พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์
พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์ หมายถึง ข้อตกลงระหว่างสหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง ในความร่วมมือระหว่างกันในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกโจมตีโดยประเทศในทวีปยุโรป ตามข้อตกลงลับในข้อตกลง "ประเทศในทวีปยุโรป" นี้เป็นที่เข้าใจว่าคือ เยอรมนี
ประวัติ
แก้เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1939 ในการตอบสนองต่อท่าทีของเยอรมนีที่ฝ่าฝืนข้อตกลงมิวนิก และยึดครองเชโกสโลวาเกีย[1] สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจึงสนับสนุนให้มีการรับประกันเอกราชของโปแลนด์
เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1939 ระหว่างการเดินทางเยือนกรุงลอนดอนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศโปแลนด์ ได้มีการตกลงให้มีการรับรองอย่างเป็นทางการเป็น พันธมิตรทางการทหาร ผ่านการเจรจา[2]
และเมื่อวันที่ 13 เมษายน การให้การรับรองดังกล่าวยังมีผลไปถึงกรีซและโรมาเนีย ภายหลังการรุกรานอัลเบเนียของอิตาลีด้วย[3]
สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างอังกฤษ-โปแลนด์
แก้เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม สองวันหลังจากการลงนามในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างอังกฤษ-โปแลนด์ ซึ่งมีเนื้อหาในการให้สัตยาบันการช่วยเหลือทางการทหารระหว่างประเทศคู่เจรจา ในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งถูกรุกรานโดยประเทศในทวีปยุโรป สหราชอาณาจักร ซึ่งมองเห็นอันตรายจากการขยายดินแดนของเยอรมนี ต้องการจะป้องกันท่าทีคุกคามของเยอรมนี ด้วยการแสดงถึงความร่วมมือเป็นปึกแผ่น และในข้อตกลงลับของสนธิสัญญา สหราชอาณาจักรจะมอบความช่วยเหลือให้ในกรณีที่โปแลนด์ถูกรุกรานโดยเยอรมนีเท่านั้น และทั้งสหราชอาณาจักรและโปแลนด์ต่างก็ไม่ถูกผูกมัดไม่ให้เข้าเจรจากับประเทศที่สามแต่อย่างใด[4]
ในขณะนั้น ฮิตเลอร์กำลังต้องการดินแดนของนครเสรีดานซิก การยอมให้ทหารเคลื่อนทัพผ่านฉนวนโปแลนด์ และการมอบสิทธิพิเศษให้กับชนกลุ่มน้อยเชื้อสายเยอรมันในโปแลนด์ ด้วยเงื่อนไขของพันธมิตรทางการทหาร คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายสามารถตัดสินใจที่จะตอบโต้กับการรุกล้ำดินแดนด้วยกำลังไม่ว่ากรณีใด ๆ ซึ่งสนธิสัญญาดังกล่าวไม่ได้กำหนดข้อผูกมัดในการธำรงไว้ซึ่งบูรณภาพแห่งดินแดนของคู่เจรจาอีกฝ่ายหนึ่ง[5] สนธิสัญญาดังกล่าวได้มีการระบุถึง "ภัยคุกคามทางอ้อม" และความพยายามที่จะบ่อนทำลายเอกราชของคู่เจรจาอีกฝ่ายหนึ่งผ่าน "การแทรกซึมทางเศรษฐกิจ" ซึ่งหมายถึง ลักษณะพิเศษของเมืองดานซิก
รัฐบาลอังกฤษและรัฐบาลฝรั่งเศสต่างก็ตั้งใจที่จะดำเนินการอย่างอื่น นอกเหนือจากการปฏิบัติตามสนธิสัญญาที่ให้ไว้กับโปแลนด์ ในวันที่ 4 พฤษภาคม ผลของการประชุมในกรุงปารีส ได้ข้อสรุปว่า: "ชะตากรรมของโปแลนด์ขึ้นอยู่กับผลสุดท้ายของสงคราม ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของเราในการเอาชนะเยอรมนีมากกว่าการยื่นความช่วยเหลือให้กับโปแลนด์" รัฐบาลโปแลนด์ไม่ได้รับแจ้งให้ทราบการตัดสินใจดังกล่าว และการเจรจาระหว่างอังกฤษ-โปแลนด์ก็ยังคงดำเนินต่อไป และในเดือนพฤษภาคมนั้นเอง โปแลนด์ก็ได้ลงนามในข้อตกลงลับในพันธมิตรทางการทหารระหว่างฝรั่งเศส-โปแลนด์ เพิ่มเติมจากปี ค.ศ. 1921
จากผลของสนธิสัญญาดังกล่าว ทำให้ฮิตเลอร์เลื่อนกำหนดการรุกรานโปแลนด์ออกไป จากวันที่ 26 สิงหาคม ไปเป็นวันที่ 1 กันยายน[6]
การวิเคราะห์
แก้เมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 กองทัพแดงรุกรานโปแลนด์จากแนวชายแดนโปแลนด์ทางด้านตะวันออก รัฐบาลโปแลนด์สั่งการให้มีการถอนกำลังทั้งหมด และห้ามต้านทานทหารโซเวียต เนื่องจากทั้งการให้การรับรองฝ่ายเดียวของอังกฤษ และสนธิสัญญาสองฝ่าย กำหนดเงื่อนไขว่า คู่เจรจาที่ถูกรุกรานตัดสินใจที่จะเผชิญหน้ากับประเทศผู้รุกรานอย่างเป็นปรปักษ์ แต่เนื่องจากโปแลนด์ไม่กระทำเช่นนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลอร์ดฮาลิแฟกซ์ จึงเตือนว่าสหราชอาณาจักรไม่จำเป็นที่จะต้องประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียตตามข้อตกลงแต่อย่างใด[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ Martin Collier, Philip Pedley. Germany, 1919-45
- ↑ Andrew J. Crozier. The Causes of the Second World War, pg. 151
- ↑ Michael G. Fry, Erik Goldstein, Richard Langhorne. Guide to International Relations and Diplomacy
- ↑ Jerzy Jan Lerski. Historical Dictionary of Poland, 966-1945, pg. 49
- ↑ "On 31 March 1939 the British government guaranteed the independence (though not the territorial integrity) of Poland, in which they were joined by France."
Paul M. Hayes, 'Themes in Modern European History, 1890-1945', Routledge (1992), ISBN 0415079055 - ↑ Frank McDonough. Neville Chamberlain, Appeasement and the British Road to War, pg. 86
- ↑ Prazmowska, Anita J. (1995). Britain and Poland 1939–1943: The Betrayed Ally. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0521483859.
- Agreement of Mutual Assistance Between the United Kingdom and Poland.-London, August 25, 1939. เก็บถาวร 2005-11-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- (อังกฤษ) Count Edward Raczyński (1948). The British-Polish Alliance; Its Origin and Meaning. London: Mellville Press.
ดูเพิ่ม
แก้หนังสืออ่านเพิ่มเติม
แก้- Anita J. Prazmowska, Britain, Poland and the Eastern Front, 1939, Cambridge University Press, 1987, ISBN 0-521-33148-X