แมวแดงบอร์เนียว

(เปลี่ยนทางจาก Catopuma badia)

แมวแดงบอร์เนียว (อังกฤษ: Bay Cat, Bornean Cat, Bornean Bay Cat หรือ Bornean Marbled Cat) เป็นแมวป่าถิ่นเดียวที่พบบนเกาะบอร์เนียว ในปี ค.ศ. 2002 สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติได้จัดให้แมวแดงบอร์เนียวเป็นชนิดใกล้สูญพันธุ์เพราะมีแนวโน้มที่ประชากรจะลดลงมากกว่า 20% เมื่อถึงปี ค.ศ. 2020 เนื่องจากการสูญเสียที่อยู่ ในปี ค.ศ. 2007 คาดว่ามีประชากรแมวแดงบอร์เนียวน้อยกว่า 2,500 ตัว[1]

แมวแดงบอร์เนียว
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: อันดับสัตว์กินเนื้อ
อันดับย่อย: เฟลิฟอเมีย
วงศ์: เสือและแมว
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยแมว
สกุล: สกุลเสือไฟ
(Gray, 1874)[1]
สปีชีส์: Catopuma badia
ชื่อทวินาม
Catopuma badia
(Gray, 1874)[1]
Distribution of the Bay cat
ที่อยู่ของแมวแดงบอร์เนียว (2016)[1]
ชื่อพ้อง
  • Felis badia Gray, 1874
  • Pardofelis badia (Gray, 1874)

ลักษณะ แก้

 
ภาพวาดของแมวแดงบอร์เนียว[2]

แมวแดงบอร์เนียวมีขนาดใหญ่กว่าเสือไฟ ขนมีสีน้ำตาลแก่ออกสว่าง บริเวณท้องสีน้ำตาลอ่อน ขาและหางสีจางลงออกแดง หางยาว เรียวตรงปลาย มีลายขาวที่ท้องหางโดยจะแผ่กว้างไปทางปลายหาง มีจุดสีดำที่ปลายหาง หูกลมปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลออกดำบริเวณด้านนอก ด้านในขนสีน้ำตาลอ่อน มีเส้นสีน้ำตาลแคบที่ขอบ[2]

จากการวัดตัวอย่าง 12 ตัวอย่าง ลำตัวจรดหัวยาว 495 ถึง 670 มิลลิเมตร หางยาว 300 ถึง 403 มิลลิเมตร[3] เมื่อโตเต็มที่คาดว่ามีน้ำหนักประมาณ 3 ถึง 4 กิโลกรัม แต่มีตัวอย่างที่มีชีวิตอยู่น้อยเกินไปที่จะประมาณการน้ำหนักได้อย่างถูกต้อง[4]

หัวกลมสั้น สีน้ำตาลปนเทาเข้ม มีขีดสีเข้มที่มุมตา หลังหัวมีสัญลักษณ์สีเข้มรูปตัวเอ็ม หลังหูสีออกเทาเข้ม ไม่มีจุดขาวเหมือนที่พบในแมวชนิดอื่น ใต้คางมีสีขาวมีขีดสีน้ำตาลอ่อนสองขีดบนแก้ม ด้วยสัดส่วนลำตัวและหางทำให้แมวแดงบอร์เนียวคล้ายกับจากัวรันดี[5]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Hearn, A.; Brodie, J.; Cheyne, S.; Loken, B.; Ross, J. & Wilting, A. (2016). "Catopuma badia". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T4037A112910221. สืบค้นเมื่อ 24 January 2022.
  2. 2.0 2.1 Gray, J. E. (1874) Description of a new Species of Cat (Felis badia) from Sarawak. Proceedings of the Scientific meetings of the Zoological Society of London for the year 1874: 322–323
  3. Mohd-Azlan, J., Sanderson, J. (2007). "Geographic distribution and conservation status of the bay cat Catopuma badia, a Bornean endemic". Oryx 41: 394–397.
  4. Sunquist, M.E., Leh, C., Hills, D. M., Rajaratnam, R. (1994). "Rediscovery of the Bornean Bay Cat". Oryx 28: 67–70.
  5. Sunquist, M., Sunquist, F. (2002). Wild cats of the World. Chicago: University of Chicago Press. pp. 48–51. ISBN 0-226-77999-8.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้