วัคซีนอหิวาตกโรค

(เปลี่ยนทางจาก Cholera vaccine)

วัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันอหิวาตกโรค[8] ในช่วงหกเดือนแรกวัคซีนจะให้ผลในการป้องกันโรคประมาณ 85% และในช่วงปีแรกจะให้ผลในการป้องกันโรคประมาณ 50 หรือ 62%[8][9][10] หลังจากเวลาสองปีความมีประสิทธิภาพจะลดลงเหลือไม่ถึง 50%[8] แต่ทั้งนี้หากกลุ่มประชากรใดก็ตามมีสัดส่วนของผู้ที่มีภูมิคุ้มกันโรคจำนวนสูง ประชากรในกลุ่มดังกล่าวที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคก็จะได้รับประโยชน์จากภูมิคุ้มกันหมู่[8]

วัคซีนอหิวาตกโรค
รายละเอียดวัคซีน
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้Vibrio cholerae
ชนิดเชื้อตาย
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าDukoral, Vaxchora, อื่น ๆ
AHFS/Drugs.comMicromedex Detailed Consumer Information
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
[1]
ตัวบ่งชี้
DrugBank
ChemSpider
  • none
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้มาตรการขององค์การฯ ร่วมกับมาตรการอื่น ๆ  สำหรับกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงในการติดโรคสูง [8] โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้วัคซีนชนิดรับประทานตามขนาดที่กำหนดจำนวนสองหรือสามครั้ง[8] ระยะเวลาป้องกันในวัยผู้ใหญ่คือสองปี และในเด็กวัย 2–5 ขวบที่หกเดือน[8] วัคซีนแบบฉีดหนึ่งโดสมีให้บริการในพื้นที่ที่พบอหิวาตกโรคบ่อย[11][12][13] ใน ค.ศ. 2010 วัคซีนแบบฉีดซึ่งมีจำนวนน้อยกว่านั้นมีอยู่ในพื้นที่บางแห่งของโลกเท่านั้น[8][9]

โดยทั่วไปวัคซีนชนิดรับประทานทั้งสองประเภทนั้นมีความปลอดภัย[8] แต่อาจมีอาการปวดท้องหรือการการท้องร่วงเกิดขึ้นได้[8] วัคซีนนี้ปลอดภัยสำหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง[8] วัคซีนเหล่านี้ได้รับได้รับอนุมัติให้ใช้ป้องกันโรคในกว่า 60 ประเทศ[8] และมีการใช้ในประเทศที่มักเกิดโรคเป็นประจำ ซึ่งมีความคุ้มค่าของค่ารักษา[8]

วัคซีนตัวแรกที่ใช้ในการป้องกันอหิวาตกโรคนั้นถูกผลิตขึ้นเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18[14] และเป็นวัคซีนที่มีการใช้อย่างแพร่หลายตัวแรกที่ถูกผลิตขึ้นในห้องทดลอง[14] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้มีการเปิดตัววัคซีนชนิดรับประทานเป็นครั้งแรก[8]  วัคซีนนี้อยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดในระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน[15]


อ้างอิง แก้

  1. "Summary for ARTG Entry:94483 Dukoral oral inactivated cholera vaccine liquid vial and buffer granules sachet". Therapeutic Goods Administration (TGA). สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.[ลิงก์เสีย]
  2. "Dukoral Product information". Health Canada. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.
  3. "Eukoral EPAR". European Medicines Agency (EMA). สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.
  4. "Vaxchora EPAR". European Medicines Agency (EMA). 30 January 2020. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.
  5. "Dukoral suspension and effervescent granules for oral suspension, Cholera vaccine (inactivated, oral) - Summary of Product Characteristics (SmPC)". (emc). 7 December 2015. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.
  6. "Vaxchora- cholera vaccine, live, oral kit". DailyMed. 24 October 2018. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.
  7. "Vaxchora- cholera vaccine, live, oral kit". DailyMed. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 "Cholera vaccines: WHO position paper – August 2017". Relevé Épidémiologique Hebdomadaire. 92 (34): 477–98. August 2017. hdl:10665/258764. PMID 28845659.
  9. 9.0 9.1 Graves PM, Deeks JJ, Demicheli V, Jefferson T (August 2010). "Vaccines for preventing cholera: killed whole cell or other subunit vaccines (injected)". The Cochrane Database of Systematic Reviews (8): CD000974. doi:10.1002/14651858.CD000974.pub2. PMC 6532721. PMID 20687062.
  10. Sinclair D, Abba K, Zaman K, Qadri F, Graves PM (March 2011). "Oral vaccines for preventing cholera". The Cochrane Database of Systematic Reviews (3): CD008603. doi:10.1002/14651858.CD008603.pub2. PMC 6532691. PMID 21412922.
  11. "Vaxchora (Cholera vaccine, Live, Oral)" (PDF). U.S. Food and Drug Administration. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2017. สืบค้นเมื่อ 15 March 2017.
  12. "Vaxchora approval letter" (PDF). U.S. Food and Drug Administration (FDA). 10 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-22. สืบค้นเมื่อ 2020-07-30.   บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  13. "Vaxchora". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 1 September 2019. สืบค้นเมื่อ 28 December 2019.
  14. 14.0 14.1 Stanberry LR (2009). Vaccines for biodefense and emerging and neglected diseases (1st ed.). Amsterdam: Academic. p. 870. ISBN 9780080919027. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  15. World Health Organization (2019). World Health Organization model list of essential medicines: 21st list 2019. Geneva: World Health Organization. hdl:10665/325771. WHO/MVP/EMP/IAU/2019.06. License: CC BY-NC-SA 3.0 IGO.

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้