บันกิม จันทระ จัตโตรจี

(เปลี่ยนทางจาก Bankim Chandra Chattopadhyay)

บันกิมะจันทระ จัตโตรจี (Bankimchandra Chatterjee) หรือ บันกิมะจันทระ จัตโตปาธยาย (Bankimchandra Chattopadhyay), CBE[1] (26 มิถุนายน 1838[2]–8 เมษายน 1894)[3] เป็นผู้ประพันธ์นิยาย, กวี และนักข่าวชาวอินเดีย[4] เขาเป็นผู้เรียบเรียง วันทามาตารัม ขึ้นครั้งแรกโดยเป็นภาษาสันสกฤต, สร้างสรรค์ภาพบุคลาธิษฐานของประเทศอินเดียเป็นพระมารดาภารตมาตา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับบรรดานักเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชอินเดีย จัตโตปาธยายประพันธ์นิยายรวมทั้งหมดจำนวนสิบสามเรื่อง

บันกิมะจันทระ จัตโตปาธยาย
ชื่อท้องถิ่น
বঙ্কিমচন্দ্র চট্টোপাধ্যায়
เกิด26 มิถุนายน ค.ศ. 1838(1838-06-26)
ไนหตี, รัฐเบงกอล, บริติชอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย)
เสียชีวิต8 เมษายน ค.ศ. 1894(1894-04-08) (55 ปี)
กัลกัตตา, รัฐเบงกอล, บริติชอินเดีย (ปัจจุบันคือ โกลกาตา, รัฐเบงกอลตะวันตก, ประเทศอินเดีย)
อาชีพนักเขียน, กวี, นักเขียนนิยาย, นักเขียนความเรียง, นักข่าว
ภาษาภาษาเบงกอล, ภาษาอังกฤษ
จบจากมหาวิทยาลัยกัลกัตตา
แนวร่วมในทางวรรณคดีเบงกอลเรเนสซองส์
ผลงานที่สำคัญทุรเคศนันทินี
กปาลกุนทล
เทวีจาวธุรณี
อานันทมาถ
"พิษพฤกษะ"
วันทามาตารัม"

ลายมือชื่อ

จัตโตปาธยายได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นบุคคลสำคัญในสาขาการประพันธ์และงานเขียนของการฟื้นฟูวัฒนธรรมเบงกอลและอินเดีย[4] ผลงานเขียนของเขา รวมทั้งนิยาย, ความเรียง และบทวิพากษ์ เป็นผลงานการเขียนที่แหวกขนบการเขียนแบบอินเดียพวกกาพย์กลอน (verse-oriented) และสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเขียนทั่วอินเดียในยุคถัด ๆ มา[4]

ผลงานเขียน แก้

นวนิยาย
  • ทุรเคศนันทินี (Durgeshnandini, 1865)
  • กปาลกุนทล (Kapalkundala, 1866)
  • มรินลินี (Mrinalini, 1869)
  • พิษพฤกษะ (Vishabriksha; “ต้นพืชพิษ”, 1873)
  • อินทิรา (Indira, 1873; เรียงเรียงใหม่ 1893)
  • ชุคลันคุริยะ (Jugalanguriya, 1874)
  • รธราณี (Radharani, 1876; เพิ่มเติม 1893)
  • จันทรเสขร (Chandrasekhar, 1875)[5]
  • กมลกันตารทัปตาร์ (Kamalakanter Daptar; จากโต๊ะของกมลกันตา, 1875)
  • ราชนี(Rajani, 1877)
  • กฤษณกันตารอุยล์ (Krishnakanter Uil; ประสงค์ของกฤษณกันตา, 1878)
  • ราชสิงห์ (Rajsimha, 1882)
  • อานันทมัฐ (Anandamath, 1882)
  • เทวีจาวธุรณี (Devi Chaudhurani, 1884)
  • กมลกันตา (Kamalakanta, 1885)
  • สีตาราม (Sitaram, 1887)
  • มุจิราม กูร์ ชีวันจริต (Muchiram Gurer Jivancharita; ชีวิตของมุจิราม กูร์)
บทวิพากษ์เชิงศาสนา
  • กฤษณจริตร (Krishna Charitra; ชีวิตของพระกฤษณะ, 1886)
  • ธรรมตัตตวา (Dharmatattva; หลักของศาสนา, 1888)
  • เทวตัตตวา (Devatattva; หลักของพระเจ้า, ตีพิมพ์หลังมรณกรรม)
  • ศรีมัทวควัตคีตา (Srimadvagavat Gita; บทวิพากษ์ว่าด้วยภควัตคีตา, 1902 - ตีพิมพ์หลังมรณกรรม)
รวมกวีนิพนธ์
  • ลลิต โอ มนัส (Lalita O Manas, 1858)
ความเรียง
  • โลกรหัสยะ (Lok Rahasya; รวมความเรียงว่าด้วยสังคม, 1874, เพิ่มเติม 1888)
  • วิชนันรหัสยะ (Bijnan Rahasya; รวมความเรียงว่าด้วยวิทยาศาสตร์, 1875)
  • พิจิตรประพันธ์ (Bichitra Prabandha; รวมความเรียง, เล่ม 1 (1876) และ เล่ม 2 (1892))
  • สามยะ (Samya; ความเท่าเทียม, 1879)

นวนิยายเล่มแรกของจัตโตปาธยายเป็นนวนิยายภาษาอังกฤษ ภรรยาของราชโมหัน (Rajmohan's Wife, 1864)

อ้างอิง แก้

  1. "Bankim Chandra Chatterjee". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 30 March 2016.
  2. "History & Heritage". north24parganas.gov.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2017. สืบค้นเมื่อ 27 June 2018.
  3. Merriam-Webster's Encyclopedia of Literature. Merriam-Webster. 1995. p. 231. ISBN 978-0-87779-042-6.
  4. 4.0 4.1 4.2 Staff writer. "Bankim Chandra: The First Prominent Bengali Novelist", The Daily Star, 30 June 2011
  5. https://bn.wikisource.org/wiki/%E0%A6%AA%E0%A6%BE%E0%A6%A4%E0%A6%BE:%E0%A6%B8%E0%A6%BE%E0%A6%B9%E0%A6%BF%E0%A6%A4%E0%A7%8D%E0%A6%AF-%E0%A6%B8%E0%A6%BE%E0%A6%A7%E0%A6%95-%E0%A6%9A%E0%A6%B0%E0%A6%BF%E0%A6%A4%E0%A6%AE%E0%A6%BE%E0%A6%B2%E0%A6%BE_%E0%A6%A6%E0%A7%8D%E0%A6%AC%E0%A6%BF%E0%A6%A4%E0%A7%80%E0%A6%AF%E0%A6%BC_%E0%A6%96%E0%A6%A3%E0%A7%8D%E0%A6%A1.djvu/%E0%A7%A9%E0%A7%A8%E0%A7%A6