addresses and web addresses
สถานะมีผลบังคับ
รุ่นล่าสุด(02/01)
กุมภาพันธ์ 2544
องค์กรITU-T
มาตรฐานที่เกี่ยวข้องอี.163, อี.164
ขอบเขตระบบโทรศัพท์
ใบอนุญาตใช้ได้อย่างอิสระ
เว็บไซต์https://www.itu.int/rec/T-REC-E.123

ตามที่ ITU อธิบายไว้ใน อี.123: "+" คือ "สัญลักษณ์นำหน้าระหว่างประเทศ" ที่ใช้งานใน "หมายเลขโทรศัพท์, สัญกรณ์สากล อี.123"

ตัวอย่างรูปแบบ

แก้
หมายเลขโทรศัพท์, สัญกรในประเทศ (การโทรออกเต็มหมายเลข) (0607) 123 4567
หมายเลขโทรศัพท์, อี.123 สัญกรณ์สากล +22 607 123 4567
ที่อยู่อีเมล์ example@example.com
ที่อยู่เว็บ / ยูอาร์แอล www.example.com

หมายเลขโทรศัพท์

แก้

ในหมายเลขโทรศัพท์ณ์สากล เครื่องหมายบวก (+) นำหน้า ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์นำหน้าสากลและตามมาด้วยรหัสประเทศต่อเนื่องกันมา ผู้ใช้งานหรือระบบโทรศัพท์ควรแทนที่สัญลักษณ์ + ด้วยหมายเลขนำหน้าการโทรระหว่างประเทศที่กำหนดให้ใช้ในตำแหน่งของผู้โทร

วงเล็บถูกใช้ในสัญกรในประเทศเพื่อระบุตัวเลขที่บางครั้งไม่ได้กด เช่น รหัสพื้นที่ในพื้นที่ที่ยังอยู่ในแผนการกำหนดหมายเลขและยังผันแปรได้อยู่ โดยไม่อนุญาตให้ใช้วงเล็บในสัญกรณ์สากลตามมาตรฐานสากลที่กำหนด เนื่องจากผู้โทรจากต่างประเทศนั้นใช้หมายเลขเฉพาะในการโทร

สำหรับการจัดกลุ่มตัวเลขนั้น มาตรฐาน อี.123 แนะนำเป็นพิเศษว่า:

  • ใช้เพียงช่องว่างเท่านั้นในการแยกกลุ่มตัวเลขด้วยสายตา "เว้นแต่ว่าจะมีการตกลงกันในสัญลักษณ์ที่ชัดเจน (เช่น ยัติภังค์) ซึ่งจำเป็นในกระบวนการพิจารณาใช้งาน" กับสัญกรในประเทศ
  • ใช้เพียงช่องว่างเท่านั้นในการแยกกลุ่มตัวเลขด้วยสายตาในสัญกรณ์สากล
  • ควรใช้ช่องว่างแยกรหัสประเทศ รหัสพื้นที่ และรหัสหมายเลขท้องถิ่น

ไม่มีรูปแบบคำแนะนำในการจัดกลุ่มตัวเลขในหมายเลขท้องถิ่น แต่จะมีการแสดงตัวอย่างการจัดกลุ่มที่ใช้กันทั่วไปบางส่วนแทน

ในสัญกรในประเทศ คำนำหน้าทรังค์ (Trunk prefix) สามารถใช้รวมเข้ากับรหัสพื้นที่ได้หากจำเป็น ในประเทศยุโรปส่วนใหญ่ เมื่อใดก็ตามที่ใช้การโทรแบบคงที่ (fixed) หรือแปรผัน (variable) จะมีคำนำหน้าทรังค์จะรวมอยู่อยู่ด้วย แต่จะไม่มีการระบุในสหรัฐและแคนาดา ซึ่งหมายเลขโทรศัพท์จะระบุเพราะรหัสพื้นที่เสริมเท่านั้น

เครื่องหมายตัวหนอน (~) บ่งบอกถึงเสียงสัญญาณการโทรเพิ่มเติมที่ผู้ใช้ควรรอ

เครื่องหมายทับ (/) ที่มีช่องว่างทั้งสองข้าง อาจใช้เพื่อระบุการลงท้ายหมายเลขแบบอื่นสำหรับตัวเลข (เช่น "555 1234 / 4444" หมายถึง 555 1234 และ 555 4444)

หมายเลขตู้สาขาโทรศัพท์ (PBX) ที่ไม่สามารถโทรออกได้ ควรคั่นด้วยคำว่า "extension" หรือ "ext." ซึ่งเป็นภาษาที่โทรศัพท์เข้าใจโดยเติมไว้หลังหมายเลขโทรศัพท์

เมื่อตู้สาขาโทรศัพท์ (PBX) สามารถโทรสายตรงติดต่อเข้ามาได้ หมายเลขต่อภายในควรเขียนไว้หลังหมายเลขโทรศัพท์สายตรง โดยไม่ต้องใช้สัญลักษณ์ใด ๆ หากจำเป็นต้องระบุจำนวนความจุในการโทรเข้ามาของคู่สายโทรศัพท์ คุณสามารถเพิ่มจำนวนจุด (....) ที่สอดคล้องกับความยาวของหมายเลขต่อภายในได้

รูปแบบหมายเลขโทรศัพท์ของไมโครซอฟท์

แก้

รูปแบบที่อยู่มาตรฐานของไมโครซอฟท์สำหรับหมายเลขโทรศัพท์นั้น[2][3]มาจากสัญกรณ์สากล อี.123 โดยอนุญาตให้ระบุรหัสพื้นที่ด้วยวงเล็บอย่างชัดเจน

รูปแบบบัญญัติถูกใช้โดย Telephony API (TAPI) ซึ่งเป็นอินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมวินโดวส์สำหรับแฟกซ์ผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็ม และอุปกรณ์โทรศัพท์ โดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งปัจจุบันของผู้ใช้ ส่วนประกอบ Dial-Up Networking (DUN) ของวินโดวส์จะใช้ชุดกฎการโทรเพื่อแปลงหมายเลขโทรศัพท์ตามรูปแบบบัญญัติให้เป็นลำดับการโทรที่สามารถโทรออกได้ภายในเครื่องสำหรับอุปกรณ์โมเด็ม กฎการโทรอาจรวมถึงการกดรหัสพื้นที่โดยมีความยาวผันแปรได้ (variable-length dialing) หมายเลขนำหน้าทรังค์และหมายเลขติดต่อระหว่างประเทศ หมายเลขเข้าถึงสำนักงาน/บริการส่วนกลาง และหมายเลขเสียงเรียกเข้าของบัตรโทรศัพท์[2][3]

ด้วยวิธีการนี้ หมายเลขโทรศัพท์ที่จัดเก็บไว้ในสมุดโทรศัพท์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อผู้ใช้ย้ายไปยังตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ไปยังพื้นที่อื่น หรือเลือกผู้ให้บริการโทรศัพท์รายอื่น[4]

ส่วนของลำดับการโทร สามารถมีหมายเลขที่สามารถโทรออกได้ เช่น หลัก 09 และเสียง DTMF ABCD*# ซึ่งจัดรูปแบบอักขระ ␣ . - และควบคุมตัวอักษร ! P T , W @ $ ? ; ซึ่งสอดคล้องกับคำสั่ง Dial ของชุดคำสั่ง Hayes AT

ข้อมูลการติดต่อในกรณีฉุกเฉิน

แก้

วิธีการมาตรฐานโดยไม่จำกัดภาษาที่ใช้ในการระบุญาติที่ใกล้ชิด (หรือใช้ในการติดต่อในกรณีฉุกเฉินอื่น ๆ) ในสมุดโทรศัพท์ของโทรศัพท์มือถือในกรณีฉุกเฉิน ได้ถูกนำมาปรับใช้งานเป็นมาตรฐานข้อแนะนำ อี.123 ใหม่ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551

ซึ่ง อี.123 เสนอให้จัดเก็บหมายเลขติดต่อฉุกเฉินที่นำหน้าด้วยเลขอารบิกในรูปแบบ "0nxxxx" โดย "n" คือตัวเลขตั้วแต่ 1 ถึง 9 "xxxx" คือตัวอักขระที่สื่อความหมายในภาษาหรือสคริปส์คำสั่งใด ๆ (เช่น "Anna" หรือ "Spouse")

ในสมุดโทรศัพท์ของโทรศัพท์ ข้อมูลชุดนี้จะแสดงว่า "01Anna" หรือ "01Spouse" ซึ่งช่วยให้บริการฉุกเฉินสามารถระบุตัวตนพวกเขาได้ง่าย โดยภายในรายการรายชื่อ (ในช่อง "หมายเลขติดต่อ") จะมีหมายเลขของบุคคลที่จะใช้โทรหารในกรณีฉุกเฉินแสดงอยู่[5]

โดยรูปแบบนี้เป็นอีกเวอร์ชันที่ไม่ขึ้นกับภาษาของโครงการในกรณีฉุกเฉิน (ICE) ซึ่งได้รับความนิยมในบางส่วนของโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา[6]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "E.123 : Notation for national and international telephone numbers, e-mail addresses and web addresses". www.itu.int. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-11. สืบค้นเมื่อ 2019-11-11.
  2. 2.0 2.1 MSDN: TAPI Applications - Device Control - Canonical Address
  3. 3.0 3.1 (v=ws.10).aspx Microsoft Technet: Dialing Rules and Canonical Address Format.
  4. MSDN: TAPI Applications - Device Control - Storing Phone Numbers in Electronic Address Book.
  5. "ITU standard allows emergency rescue workers to identify a victim's next-of-kin". ITU-T Newslog. International Telecommunication Union. 20 May 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2016. สืบค้นเมื่อ 24 May 2008.
  6. Bob's idea has global impact (Cambridge Evening News) เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 3, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้