ใบไม้สีทอง

สปีชีส์ของพืช
(เปลี่ยนทางจาก Bauhinia aureifolia)
ใบไม้สีทอง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช (Plantae)
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae หรือ Leguminosae
สกุล: Bauhinia
สปีชีส์: B.  aureifolia
ชื่อทวินาม
Bauhinia aureifolia
K.&S.S.Larsen

ใบไม้สีทอง หรือ ย่านดาโอ๊ะ เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ ใบอ่อนมีมีขนสีน้ำตาลแดง หรือขนสีทองแดงซึ่งเป็นที่มาของชื่อ เป็นพืชถิ่นเดียวพบเฉพาะในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา[1]เป็นไม้ถิ่นเดียวของไทย พบครั้งแรกโดย ดร.ชวลิต นิยมธรรม ที่น้ำตกบาโจ จังหวัดนราธิวาส[2]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

ใบไม้สีทองเป็นไม้เลื้อย มีลำต้นเป็นเถาขนาดใหญ่ เติบโตโดยการเกาะเลื้อยพันขึ้นไปผลิใยคลุมเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ในป่า สูงถึง 30 เมตร ใบรูปหัวใจ ปลายใบรูปหัวใจกลับ กว้าง 10 ซม.ยาว 18 ซม. ผิวใบมีขน ละเอียดคล้าย กำมะหยี่สีทองหรือสีเหลืองเคลือบสีเงินปกคลุม ใบมีสองชนิด คือกลุ่มใบสีเขียวทำหน้าที่สังเคราะห์แสงและกลุ่มใบสีทองซึ่งบริเวณปลายกิ่งขณะยังเป็นใบอ่อนมีสีม่วงแล้วค่อยๆเปลี่ยนเมื่อใบแก่ขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งใบแก่เต็มที่จะเป็นสีคล้ายสีทองแดงระยะสุดท้ายจะเปลี่ยนเป็นสีเงินแล้วจะทิ้งใบ ระยะที่จะเห็นใบเป็นสีทองชัดเจนในช่วงเดือน มิถุนายน -กรกฎาคม ของทุกปี ต้นที่ปรากฏใบสีทองต้องมีอายุมากกว่า 5 ปี ดอกสีขาวเกิดเป็นช่ออยู่บริเวณปลายกิ่ง ลักษณะคล้าย ดอกเสี้ยว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ช่อหนึ่งๆ มี ตั้งแต่ 10 ดอกขึ้นไปมีกลิ่นหอม ออกดอกประมาณเดือน ตุลาคม - กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักแบบคล้ายฝักดาบ ยาว 23 ซม. กว้าง 6 ซม. มีขนสีน้ำตาลแดงคล้ายกำมะหยี่ปกคลุม หนึ่งฝักมี ประมาณ 4-6 เมล็ด

อ้างอิง แก้

  1. ใบไม้สีทอง เก็บถาวร 2009-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
  2. ปิยะ เฉลิมกลิ่น จิรพันธุ์ ศรีทองกุล และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ. พรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย. กทม. โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพ. 2551 หน้า 115
  • "Bauhinia aureifolia". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้