ในการคำนวณและดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ เคาวน์เตอร์ คืออุปกรณ์เก็บจำนวนครั้งของเหตุการณ์บางอย่าง บางครั้งเคาวน์เตอร์สามารถแสดงผลได้ด้วย

Synchronous Counter

แก้
 
วงจรนับเลขฐานสองแบบเข้าจังหวะ ขนาด 4 บิท โดยใช้ JK ฟลิปฟลอป
 
แผนภาพเวลาของวงจรนับเลขฐานสองแบบเข้าจังหวะ ขนาด 4 บิท
 
ตารางความจริง(truth table) วงจรนี้จะนับจาก 0000,0001,...,1111 แล้วกลับมาเริ่มต้นใหม่ที่ 0000

Synchronous Counter (Parallel Counter) เป็นวงจรพื้นฐานที่นิยมใช้กันมากในปํจุบันนี้ก็คือ "วงจรนับ" เนื่องจากวงจนับเป็นส่วนหนึ่งของวงจรที่มีอยู่ทั่วไปมากมาย เช่น วงจรวัดขนาดของสัญญาณ วงจรวัดคามถี่ นาฬิกาดิจิตอล และวงจรต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น วงจรนับจะมีอยู่สองแบบคือ วงจรนับแบบไม่เข้าจังหวะ (Asynchronous Counter) และ วงจรนับแบบเข้าจังหวะ (Synchronous Counter)

วงจรนับแบบเข้าจังหวะ (Synchronous Counter)

แก้

การทำงานของฟลิปฟลอปทุกตัวจะเกิดขึ้นหร้อมกัน และพร้อมกับสัญญาณคล็อก ซึ่งจะทำให้เวลาหน่วงของวงจรนับคงที่ ทำให้วงจรนี้ใช้งานกับความถี่สูงได้ดี จึงเป็นที่นิยมมากกว่าวงจรนับแบบไม่เข้าจังหวะ แต่มีข้อเสียคือวงจรนับแบบเข้าจังหวะจะใช้อุปกรณ์เกตมากขึ้น

เงื่อนไขการเปลี่ยนสถานะของฟลิปฟลอป คือ JK มีค่าลอจิกเป็น 1 (Toggle state) และ Clk มีขอบขาลง ถ้ายังไม่มี Clk ขอบขาลง สถานะของ FF นั้นยังคงเดิม

  • FF-Q0 มีค่าลอจิกเป็น 1 (Toggle state) จะเปลี่ยนสถานะทุกครั้งที่ Clk มีขาลง
  • FF-Q1 มีค่าลอจิกเป็น 1 เมื่อ Q0 เป็น 1 และมี Clk ขอบขาลงเกิดขึ้น Q1 จะเปลี่ยนสถานะทันที
  • FF-Q2 มีค่าลอจิกเป็น 1 เมื่อ Q0 และ Q1 เป็น 1 และมี Clk ขอบขาลงเกิดขึ้น Q2 จะเปลี่ยนสถานะทันที
  • FF-Q3 มีค่าลอจิกเป็น 1 เมื่อ Q0, Q1และ Q2 เป็น 1 และมี Clk ขอบขาลงเกิดขึ้น Q3 จะเปลี่ยนสถานะทันที