อบเชย

(เปลี่ยนทางจาก Cinnamon)

อบเชย เป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอม ได้มาจากเปลือกไม้ชั้นในที่แห้งแล้วของต้นอบเชย แท่งอบเชยมีสีน้ำตาลแดง มีลักษณะเหมือนแผ่นไม้แห้งที่หดงอหลังจากโดนความชื้น มักจะเรียกตามแหล่งเพาะปลูกเช่น อบเชยจีน อบเชยลังกา อบเชยญวน เป็นต้น ส่วน “อบเชยผง” จะเป็นการนำอบเชยแท่งมาบดอีกที เพื่อให้สะดวกในการใช้ประกอบอาหาร ซึ่งลักษณะเด่นของอบเชย ก็คือ “กลิ่น” ที่มีเอกลักษณ์ ในประเทศไทยไม่นิยมปลูกเพราะภูมิอากาศไม่เหมาะสม[ต้องการอ้างอิง]

• การใช้ประโยชน์

นิยมใช้อบเชยในการทำเครื่องแกงเช่น พริกแกงกะหรี่ประเภทผัดที่ใช้ผงกะหรี่ ใช้เป็นไส้กะหรี่ปั๊ป หรือใช้ร่วมกับโป๊ยกั้กในอาหารคาวประเภทต้มเช่น พะโล้และเนื้อตุ๋น ส่วนในประเทศแถบตะวันตก มักใส่อบเชยในของหวาน เช่น ซินนามอนโรล ใช้ผงอบเชยละเอียดโรยหน้ากาแฟใส่นม ใช้ผงอบเชยกับน้ำตาลโรยหน้าเพรตเซล และนอกจากนี้ยังมีลูกอม หมากฝรั่ง และยาสีฟันรสอบเชยอีกด้วย

เปลือกอบเชย

อบเชยมีสรรพคุณทางยา เนื่องจากมีแทนนินสูงที่ให้รสฝาดจึงนิยมใช้ในยาตำรับแผนโบราณเช่น เป็นส่วนผสมในยาหอมต่าง ๆ โดยใช้ส่วนของเปลือกลำต้น ใช้ในการแก้จุกเสียด แน่นท้อง หรือใช้ในการทำยานัตถุ์ใช้สูดดม เพื่อเพิ่มความสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย แก้โรคท้องร่วงเพราะมีส่วนช่วยต้านแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ ช่วยในการย่อยอาหาร และสลายไขมัน ส่วนเปลือกลำต้นอายุมากกว่า 6 ปี หรือใบกิ่งยังนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้อีกด้วย ซึ่งจะมีมากในอบเชยญวนที่ให้น้ำมันหอมระเหย 2.5%


วิธีการเก็บเกี่ยวและสกัด : การเก็บน้ํามันหอมระเหยจากอบเชยจะพบในสวนของเปลือก (bark) และ ใบ ซึ่งองค์ประกอบของน้ํามันหอมระเหยที่ได้ประกอบด้วยสารหลายชนิด (terpene / phenyl propanoids) สกัดโดยการใช้การกลั่นด้วยไอน้ำ


น้ำมันสกัดจากเปลือกของต้นอบเชยที่ความเข้มข้น 40 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรยับยั้งการเจริญของ Streptococcus iniae ในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ โดยสารออกฤทธิ์ที่มีส่วนสาคัญต่อการยับยั้งการเจริญของ S. iniae คือ cinnamaldehyde ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมด้วยน้ามันสกัดจากต้นอบเชยในอัตราส่วน 0.4% (w/w) ตายเนื่องจากการติดเชื้อ S. niae น้อยลง[1]

นิยมใส่ในกาแฟในบางประเทศ ที่ควบคุมความสะอาดในการผลิตได้ เนื่องจากมีค่ากำมะถันที่ชดเชยส่วนที่ขาดของค่ากำมะถันทองแดงธรรมชาติในกาแฟได้ ทำให้ลดความเสี่ยงการเป็นเบาหวานได้สูงขึ้นอีก หรือบางครั้งมีการเรียกว่าค่าโครเมี่ยมพิโคลิเนต ที่จริงๆแล้ว โครเมี่ยมเป็นธาตุโลหะที่เป็นพิษสูง นอกจากนี้อบเชยยังมีสารจำพวกยูจีนอลประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก

แต่ผู้รับประทานควรระวังคือ ดูวันหมดอายุ หรือสังเกต คราบราดำที่กินกำมะถันอบเชยได้[ต้องการอ้างอิง]

อบเชย (พืช)

แก้

ชื่อสมุนไพร : อบเชยต้น (เชียด)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum verum J.Presl

ชื่อสามัญ : Cinnamon

ชื่อท้องถิ่น : อบเชยเทศ อบเชยลังกา

วงศ์ : Lauraceae

ชื่ออื่น : กระแจะโมง กะเชียด กะทังนั้น (ยะลา) กระดังงา (กาญจนบุรี) กะพังหัน โกเล่ เนอม้า (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เขียด เคียด เฉียด ชะนุต้น (ภาคใต้) มหาปราบตัวผู้ อบเชย อบเชยต้น (ภาคกลาง) ดิ๊กซี่สอ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) บอกคอก (ลำปาง) ฝักดาบ (พิษณุโลก) พญาปราบ (นครราชสีมา) สะวง (ปราจีนบุรี) อบเชยไทย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของอบเชยต้น

อบเชยมีอยู่หลายชนิดซึ่งคุณภาพแตกต่างกันไป ตามสถานที่ปลูกหรือแหล่งผลิต ส่วนที่นำมาใช้เช่นเปลือกของใบและกิ่งก้าน แต่สรรพคุณทางยาจะใช้เหมือนกันหมด

‘อบเชยเทศ’ หรือที่คนไทยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อบเชยศรีลังกา มีราคาแพงที่สุดเป็นมีลักษณะไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นมีสีเทาและหนา กิ่งขนานกับพื้นและตั้งชันขึ้น ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกันตามลำต้น ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม มีเส้นใบ 3 เส้น ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็กสีเหลืองมีกลิ่นหอม ผลมีสีดำคล้ายรูปไข่

‘อบเชยจีน’ เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงและขนาดของลำต้นมากกว่าอบเชยเทศ มีเปลือกหนาหยาบกว่า และสีเข้มกว่าอบเชยเทศเช่นกัน ใบมี

ลักษณะคล้ายรูปหอก เป็นมันสีเขียวเข้ม ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็ก มีขนอ่อน ๆ ที่ก้านดอก เนื้อผลนิ่ม กลิ่นหอมฉุน มีรสขมเล็กน้อย

‘อบเชยญวน’เป็นไม้ยืนต้น ซึ่งมีลักษณะลำต้นคล้ายคลึงกับอบเชยจีนมาก ใบเป้นใบเดี่ยวค่อนข้างบาง รูปร่างยาวเรียว ปลายใบแหลม ดอกและผลมีขนาดเล็ก มีรสหวาน แต่มีกลิ่นหอมไม่เท่ากับอบเชยเทศ ปลูกได้ดีมากในประเทศไทย และประเทศไทยเราส่งออกอบเชยชนิดนี้

‘อบเชยชวา’ หรือ อบเชยอินโดนีเซีย เป็นไม้ยืนต้นที่ใหญ่กว่าอบเชยที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด เป้นอบเชยที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป แต่นิยมเรียกกันว่าอบเชยเทศ ใบยาวเรียว ปลายใบแหลม ดอกและผลมีขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมแต่น้อยกว่าอบเชยเทศ

ส่วน อบเชยต้น(เชียด) หรือ อบเชยไทย นั้น เป็นไม้ต้นที่มีใบและเปลือกหอม ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นหอม ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง มีสีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน เหม็น กลีบรวมชั้นนอก 3 กลีบ คล้ายกลีบเลี้ยง กลีบรวมชั้นใน 3 กลีบ แยกกันแต่ติดตรงโคน ผลสด แก่สีม่วงดำ

อบเชยต้น หรือ อบเชยไทย เป็นอบเชย สายพันธุ์ไทย พบมากที่สุดทางภาคเหนือของไทย และอบเชยต้น เปลือกต้นจะมีความหนาและแข็งกว่าอบเชยต้นที่นำเข้าจากญวน, อินเดีย และจีนมาก

ส่วนที่ใช้และคุณสมบัติของพืชหรือคุณสมบัติทางเคมี : เปลือกไม้ชั้นในและกิ่งก้าน ช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ทำให้ระดับของไขมันในเลือดอยู่ในระดับปกติ ช่วยบรรเทาอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น การแพ้อาหาร การแพ้สารเคมี antioxidant มีสาร eugenol, polyphenol Aroma and flavor มี cinnamaldehyde,cinnamic เรื่องรสชาติ , สารน้ำมันระเหย

แหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์ • ประเทศศรีลังกา กระจายพันธุ์ เพาะพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง

การใช้และการผลิตทางประวัติศาสตร์โลก • การใช้ในอารยธรรมกรีกและอารยธรรมอียิปต์ ใช้ประโยชน์ของ cinnamon ในมิติของเครื่องหอมสำหรับบูชาเทพเจ้า และมีการใช้ในเครื่องบรรณาการสำหรับเจ้าผู้ครองแคว้น ซึ่งทำให้อบเชยกลายเป็นสินค้าสำหรับชนชั้นสูง


สรรพคุณและวิธีใช้

อบเชยมีฤทธิ์อุ่นร้อน มีรสหอมหวาน ช่วยขับเหงื่อ ให้ความสดชื่น แก้อาการอ่อนเพลีย น้ำมันอบเชยเทศใช้เป็นส่วนผสมในยาขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและเชื้อจุลินทรีย์ แต่มีผลข้างเคียงคือก่อให้เกิดความระคายเคืองมากกว่าน้ำมันอบเชยเทศ

เปลือก

- หอมหวาน บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลัน ทำให้มีกำลัง ขับผายลม

- เปลือกต้ม หรือทำเป็นผง แก้โรคหนองในและแก้โทษน้ำคาวปลา

- ใช้เป็นยานัตถุ์ แก้ปวดศีรษะ ปรุงรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง และปรุงเป็นยาแก้บิด และไข้สันนิบาต

ใบ – เป็นสมุนไพรหอม ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียนและจุกเสียดแน่นและลงท้อง เป็นยาบำรุงกำลัง และบำรุงธาตุ

รากกับใบ – ต้มน้ำรับประทาน แก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ

ข้อควรสังเกต/ข้อควรระวัง

1. ใบของต้นอบเชยบางชนิดที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องแกง นิยมเรียกกันว่า ใบกระวาน

2. ผู้ที่มีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด เป็นโรคริดสีดวง อุจจาระแข้งแห้ง และหญิงมีครรถ์ไม่ควรรับประทาน

ประเทศต้นทางและการใช้ในปัจจุบัน • ประเทศศรีลังกา และเวียดนามรองลงมาก การใช้ในปัจจุบันเครื่องดื่ม ขนม ยา เครื่องเทศในอาหาร น้ำมันหอมระเหย ทางการแพทย์


อ้างอิง

แก้
  1. พงศ์ศักดิ์ รัตนชัยกุลโสภณ และ ปาริชาติ พุ่มขจร. 2553. การใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคในปลา[ลิงก์เสีย] วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่12 ฉบับที่4 กรกฎาคม 2553 63 -71
  • นิตยสารแม่บ้าน ปีที่ 31 ฉบับที่ 451, ธันวาคม 2549, หน้า 55[1]
  1. นิตยสารแม่บ้าน ปีที่ 31 ฉบับที่ 451, ธันวาคม 2549, หน้า 55