ไฟฟ้าดับในประเทศอินเดีย พ.ศ. 2555

ไฟดับในประเทศอินเดีย กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นเหตุไฟดับครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นเป็นสองเหตุการณ์แยกกันในวันที่ 30 และ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เหตุดังกล่าวกระทบประชากรกว่า 620 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 9% ของประชากรโลก[1][2][3] หรือครึ่งหนึ่งของประชากรอินเดีย ใน 22 รัฐ[4] ทางตอนเหนือ ตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย มีการประเมินว่า กำลังการผลิต 32 จิกะวัตต์ถูกตัดขาดในเหตุไฟดับดังกล่าว[5] ขณะที่บทความวอลสตรีทเจอร์นัลกลับยืนยันว่า มีเพียง 320 ล้านคนที่มีพลังงานตั้งแต่แรก (ส่วนที่เหลือจากที่ได้รับผลกระทบนับว่าขาดการเข้าถึงพลังงาน)[6] พลังงานไฟฟ้ากลับมาใช้การได้ตามปกติในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม และ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555[7][8]

ไฟฟ้าดับในประเทศอินเดีย พ.ศ. 2555
รัฐในอินเดีย
  ไฟดับเป็นเวลา 2 วัน (30 และ 31 กรกฎาคม)
  ไฟดับเป็นเวลา 1 วัน (31 กรกฎาคม)
วันที่02:48, 30 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 (+05:30) (2012-07-30T02:48+05:30)-
20:30, 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 (+05:30) (2012-07-31T20:30+05:30)
ที่ตั้งภาคเหนือ, ตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย

โครงสร้างพื้นฐานทางไฟฟ้าของอินเดียโดยทั่วไปถูกมองว่าเชื่อถือไม่ได้อยู่แล้ว[9][10] มีการประเมินว่า พลังงานที่ผลิตได้ 27% สูญเสียไประหว่างการส่งหรือถูกขโมย ขณะที่อุปทานสูงสุดยังมีน้อยกว่าอุปสงค์อยู่โดยเฉลี่ย 9% อินเดียประสบไฟดับบ่อยครั้งซึ่งครั้งหนึ่งอาจกินเวลานานถึง 10 ชั่วโมง ยิ่งไปกว่านั้น ประชากร 300 ล้านคน หรือราว 25% ไม่มีไฟฟ้าใช้เลย[11] แสดงให้เห็นว่าอินเดียยังล้าหลังในด้านการมีอุปทานพลังงานที่พอเพียงหลายทศวรรษ[11]

ในฤดูร้อน พ.ศ. 2555 ก่อนหน้านี้ อากาศที่ร้อนจัดทำให้การใช้พลังงานถึงระดับสถิติในนิวเดลี เนื่องจากฤดูมรสุมมาช้าในปีนี้ พื้นที่เกษตรกรรมในรัฐปัญจาบและรัฐหรยาณาจึงใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเพื่อปั๊มน้ำเข้านา[12] ปลายฤดูมสุมยังทำให้โรงไฟฟ้าพลังน้ำผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่ากำลังการผลิตปกติ[13]

สุชิล กุมาร ชินเด รัฐมนตรีพลังงานอินเดีย กล่าวว่า เบื้องต้นยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจากหลายรัฐใช้กระแสไฟฟ้าเกินโควตาที่ได้รับ[14]

อ้างอิง แก้

  1. "India blackouts leave 700 million without power". The Guardian. 31 July 2012. สืบค้นเมื่อ 31 July 2012.
  2. "620 million without power in India after 3 power grids fail". USA Today. 31 July 2012. สืบค้นเมื่อ 31 July 2012.
  3. "India's Mass Power Failure Worst Ever in World History". Outlook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-01. สืบค้นเมื่อ 1 August 2012.
  4. "Power crisis now trips 22 states, 600 million people hit". Deccan Herald. 31 July 2012. สืบค้นเมื่อ 31 July 2012.
  5. Sujay Mehuddia and Smriti Rak Ramachandaran (30 July 2012). "Worst outage cripples north India". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 30 July 2012.
  6. "How Many People Actually Lost Power?". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 5 August 2012.
  7. "Power grids fail: Power restoration complete in Delhi & northeast, 50% in eastern region". The Economic Times. 31 July 2012. สืบค้นเมื่อ 31 July 2012.
  8. "As Power Is Restored in India, the 'Blame Game' Over Blackouts Heats Up". The New York Times. 1 August 2012. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
  9. "How businesses pay for India's unreliable power system". SME Mentor. 2 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 3 August 2012.
  10. "Indian Businesses Weather Blackouts, but at a Cost". ABC News, Associated Press. 1 August 2012. สืบค้นเมื่อ 3 August 2012.
  11. 11.0 11.1 Rajesh Kumar Singh and Rakteem Katakey (1 August 2012). "Worst India Outage Highlights 60 Years Of Missed Targets". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
  12. "Power grid failure: FAQs". Hindustan Times. 31 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-16. สืบค้นเมื่อ 31 July 2012.
  13. "Power grid failure makes 370M swelter in dark as India struggles to meet its vast energy needs". The Washington Post. Associated Press. 30 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-22. สืบค้นเมื่อ 31 July 2012.
  14. อินเดียไฟดับครึ่งประเทศ620ล้านคนปั่นป่วน. เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 5-8-2012