ไรออตเกิร์ล
ไรออตเกิร์ล (อังกฤษ: Riot grrrl) เป็นการเคลื่อนไหวพังก์ใต้ดินคตินิยมสิทธิสตรีที่เกิดขึ้นต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ในรัฐวอชิงตัน[1] (ส่วนใหญ่ที่เมืองโอลิมเปีย)[2] และแปซิฟิกนอร์ทเวสต์ และยังมีต้นกำเนิดที่วอชิงตันดีซี[3] ยังเป็นการเคลื่อนไหววัฒนธรรมย่อยที่รวมสร้างจิตสำนักคตินิยมสิทธิสตรีกับพังก์และการเมืองเข้าด้วยกัน[4] และมักเกี่ยวข้องกับคตินิยมสิทธิสตรีคลื่นลูกที่สามที่ในบางครั้งอาจพูดได้ว่างอกเงยมาจากการเคลื่อนไหวไรออตเกิร์ลนั่นเอง ยังสามารถอธิบายถึงแนวเพลงนอกเหนือจากอินดี้ร็อกที่เพลงพังก์เป็นแรงบันดาลใจในการเคลื่อนไหวด้านดนตรี โดยมีผู้หญิงแสดงความคิดของตนเองในรูปแบบเดียวกับผู้ชายทำในหลายปีที่ผ่านมา[5]
ไรออตเกิร์ล | |
---|---|
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ |
|
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม | ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990s Pacific Northwest และ Washington, US |
เครื่องบรรเลงสามัญ |
|
ทัศนียภาพในระดับภูมิภาค | |
Washington | |
ทัศนียภาพในระดับท้องถิ่น | |
Washington, D.C. | |
หัวข้ออื่น ๆ | |
วงไรออตเกิร์ลมักร้องเพลงในประเด็นอย่างเช่น การข่มขืน ความรุนแรงในครอบครัว เพศสภาพ คตินิยมเชื้อชาติ ระบบนิยมชาย (patriarchy) และการเพิ่มอำนาจสตรี วงสำคัญในการเคลื่อนไหวนี้ได้แก่ บิกินิคิลล์, แบรตโมไบล์, เฮฟเวนส์ทูเบตซี, เอกซ์คิวส์เซเวนทีน, ฮักกีแบร์, สกินด์ทีน, เอมิลีส์แซสซีไลม์ และสลีตเทอร์-คินนีย์, เช่นเดียวกับวง เควียร์คอร์ อย่างเช่น ทีมเดรสช์ และเดอะเติร์ดเซกซ์.[6][7] นอกจากนั้นกระแสดนตรีและแนวเพลงไรออตเกิร์ลยังเป็นวัฒนธรรมย่อยที่เกี่ยวข้องกับ ดีไอวาย, ซีน, ศิลปะ, การกระทำทางการเมือง (political action) และการเคลื่อนไหว (activism)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ "It's Riot Grrrl Day in Boston: 13 Songs to rock out to at work". Sheknows.com. สืบค้นเมื่อ 2016-07-18.
- ↑ Feliciano, Steve. "The Riot Grrrl Movement". New York Public Library.
- ↑ Wright, Lindsay (2015–2016). "Do-It-Yourself Girl Power: An Examination of the Riot Grrrl Subculture". James Madison Undergraduate Research Journal. 3: 53.
- ↑ Garrison, Ednie-Kach (2000). U.S. Feminism-Grrrl Style! Youth (Sub)Cultures and the Technologics of the Third Wave. Feminist Studies, Inc. p. 142. JSTOR 3178596.
- ↑ Marion Leonard. "Riot grrrl." Grove Music Online. Oxford Music Online. Oxford University Press. Web. 20 Jul. 2014.
- ↑ "List of Riot Girl Bands". Hot-topic.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 23, 2009. สืบค้นเมื่อ September 30, 2012.
- ↑ Marisa Meltzer (February 15, 2010). Girl Power: The Nineties Revolution in Music. Macmillan. p. 42. ISBN 9781429933285.
- ↑ Jackson, Buzzy (2005). A Bad Woman Feeling Good: Blues and the Women Who Sing Them. New York: W.W. Norton. ISBN 978-0-393-05936-6.