ไทโรซีน
ไทโรซีน (อังกฤษ: Tyrosine; อังกฤษ: Tyr) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ซึ่งกรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน โดยคำว่า ไทโรซีน มาจากคำว่า "tyros" ในภาษากรีก แปลว่า ชีส เนื่องจาก ไทโรซีส ถูกพบครั้งแรกจากการย่อยชีสในปี ค.ศ. 1846 [1][2]
ไทโรซีน | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
ชื่อตาม IUPAC | (S)-Tyrosine |
ชื่ออื่น | L-2-Amino-3-(4-hydroxyphenyl)propanoic acid |
เลขทะเบียน | |
เลขทะเบียน CAS | [60-18-4][CAS] |
PubChem | |
DrugBank | DB03839 |
ChEBI | |
SMILES | |
ChemSpider ID | |
คุณสมบัติ | |
สูตรโมเลกุล | C9H11NO3 |
มวลโมเลกุล | 181.19 g mol−1 |
ความอันตราย | |
NFPA 704 | |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa | |
สถานีย่อย:เคมี |
การสังเคราะห์ในสิ่งมีชีวิตแก้ไข
ร่างกายสามารถสังเคราะห์ ไทโรซีน ได้จาก ฟีนิลอะลานีน ซึ่งฟีนิลอะลานีน เป็นกรดอะมิโนจำเป็น ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ ต้องรับประทานจากอาหารเท่านั้น
โดยเอมไซม์ฟินิลอะลานีนไฮดรอกซีเลส เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเปลี่ยน ฟีนิลอะลานีน ให้เป็น ไทโรซีน
ตัวอย่างโรค
โรคไทโรซีนสูงในเลือดชนิดที่ 1 (Tyrosinemia Type I)
ความสำคัญแก้ไข
ไทโรซีน เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทได้แก่
- โดปามีน ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวต่ออารมณ์ของบุคคล ช่วยให้มีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น ไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ รอบตัว
- นอร์เอพิเฟริน (นอร์อะดรีนาลีน) ทำหน้าที่ เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
- เพิ่มการหายใจเร็วขึ้น ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายและสมองมากขึ้น ทำให้ร่างกายและสมองทำงานได้ดีกว่าปกติ และหยุดกระบวนการบางอย่างของร่างกายเช่น กระบวนการย่อยอาหาร
- เอพิเนฟริน (อะดรีนาลีน) ทำหน้าที่คล้าย นอร์เอพิเฟริน
การนำมาใช้แก้ไข
เนื่องจาก ไทโรซีน เป็นสารตั้งต้นของสารต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น จึงมีการนำ ไทโรซีน มาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยมีการศึกษาวิจัยพบว่า ช่วยกระตุ้นสมอง ลดความเครียด ลดอาการซึมเศร้า[3][4][5]
แหล่งอาหารแก้ไข
ไทโรซีน พบได้ในผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไก่, ไก่งวง, นม, โยเกิร์ต, ชีส, ถั่วลิสง, ถั่วอัลมอนด์, เมล็ดฟักทอง, งา, ถั่วเหลือง, ถั่วลิมา, อาโวคาโด และกล้วย เป็นต้น
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Tyrosine. สืบค้นเมื่อ 2015-07-13
- ↑ IUPAC-IUBMB Joint Commission on Biochemical Nomenclature (1983). "Nomenclature and Symbolism for Amino Acids and Peptides". Recommendations on Organic & Biochemical Nomenclature, Symbols & Terminology. สืบค้นเมื่อ 2007-05-17.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-06. สืบค้นเมื่อ 2015-07-13.
- ↑ https://dx.doi.org/10.1016%2FS0361-9230%2898%2900163-4
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-11-18. สืบค้นเมื่อ 2015-07-13.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- Tyrosine MS Spectrum
- Tyrosine metabolism เก็บถาวร 2019-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Phenylalanine and tyrosine biosynthesis
- Phenylalanine, Tyrosine, and tryptophan biosynthesis เก็บถาวร 2021-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
บทความเกี่ยวกับเคมีนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เคมี |