23 มินนิทส์อินเฮล

23 มินนิทส์อินเฮล (อังกฤษ: 23 Minutes in Hell) เป็นหนังสือซึ่งมีแก่นของศาสนาคริสต์และเป็นหนังสือขายดีของนิวยอร์กไทมส์ เขียนโดย บิล ไวส์ และได้รับการตีพิมพ์โดย คาริสมาเฮาส์ ในปี พ.ศ. 2549[1] เนื้อหาในหนังสืออ้างว่าเขียนจากเรื่องจริงและเล่าถึงประสบการณ์ที่ผู้เขียนอ้างว่าได้ใช้เวลา 23 นาทีในนรก[1] หนังสือและเนื้อหาที่บรรจุทำให้ไวส์ได้รับเชิญให้ออกไปพูดในหลายโอกาส ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นโบสถ์หรือองค์การศาสนาคริสต์อื่น ๆ[1]

รายละเอียด แก้

ไวส์กล่าวว่าเขาเป็นคริสเตียนตั้งแต่ พ.ศ. 2513 แต่ไม่เคยศึกษาเรื่องนรกมาก่อนประสบการณ์ดังกล่าว[2] ซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541[3] ตามที่ระบุไว้ในหนังสือ ไวส์ ซึ่งในเวลาต่อมากลายมาเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์[2][4] พบว่าตนเองอยู่ในห้องขังที่มีความสูงอย่างน้อย 15 ฟุต (4.6 เมตร) และมีพื้นที่ 10 ฟุต (3.0 เมตร) × 15 ฟุต (4.6 เมตร) ที่ซึ่งมีสัตว์ร้ายกลิ่นเน่าเปื่อยสองตัว อันเป็นบุคลาธิษฐานของความชั่วร้ายและความกลัว พูดในภาษาซึ่งดูหมิ่นศาสนา[3] ไวส์กล่าวว่าสิ่งมีชีวิตดังกล่าวมีกำลังมากกว่ามนุษย์อย่างน้อยหนึ่งพันเท่า[3] และตามการระบุของไวส์ สัตว์ร้ายดังกล่าวได้โยนเขาเข้ากับกำแพงหิน ทำให้กระดูกของเขาหัก จากนั้นจึงฉีกเนื้อของเขาออก[4]

ไวส์กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม เขาสามารถคลานออกจากห้องขังนั้นได้ ที่ซึ่งเขาได้ยินเสียงคนนับพันล้านคนที่อยู่ในนรก[4] และกล่าวต่อไปว่า จากนั้นเขาได้พบกับพระเยซู ผู้ตรัสแก่เขาให้บอกมนุษย์คนอื่นว่านรกมีอยู่จริง[3] ไวส์กล่าวว่าประสบการณ์นี้สิ้นสุดลงเมื่อพบว่าตนเองกำลังตื่นขณะอยู่บนพื้นห้องนั่งเล่นของเขา โดยที่กรีดร้องด้วยความกลัว[3]

การตอบรับ แก้

23 มินนิทส์อินเฮล อยู่ในรายชื่อหนังสือขายดีของนิวยอร์กไทมส์อย่างน้อยสามสัปดาห์ในประเภทหนังสือสารคดีปกอ่อน[5][6][7]

คำกล่าวอ้างในหนังสือของไวส์ได้รับปฏิกิริยาเชิงถากถางจากนักเขียนบางคน ทั้งจากสื่อคริสเตียนและสื่อไม่อิงศาสนา ร็อบ มอล จากคริสติแอนิตีทูเดย์ ได้เขียนถึงคำกล่าวของไวส์ที่ว่านรก "ร้อน - เกินว่าจะเป็นไปได้ที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่มาก" โดยให้ความเห็นว่า "น่ายินดียิ่งที่มันเป็นนรก ทุกคนยกเว้นไวส์ได้ตายหมดแล้ว"[3] จอห์น ซูเธอร์แลนด์ เขียนถึงหนังสือของไวส์ในเดอะนิวสเตทส์แมน กล่าวว่า ไวส์ "ค่อนข้างง่องแง่ง" และบรรยายเสียงของคนที่กรีดร้องนับพันล้านคนนั้นว่า "น่ารำคาญ"[4]

นักเขียนคนอื่นได้แสดงทัศนะที่ร้ายกาจกว่า สตีเวน เวลส์ ได้เขียนในฟิลาเดลเฟียวีคลีว่า "ไวส์นั้นอาจจะผิดหรือถูกก็ได้ และถ้าเขาถูกจริง เช่นนั้นพระเจ้าก็ทรงเป็นทรราชบ้าคลั่ง"[8] นักเขียนจากนอร์เทิร์นไอโอวัน หนังสือพิมพ์นักเรียนของมหาวิทยาลัยนอร์เทิร์นไอโอวา อธิบายว่าหนังสือเป็น "23 นาทีแห่งความไร้สาระ" และพรรณนาความสำเร็จของหนังสือว่าเป็นสัญลักษณ์ความผิดของศาสนาคริสต์และศาสนาโดยรวม[9]

ในอีกแง่หนึ่ง ลอเรนซ์ หยาง คอลัมนิสต์จากหนังสือพิมพ์ฟิลิปปินส์-อเมริกัน เอเซียนเจอร์นัล ได้อุทิศสองคอลัมน์เขียนถึงหนังสือของไวส์ โดยระบุว่าเป็นการบรรยายถึงนรกอย่างแม่นยำ[10][11] นักเขียนอิสระ บิลลี บรูซ ได้เขียนในไอร์ออนทอนทริบบิวน์ ว่า "ผมเชื่อมั่นในนิมิตของบิล ไวส์ทั้งหมด และหวังว่าคนอื่น ๆ จำนวนมากจะอ่านหนังสือเล่มนี้ คู่กับพระคัมภีร์ไบเบิล ... อ่านหนังสือของบิล ไวส์ 23 มินนิทส์อินเฮล แล้วคุณจะพบว่าคุณไม่ต้องการใช้เวลาสักวินาทีเดียวในสถานที่แห่งนั้น"[12]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Author Of 23 Minutes In Hell Speaks At Word Of Life Church". The Chattanoogan. 4 กันยายน 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2010.
  2. 2.0 2.1 "About Bill and Annette Wiese". SoulChoiceMinistries.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2010.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Moll, Rob (30 พฤษภาคม 2006). "Travel Writing from the Afterlife". Christianity Today. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2022.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Sutherland, John (22 พฤษภาคม 2006). "The American scene". New Statesman. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มกราคม 2011. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2010.
  5. "Paperback Nonfiction". The New York Times. 17 มิถุนายน 2007. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2010.
  6. "Paperback Nonfiction". The New York Times. 7 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2010.
  7. "Paperback Nonfiction". The New York Times. 14 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2010.
  8. Wells, Steven (30 มกราคม 2008). "The War Against Error". Philadelphia Weekly. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2010.
  9. Krob, Nick (18 พฤศจิกายน 2010). "23 minutes of nonsense". Northern Iowan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2010. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2010.
  10. Yang, Lawrence (22 พฤษภาคม 2009). "Does hell exist?". Asian Journal. Los Angeles. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2010.
  11. Yang, Lawrence (28 มิถุนายน 2009). "Does hell exist?". Asian Journal. Los Angeles. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2010.
  12. Bruce, Billy (4 สิงหาคม 2009). "Does Hell scare you? It really should". Ironton Tribune. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้