ไวยากรณ์ภาษาฮังการี

ไวยากรณ์ภาษาฮังการี (ฮังการี: magyar nyelvtan) เป็นไวยากรณ์ของภาษาฮังการี ภาษาในตระกูลฟินโน-อูกริกที่มีผู้ใช้ส่วนใหญ่ในประเทศฮังการีและประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 7 ประเทศ (ในเขตแดนของราชอาณาจักรฮังการีที่ถูกแบ่งหลังสนธิสัญญาทรียานงเมื่อปี ค.ศ. 1920)

ภาษาฮังการี (ฮังการี: magyar nyelv) เป็นภาษาราชการของประเทศฮังการี ภาพ: รัฐสภาฮังการีติดกับแม่น้ำดานูบ

ภาษาฮังการีเป็นภาษาคำติดต่อ (agglutinative language, ฮังการี: agglutináló nyelv ออกลูตินาโล่ แญลฟ) เป็นภาษาที่ใช้หน่วยคำเติม (affix, ฮังการี: toldalék โตลดอเลค) จำนวนมาก โดยเฉพาะหน่วยคำเติมท้าย (suffix, ฮังการี: ragozás รอโกซาช) หลังคำแต่ละคำในประโยค เพื่อเปลี่ยนความหมายของคำ รวมถึงใช้แสดงให้เห็นว่าคำคำนั้นมีหน้าที่ทางไวยากรณ์ใดในประโยค (เช่น เป็นประธาน, เป็นกรรม)

หน่วยคำเติมท้าย (suffix) ในภาษาฮังการี สามารถเปลี่ยนรูปไปได้หลายแบบเพื่อความไพเราะและความสะดวกในการออกเสียงตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ (vowel harmony, ฮังการี: magánhangzó-harmónia) ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการพูดภาษาฮังการี

คำกริยา (verbs, ฮังการี: ige อิแก) ในภาษาฮังการี สามารถใช้วางหน่วยคำเติม (affix) ไว้ด้านหน้าหรือด้านหลัง เพื่อเปลี่ยนความหมายของคำกริยาได้ ซึ่งจะแสดงความชี้เฉพาะ (definiteness) ว่าเป็นคำกริยาที่เจาะจงการกระทำไปที่วัตถุใดวัตถุหนึ่งเป็นพิเศษ หรือ ไม่ได้มีการเจาะจงว่าต้องเป็นวัตถุชิ้นนั้น ๆ เช่น Veszek egy tollat. ฉันซื้อปากกาด้ามหนึ่ง หรือ Veszem a tollat. ฉันซื้อปากกาด้ามนั้น, มีการแสดงกาล (tense, ฮังการี: igeidő) ว่ากริยานี้เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน หรือ อนาคต, แสดงบุรุษ (person, ฮังการี: személy แซเมย) ว่าคำกริยานั้นใครคือเป็นประธาน (ฉัน เธอ เขา พวกฉัน พวกเธอ พวกเขา), แสดงมาลา (mood) ของคำกริยานั้น ๆ และแสดงพจน์หรือจำนวน (number, ฮังการี: szám) ได้

คำนาม (nouns, ฮังการี: főnév เฟอเนฟ) ในภาษาฮังการีสามารถผันโดยใช้หน่วยคำเติมท้าย (suffix) แสดงการก (case, ฮังการี: eset แอแชต) ทั้งหมด 18 หน่วยคำ เช่น -t หลังคำ แล้วคำนามนั้นกลายเป็นกรรม เช่น A házat megveszi. เขาซื้อบ้านหลังนั้น หรือ -ba/-be หลังคำ แสดงให้เห็นว่ามีการเคลื่อนไหวเข้าไปในสิ่งของหรือสถานที่ เช่น A házba megyek. ฉันเข้าไปในบ้าน

รูปแบบการเรียงลำดับคำในประโยคของภาษาฮังการีนั้นไม่ได้มีการจำกัดไว้อย่างตายตัว เหมือนอย่างภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ ที่มีโครงสร้างแบบประธาน-กริยา-กรรม โดยไม่สามารถสลับ "ประธาน–กริยา–กรรม" ในประโยคได้ แต่ภาษาฮังการี สามารถเรียงประโยคได้อย่างค่อนข้างอิสระ วาง "ประธาน–กริยา–กรรม" สลับกันได้ ภาษาฮังการีเป็นภาษาเน้นหัวข้อ (topic-prominent language, ฮังการี: téma-kiemelkedő nyelv) กล่าวคือ การเรียงลำดับคำในประโยคภาษาฮังการีจะเน้นไปที่หัวข้อ (topic) ในประโยคที่ผู้พูดอยากให้ความสำคัญในการสื่อสารเป็นหลัก การเรียงประโยคต่างกันก็จะมีการเน้นความสำคัญกับสิ่งที่ต้องการสื่อสารต่างกันไป

ลำดับคำ แก้

ประโยคภาษาฮังการีที่เป็นกลาง (ประโยคแบบที่ไม่มีการเน้นความสำคัญ (โฟกัส) สิ่งใดในประโยคเลย) จะมีลำดับคำแบบ "ประธาน–กริยา–กรรม" เหมือนภาษาไทย

ประโยคภาษาฮังการีสามารถสลับที่คำในประโยคไปมาได้ และเป็นภาษาที่ไม่จำเป็นต้องระบุหัวเรื่องอย่างชัดเจน ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีการเรียงตามที่หลักภาษากำหนด แต่จะมีการเรียงตามลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องการพูดในประโยคแทน

โดยจะวางคำที่ต้องการให้เป็นจุดสำคัญของประโยคไว้หน้าคำกริยาแท้ (finite verb, ฮังการี: ragozott ige รอโกโซท อิแก) ตามตารางด้านล่าง

ประโยคฮังการีมักจะแบ่งได้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ หัวข้อ (topic, ฮังการี: topic), จุดสำคัญ (focus, ฮังการี: fókusz), คำกริยา (verb, ฮังการี: ige) และข้อความส่วนที่เหลือ (ฮังการี: egyéb) แต่ก็ไม่จำเป็นว่าในทุกประโยคจะต้องมีครบทั้งสี่อย่าง ในหนึ่งประโยค หัวข้อและข้อความส่วนที่เหลือจะมีกี่วลีก็ได้ แต่จุดสำคัญ สามารถมีได้เพียง 1 วลีเท่านั้น

การเน้นความสำคัญของคำในประโยค แก้

ตารางด้านล่างแสดงให้เห็นสมบัติการเรียงคำแบบสลับกันไปมาในประโยคภาษาฮังการี เพื่อเน้นความสำคัญของสิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่อในภาษาฮังการี โดยประโยคด้านล่างมาจากประโยคที่เป็นกลางว่า János tegnap elvitt két könyvet Péternek. ("ยาโนชเอาหนังสือ 2 เล่มไปให้เปแตร์เมื่อวาน") ประโยคนี้มีวลีหลัก ๆ อยู่ 4 วลี ได้แก่ János ("ยาโนช" เป็นชื่อบุคคลชาย), Péternek ("เปแตร์" เป็นชื่อบุคคลชาย; -nak/-nek คือหน่วยคำเติมท้ายที่แสดงว่าเป็นผู้ที่ประธาน (ยาโนช) เอาสิ่งของให้"), két könyvet ("หนังสือ 2 เล่ม"; ตัว -et ข้างหลังหมายความว่าหนังสือ 2 เล่มนี้เป็นกรรม) และ tegnap ("เมื่อวาน")

หัวข้อ (topik) จุดสำคัญ (fókusz) คำกริยา (ige) ข้อความส่วนที่เหลือ (egyéb) ความหมายพิเศษที่แฝงไว้ในประโยค
János tegnap elvitt két könyvet Péternek. ยาโนชเอาหนังสือสองเล่มไปให้เปแตร์เมื่อวานนี้ (กิจกรรมนี้เสร็จสมบูรณ์แล้วและไม่มีการเน้นอะไรในประโยคเป็นพิเศษ)
János tegnap két könyvet vitt el Péternek. สิ่งที่ยาโนชเอาไปให้เปแตร์เมื่อวานนี้คือ หนังสือ 2 เล่ม โดยเน้นว่าสิ่งที่เอาไปให้คือหนังสือ 2 เล่มจริง ๆ
János tegnap vitt el két könyvet Péternek. เมื่อวานนี้ คือเวลาที่ยาโนชเอาหนังสือสองเล่มไปให้เปแตร์
János vitt el tegnap két könyvet Péternek. ยาโนช คือคนที่เอาหนังสือไปให้เปแตร์เมื่อวานนี้
Péternek vitt el tegnap János két könyvet. เปแตร์ คือคนที่ยาโนชเอาหนังสือไปให้เมื่อวานนี้
János tegnap Péternek vitt el két könyvet. เมื่อวานนี้ยาโนชหยิบหนังสือสองเล่มมาให้กับเปแตร์โดยเฉพาะ ไม่ได้เอาไปให้ใครอื่น
Elvitt János tegnap két könyvet Péternek. ยาโนชเอาหนังสือสองเล่มไปให้เปแตร์เมื่อวานนี้ (การดำเนินการเสร็จสิ้นและตอนนี้หนังสืออยู่ที่บ้านของเปแตร์แล้ว)
Két könyvet tegnap elvitt János Péternek. ยาโนชเอาหนังสือสองเล่มไปให้เปแตร์ (บางทีอาจเอาของอย่างอื่นไปให้เขาด้วย อย่างไรก็ตามหนังสือทั้งสองเล่มอาจไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด ตัวอย่างเช่น ยาโนชอาจทิ้งเอกสารของเปแตร์ไว้ที่บ้าน)
Két könyvet vitt el János tegnap Péternek. ยาโนชเอาเพียงหนังสือ 2 เล่มไปให้เปแตร์ โดยไม่ได้เอาอย่างอื่นไปให้ด้วย

ถ้าในประโยคใดมีจุดสำคัญปรากฏอยู่ หน่วยคำเติมหน้า (prefix) ที่อยู่หน้าคำกริยา เช่น el ใน elvitt จะย้ายไปอยู่ด้านหลังคำกริยาแทน กล่าวคือ พูดหรือเขียนเป็น vitt el แทนที่จะเป็น elvitt นับเป็นคุณสมบัติของภาษาฮังการีโดยเฉพาะ ปัญหาก็คือว่า ในกรณีประโยคนั้นใช้คำกริยาที่ไม่มีหน่วยคำเติมหน้า หากมีคำคำหนึ่งเรียงอยู่หน้าคำกริยา ก็จะเกิดความกำกวมว่าคำคำนั้นเป็นหัวข้อหรือเป็นจุดสำคัญ เช่นในประโยค Éva szereti a virágokat. ("เอวอชอบดอกไม้") คำว่า Éva ("เอวอ" เป็นชื่อบุคคลหญิง) อาจเป็นหัวข้อของประโยค และประโยคนี้เป็นประโยคแบบไม่มีจุดสำคัญ หรือคำว่า Éva อาจเป็นจุดสำคัญของประโยคซึ่งเน้นประโยคนี้ว่า "เอวอคือคนที่ชอบดอกไม้ (และไม่ใช่คนอื่น)"

ประโยค การตีความ
Éva szereti a virágokat. เอวอชอบดอกไม้
Szereti Éva a virágokat. เอวอชอบดอกไม้ (ถึงแม้คนอื่นอาจจะไม่คิดแบบนั้นก็ตาม)
Éva szereti a virágokat. เอวอชอบดอกไม้ (และไม่ใช่คนอื่นที่ชอบดอกไม้)
Éva a virágokat szereti. เอวอชอบดอกไม้ (และไม่ใช่อย่างอื่น)
A virágokat Éva szereti. คนที่ชอบดอกไม้ก็คือเอวอ (ไม่ใช่คนอื่น ส่วนคนอื่นอาจจะชอบอย่างอื่น)
A virágokat szereti Éva. สิ่งที่เอวอชอบคือดอกไม้ (และไม่ชอบอย่างอื่นแล้ว)

ระบบหน่วยคำ แก้

ภาษาฮังการีเป็นภาษาคำติดต่อ ข้อมูลต่าง ๆ ในภาษาฮังการีนั้นเกือบทั้งหมดจะใช้หน่วยคำเติมท้ายในการบอกเล่า เช่น "อยู่บนโต๊ะ" = asztalon (หน่วยคำเติมท้ายบ่งบอกว่าอยู่ข้างบน), เมื่อ 5 โมง = öt órakor (หน่วยคำเติมท้ายบ่งบอกเวลา ว่ากี่โมง) เป็นต้น แต่ก็ยังมีหน่วยคำเติมหน้าอยู่ 1 หน่วยคำ คือ leg- ซึ่งใช้บ่งบอกว่าสิ่งนี้คือที่สุด (superlative) เช่น legszebb สวยที่สุด (แลกแซบบ์)

หน่วยคำเติมท้ายคำนาม 18 ตัว แก้

คำเรียกในภาษาไทย คำเรียกในภาษาฮังการี ตัวอย่าง: ember แอมแบร์ คน/มนุษย์ ตัวอย่างสถานการณ์ที่ใช้
ประธาน nominativus (alanyeset) ember
กรรม accusativus (tárgyeset) embert
ของ, สำหรับ dativus (részes eset) embernek
กับ, ด้วย instrumentalis-comitativus emberrel(-vel) (eszköz เครื่องมือ, társ คนที่อยู่ด้วย)
เพื่อ, แด่ causalis-finalis emberért (milyen okból?, milyen célból?)
เปลี่ยนเป็น translativus(-factivus) ember(-vé) (változtató eset การเปลี่ยนแปลงกลายเป็นอะไรบางอย่าง, eredmény ผลลัพท์)
ข้างใน inessivus emberben (hely:

hol? kérdésre อยู่ที่ไหน?)

(a belsejében)
่ข้างบน superessivus emberen (a felszínén)
ที่ใกล้ ๆ adessivus embernél (a közelében)
เข้าไปข้างใน illativus emberbe (irány:

hová? kérdésre ไปไหน?)

(a belsejébe)
ขึ้นไปข้างบน sublativus emberre (a felszínére)
เข้าไปหา allativus emberhez (a közelébe)
ออกมาจากข้างใน elativus emberből (irány:

honnan? kérdésre มาจากไหน?)

(a belsejéből)
จากข้างบน หรือ เกี่ยวกับ delativus emberről (a felszínéről)
จากตรงนั้น ablativus embertől (a közeléből)
ถึง (เช่น จากเชียงใหม่ถึงกรุงเทพ Csiangmajtól Bangkokig) terminativus emberig (irány: hová? meddig? kérdésre ถึงที่ไหน? ถึงเมื่อไหร่?)
เหมือน, คล้าย ๆ กับ essivus-formalis emberként (állapot; milyen formában? ในรูปแบบไหน?)
อย่าง (เช่น ทำอย่างคน emberül) essivus-modalis emberül (állapot; milyen módon? ทำอย่างไหน?)

ตัวอย่างการวางหน่วยคำเติมท้ายในภาษาฮังการี แก้

ในภาษาฮังการี มีการใช้เสียงเฉพาะเจาะจง (case/preposition) ลงท้ายที่แตกต่างกันสำหรับคำสรรพนามแต่ละตัว มีอยู่ทั้งหมด 8 แบบ สำหรับคำสรรพนามบุรุษที่ 1, 2 และ 3 (ฉัน เธอ เขา พวกเรา พวกเธอ พวกเขา คุณ พวกคุณ) โดยสามารถต่อกับคำสรรพนามเพื่อเปลี่ยนเป็นกรรมของประโยค (accusative), ต่อคำปัจฉบท (postposition) เพื่อเปลี่ยนบุคคลที่พูดถึง, ต่อคำนามเพื่อเปลี่ยนเป็นกรรม แสดงความเป็นเจ้าของ หรือเปลี่ยนเป็นพหูพจน์, และต่อกับคำกริยา เพื่อเปลี่ยนประธานผู้กระทำ และเปลี่ยนคำกริยาให้เป็นแบบชี้เฉพาะหรือไม่ชี้เฉพาะ

คำสรรพนาม (névmás) คำปัจฉบท (ragozás) คำนาม (főnév) คำกริยา (ige) คำอธิบายส่วนมูลฐาน
ที่ใช้เติมข้างท้าย (magyarázat)
ประธาน กรรม + หน่วยคำเติมท้าย
แสดงบุคคล
+ หน่วยคำเติมท้าย
แสดงบุคคล
+ หน่วยคำเติมท้าย
แสดงความเป็นเจ้าของ
กริยาปัจจุบัน
แบบไม่ชี้เฉพาะ
กริยาปัจจุบัน
แบบชี้เฉพาะ
ผู้กระทำ
(เช่น ฉันตีเขา)
ผู้ถูกกระทำ
(เช่น เขาตีฉัน)
อยู่ที่ฉัน
(เช่น ปากกาอยู่ที่ฉัน)
อยู่ข้างใต้ฉัน หอพักของฉัน ฉันเห็นมัน
(สิ่งไม่ชี้เฉพาะ
เช่น หมาตัวหนึ่ง)
ฉันเห็นมัน
(สิ่งชี้เฉพาะ
เช่น หมาตัวนั้น)
én ("ฉัน") engem nálam alattam lakásom látok látom -m โดยใช้สระเชื่อม -o/(-a)/-e/-ö หรือ -a/-e
ตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ
te ("เธอ") téged nálad alattad lakásod látsz látod -d โดยใช้สระเชื่อม -o/(-a)/-e/-ö หรือ -a/-e
ตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ
ő ("เขา, มัน") őt nála alatta lakása lát látja -a/-e
mi ("พวกเรา") minket nálunk alattunk lakásunk látunk látjuk -nk โดยใช้สระเชื่อม -u/-ü
ตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ
ti ("พวกเธอ") titeket nálatok alattatok lakásotok láttok látjátok -tok/-tek/-tök
ők ("พวกมัน") őket náluk alattuk lakásuk látnak látják -k
สรรพนาม "คุณ, ท่าน"
(ทางการ)
Maga ใช้สำหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น หัวหน้าพูดกับพนักงาน, คนแก่พูดกับเด็ก

Ön ใช้สำหรับผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่ เช่น พนักงานพูดกับหัวหน้า, เด็กพูดกับคนแก่

แต่หากสนิทกันแล้ว อาจเรียกกันโดยใช้คำสรรพนามที่ไม่เป็นทางการได้

Ön,
Maga ("คุณ")
Önt
Magát
Önnél
Magánál
Ön alatt
Maga alatt
az Ön lakása
a Maga lakása
Ön lát
Maga lát
Ön látja
Maga látja
(-a/-e)
Önök,
Maguk ("พวกคุณ")
Önöket
Magukat
Önöknél
Maguknál
Önök alatt
Maguk alatt
az Önök lakása
a Maguk lakása
Önök látnak
Maguk látnak
Önök látják
Maguk látják
(-k)

การใช้หน่วยคำเติมท้ายตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ แก้

การเลือกหน่วยคำเติมท้ายในการต่อหลังคำในภาษาฮังการี ต้องใช้หลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระต่ำ (low vowel, ฮังการี: mély magánhangzók) ประกอบด้วยสระ 6 ตัว คือ a, á, o, ó, u, ú และสระสูง (high vowel, ฮังการี: magas magánhangzók) ประกอบด้วยสระ 8 ตัว คือ e, é, i, í, ö, ő, ü, ű

การต่อท้ายคำ (suffix) ในภาษาฮังการี ต้องใช้ความกลมกลืนของสระในการต่อท้ายคำทั้งหมด คำเสียงสูงต่อเสียงสูง คำเสียงต่ำต่อเสียงต่ำ เช่น การต่อท้ายคำกริยา (ใครเป็นประธาน), การแสดงความเป็นเจ้าของ หรือ การแสดงการเคลื่อนไหว มีรูปแบบการใช้โดยใช้ "เสียงสระ" ของคำในการตัดสินว่าจะใช้หน่วยคำเติมท้ายเสียงใดในการต่อ

ตัวอย่าง:

-nak/-nek สำหรับ

Jánosnak สำหรับยาโนช (ยาโนชน็อค)

Péternek สำหรับเปแตร์ (เปแตร์แน็ค)

สระในภาษาฮังการี
ต่ำ (mély) a á o ó u ú
สูง (magas) e é i í ö ő ü ű

อ้างอิง แก้

  • Rita Hegedűs (2019). Magyar Nyelvtan. Tinta Könyvkiadó. Budapest, 2019. ISBN 978-963-409-158-5
  • Szilvia Szita, Katalin Pelcz (2019). MagyarOK Nyelvtani munkafüzet B2+. University of Pécs, Pécs, Hungary. ISBN 978-963-429-203-6
  • Szilvia Szita, Tamás Görbe (2009) Gyakorló magyar nyelvtan - A Practical Hungarian Grammar เก็บถาวร 2020-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Akadémiai Kiadó, Budapest, Hungary. ISBN 978-963-05-8933-8
  • Magyar Tudományos Akadémia (สถาบันวิชาการฮังการี) (2015). A Magyar Helyesírás Szabályai. Akadémiai Kiadó, Budapest, Hungary. ISBN 978-963-05-9631-2
  • Endre Rácz, Etel Takács (1991). Kis Magyar Nyelvtan. Gondolat, Budapest. ISBN 963-282-627-2
  • Carol Rounds (2001). Hungarian: an essential grammar. Routledge, London, UK. ISBN 0-415-22612-0.
  • "The Hungarian Language: A Short Descriptive Grammar" โดย Beáta Megyesi (ไฟล์ PDF)
  • Hungarian Language Learning References